รีเซต

น้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสี 5.5 ตัน รั่วออกจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่น

น้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสี 5.5 ตัน รั่วออกจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่น
Xinhua
7 กุมภาพันธ์ 2567 ( 19:56 )
37
น้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสี 5.5 ตัน รั่วออกจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่น

(แฟ้มภาพซินหัว : ประชาชนรวมตัวประท้วงการตัดสินใจของรัฐบาลญี่ปุ่นและโตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ คอมปานี หรือเทปโก ที่จะปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนนิวเคลียร์ บริเวณด้านหน้าสำนักงานใหญ่ของเทปโกในกรุงโตเกียวของญี่ปุ่น วันที่ 24 ส.ค. 2023)

โตเกียว, 7 ก.พ. (ซินหัว) -- วันพุธ (7 ก.พ.) สื่อท้องถิ่นญี่ปุ่นรายงานกรณีน้ำปนเปื้อนวัสดุกัมมันตรังสี ปริมาณราว 5.5 ตัน ได้รั่วไหลออกจากอุปกรณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ของญี่ปุ่นรายงานข่าวอ้างอิงข้อมูลจากโตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ คอมปานี (TEPCO) ระบุว่าคนงานพบน้ำรั่วไหลออกจากอุปกรณ์ที่ใช้กรองน้ำปนเปื้อนนิวเลคียร์ระหว่างตรวจสอบอุปกรณ์ ตอนราว 08.53 น. ของวันพุธ (7 ก.พ.) ตามเวลาท้องถิ่นเทปโก ซึ่งเป็นผู้ดำเนินงานโรงไฟฟ้าแห่งนี้ ประเมินว่าปริมาณน้ำที่รั่วไหลอยู่ที่ราว 5.5 ตัน ซึ่งน้ำนี้อาจมีวัสดุกัมมันตรังสี เช่น ซีเซียมและสตรอนเซียม อยู่ราว 2.2 หมื่นล้านเบ็กเคอเรลรายงานระบุว่าน้ำที่รั่วไหลทั้งหมดแทรกซึมลงสู่พื้นดิน และการเฝ้าติดตามช่องทางระบายน้ำใกล้เคียงไม่พบสัญญาณการเปลี่ยนแปลงอันมีนัยสำคัญของระดับกัมมันตรังสี โดยเทปโกได้ปิดพื้นที่ที่น้ำรั่วไหลเป็นพื้นที่ห้ามเข้าแล้วอนึ่ง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ซึ่งเผชิญแผ่นดินไหว ขนาด 9.0 ตามมาตราแมกนิจูด และสึนามิเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2011 ประสบเหตุแกนหลักหลