รีเซต

คนดีต้องมีที่ยืน โลกต้องดีกว่า : ตำรวจจราจร โครงการพระราชดำริ

คนดีต้องมีที่ยืน โลกต้องดีกว่า : ตำรวจจราจร โครงการพระราชดำริ
TNN ช่อง16
24 กรกฎาคม 2566 ( 08:00 )
117
คนดีต้องมีที่ยืน โลกต้องดีกว่า : ตำรวจจราจร โครงการพระราชดำริ

TNN พาไปรู้จักกับตำรวจจราจรโครงการพระราชดำริ ที่มีหน้าที่บริการช่วยเหลือประชาชน ทั้งหมอรถ หมอคน นำส่งอวัยวะ งานที่ต้องใช้ความเร็วบนท้องถนน เรียกได้ว่าเป็นงานบริการอย่างเดียวเท่านั้น โดยตำรวจหน่วยนี้ไม่มีใบสั่ง ไม่เรียกเก็บเงินจากประชาชน ผู้ที่จะมาเป็นตำรวจหน่วยนี้ได้ ต้องมีใจนำเป็นอันดับแรก ที่สำคัญต้องซื่อสัตย์ สุจริตเพราะเป็นการช่วยเหลือฟรี ห้ามรับเงินเด็ดขาด



พ.ต.อ.จิรกฤต จารุนภัทร์

 


พ.ต.อ.จิรกฤต จารุนภัทร์ รองผู้บังคับการตำรวจจราจร รับผิดชอบงานตำรวจจราจร โครงการพระราชดำริ เผยว่า ถ้าจากปี 2536 รวมมาถึงปี 2566 ถ้าจะไฮไลท์จริงๆในการรับส่งอวัยวะ หรือ ยกตัวอย่างเช่น มีผู้บริจาคและผู้รับบริจาค เราไม่รู้ว่าผู้บริจาคเนี่ยท่านจะพร้อมให้เมื่อไหร่ ออกจากร่างผู้บริจาคไปถึงร่างผู้รับมอบเราจะมีเวลาแค่ 4 ชั่วโมงเท่านั้น จากที่เราเริ่มทำการอำนวยความสะดวกในการเดินทางไปส่งหัวใจ จากวันนี้เรานำพาหัวใจส่งให้ผู้รับ 71 หัวใจ


การลำเลียงใช้ความเร็วเราทำชาญอยู่แล้ว แต่จะมีคำถามว่าเอ๊ะ ทำไมตำรวจถึงไปทำคลอดได้ เรามีหลักเกณฑ์ในการทำต้องฉุกเฉินจริงๆไม่ไหวแล้วถึงจะทำ ซึ่งถ้านับรวมทั้งหมดในตำรวจโครงการพระราชดำริ 276 เคส ที่พวกเราทำทั้งหมด เราไม่ได้คิดเอง เออเอง เราผ่านการอบรมจากแพทย์ พยาบาล ผู้มีความรู้ ความชำนาญ แต่ละวันรถจะเสียกี่คันเราไม่รู้ หรือใครจะเจ็บแต่ละวันเราไม่รู้ แต่ที่สำคัญคือ พวกเราพร้อมที่จะปฏิบัติ



ส.ต.ท. นรนิติ พลเดช

 


คุยกับชุดเคลื่อนที่เร็ว ความเร็วที่ใช้อยู่ที่เท่าไหร่


ส.ต.ท. นรนิติ พลเดช ตำแหน่งผู้บังคับหมู่งานปฏิบัติการจราจร ตามโครงการพระราชดำริ 1 กองกับกำการ 6 กองบังคับการตำรวจจราจร อยู่ชุดเคลื่อนที่เร็ว เผยว่า ใช้ความเร็วประมาณ 130-140 ได้เห็นคนเจ็บคนป่วยเค้ามีความเดือดร้อน เราก็อยากช่วยเหลือตรงนั้นตามที่ตนได้ตั้งใจไว้


อันดับแรกคำนึงถึงความปลอดภัยของตัวเองก่อน เพราะว่าในการออกปฏิบัติหน้าที่ทุกครั้งเราต้องนึกถึงตัวเราก่อน ถ้าเราปฏิบัติหน้าที่แล้วเกิดอุบัติเหตุก็ไม่สามารถไปช่วยเหลือคนอื่นได้ ขั้นตอนปฏิบัติหน้าที่ส่วนใหญ่จะได้รับการประสานจากเจ้าหน้าที่วิทยุจราจรโครงการพระราชดำริ ว่าจะมีคนเจ็บคนป่วยมาจากที่ไหนเราก็มีหน้าที่คอยฟังและประสานว่า ให้ไปจุดตรงไหน รับตรงไหน นำส่งโรงพยาบาลใด


คุณสมบัติหลักๆต้องมีการเสียสละ คำนึงถึงส่วนรวม ไม่คำนึงถึงความย่อท้อ เพราะว่าแต่ละเคสมันล่วงเวลาไปมาก สมมติออกเวร 1 ทุ่มบางทีก็อาจทำเลยไปถึง 2-3 ทุ่มต้องคำนึงถึงส่วนร่วม จิตใจเสียสละ


เป็นตำรวจหน่วยนี้เหนื่อยไหม


ส.ต.ท. นรนิติ พลเดช เผยว่า ก็มีเหนื่อยบ้าง แต่ไม่ย่อท้อครับ



ส.ต.ท.อนุรักษ์ วิรัชลาภ

 



เปิดใจตำรวจช่าง (หมอรถ)


ส.ต.ท.อนุรักษ์ วิรัชลาภ ตำแหน่งผู้บังคับหมู่งานปฏิบัติการพิเศษ จราจรโครงการพระราชดำริ กองกับกำการ 6 บก.จร. เผยว่า ก่อนหน้านี้อยู่ กองบังคับการคุมฝูงชน จบมาก็มาอยู่ตำแหน่งนี้เลยและพอถึงวาระก็ย้ายมาอยู่จราจรโครงการพระราชดำริ เพราะเห็นว่าโครงการนี้ได้ช่วยเหลือประชาชน ทำให้ประชาชนไม่ทุกข์ได้บำรุงสุขเค้าด้วย เลยรู้สึกว่าประทับใจ มาอยู่นี่เราโอเค


จากที่ผมคิดตอนแรก มองว่าด้วยสังคมสมัยนี้ บางทีประชาชนเราจับจ้องว่าตำรวจเราจะไปรีดไถเค้ารึเปล่า ไปคิดไม่ดีกับเค้าหรือเปล่าประมาณนี้ ก็มีความคิดว่าเราจะโดนเค้ามองไม่ดีแต่ว่าเราได้มาอยู่ได้ช่วยเหลือเท่ากับว่าเราได้เปลี่ยนแปลงความคิดใหม่เลยว่า ก็ไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้น เรามองว่าประชาชนเค้าก็มีคนที่คิดไม่ดีก็มี คิดดีก็มี ไม่ได้แย่อะไรขนาดนั้น


ผมมองว่าความพยายามมันขึ้นอยู่กับแต่ละคน ถ้าเราคิดว่าเรามาอยู่หน่วยนี้ เรามาอยู่ช่าง เรามีความมุมานะ มุ่งมั่นที่จะทำ มุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ในการที่จะเป็นช่าง ต่อให้คุณไม่ได้เรียนจบช่างอะไรมาเลยคุณมีความมุ่งมั่นก็ทำได้ อย่างผมก็ไม่ได้จบช่างมา มาเรียนรู้จากรุ่นพี่ จากเพื่อน หรือไม่ก็คนที่เค้าอยู่มาก่อนเราเค้าเป็นช่าง ก็เรียนรู้จากเค้าว่า การทำแบบนี้ๆทำอย่างไร เราก็เรียนรู้ไปเรื่อยๆ จนเราสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองโดยที่ไม่ต้องมีใครมาบอกเราเลยว่า ต้องทำแบบนี้ๆ


แสดงว่าประชาชนเชื่อได้แน่นอนว่า ตำรวจจราจรโครงการพระราชดำริที่ไปซ่อมรถให้เค้า จะไม่พังเพิ่ม


ส.ต.ท.อนุรักษ์ วิรัชลาภ เผยว่า ใช่ครับ มีความมั่นใจแน่นอนครับ เพราะเราก็มั่นใจในตัวของเราว่า เราก็ผ่านการอบรมมา ส่วนใหญ่เราไม่เคยรับเงินสักบาทจากประชาชน ขอแค่ว่าประชาชนยิ้มได้กลับบ้านปลอดภัยแค่นี้เราก็ภูมิใจแล้ว ก็จะมีแค่ว่าค่าอะไหล่เราไปซื้อให้เค้า เค้าก็เสียเอง เราก็ไม่ได้บอกว่าจะเก็บเพิ่มหรือว่าอะไร เรามีใบเสร็จให้ตลอดไม่มีโกง หรือ เพิ่มราคา


ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคำพูดว่า ถ้าไม่ได้พวกผมก็คือทีมจราจรโครงการพระราชดำริของรัชกาลที่ 9 มาถึงรัชกาลที่ 10 มาช่วยเค้า เค้าก็ไม่รู้ว่าจะกลับบ้านยังไง เค้าไม่มีเบอร์ติดต่อช่าง ติดต่อรถยก ไม่รู้ว่ารถต้องไปซ่อมที่ไหนหรืออะไหล่ซื้อที่ไหน พอเราไปช่วยเค้าบอกว่า เหมือนฟ้าประทานมาให้ เหมือนเราเป็นเทวดามาช่วยเค้า เค้าดีใจว่ามีโครงการของรัชกาลที่ 9 มาช่วยเหลือกลับบ้านอย่างปลอดภัยแค่นี้เค้าก็ภูมิใจกับหน่วยจราจรโครงการพระราชดำริแล้วครับ



พ.ต.อ.จิรกฤต จารุนภัทร์

 



มีมุมมองอย่างไรในขณะที่ตำรวจโครงการพระราชดำริ ช่วยบริการประชาชน แต่มีตำรวจบางกลุ่มบางนายแสวงหาผลประโยชน์กับประชาชน


พ.ต.อ.จิรกฤต จารุนภัทร์ เผยว่า ทุกองค์กรทุกหน้างาน ย่อมมีทั้งดีและไม่ดีอยู่แล้ว เราทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ทุกคนไม่มีใครไม่ถูกนินทา ไม่มีใครไม่ถูกว่า แม้กระทั่งที่เราทำอยู่ทุกวันนี้ก็อาจจะมีคนมาว่าเราก็ได้ว่าอะไร ทำไม แต่เรามีอุดมการณ์ในการทำงาน มีเป้าหมายชัดเจนว่าเราจะทำอะไร ผมว่ามันเพียงพอแล้วที่เราจะทำงานให้มันสำเร็จลุล่วงไปได้ในแต่ละวัน


ความซื่อสัตย์สุจริตสำคัญกับตำรวจขนาดไหน


เราถูกฝึกในการเป็นนักเรียนตำรวจออกมารับหน้าที่นี้อยู่แล้ว แต่หลังจากนั้นแต่ละคนเป็นอย่างไรเราก็ตอบไม่ได้ คือ พวกนี้ถูกใส่อยู่ในหัวอยู่แล้ว ความซื่อสัตย์ ความสุจริตในหน้าที่เรามีการปฏิญาณ สาบานตั้งแต่เราเป็นนักเรียนออกมาเป็นตำรวจอยู่แล้ว ตรงนี้มันอยู่ในหัวอยู่แล้วครับ


ในฐานะที่เราเป็นตำรวจ โดนแรงกระแทกจากประชาชนรู้สึกอย่างไร


เราถูกท่องทุกวันอุดมคติตำรวจมันมีอยู่ข้อนึงเค้าเรียกว่า อดทนต่อความเจ็บใจ ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก เรารับคำขอบคุณ ซึ่งคำขอบคุณถือเป็นกำลังใจให้พวกเราออกไปทำงานได้อย่างมีความสุข


ถ้าจะติดพวกเราติดต่อได้หลายช่องทาง สายด่วน 1197 เป็นฮอตไลน์สายตรง เบอร์ 02-3546324 อันนี้ก็จะเป็นเบอร์โดยตรงของตำรวจจราจรโครงการพระราชดำริ หรือไม่ก็สื่อทั่วไป อาทิเช่น จส.100 เพราะทั้งหมดนี้ทำงานร่วมกันหมด


อยากฝากอะไรถึงประชาชนกับโครงการพระราชดำริ


พวกเราอยู่บนท้องถนนที่ใช้ความเร็วมากๆ คือเราไม่ได้ขับออกไปเล่น เรากำลังนำส่งอวัยวะหัวใจบางทีอาจจะมีการตัดซ้าย ตัดขวา เราจะไม่มีการปิดถนนแต่เราจะใช้รถจักรยานยนต์ของทีมเราเข้าไปในการขอความกรุณา บางครั้งอาจจะมีเสียงดัง ซึ่งจริงๆแล้วถ้ามองไปข้างหลังจะมีรถนำส่งอวัยวะอยู่ข้างหลังเรา ก็ให้ฟังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เค้าบอกว่า ชิดซ้าย หรือไปเลย เพื่อไม่ขวางทาง อย่างที่นำเรียนไปตั้งแต่แรกแล้วว่า 1 อวัยวะเรามีเวลาตั้งแต่ร่างหนึ่งไปอีกร่างหนึ่งเพียงแค่ 4 ชั่วโมง ดังนั้นเราใช้ความเร็วในการลดเวลาในการเดินทาง ส่งถึงมือคุณหมอเพื่อให้มีเวลาในการผ่าตัดมันจะเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด



ข่าวที่เกี่ยวข้อง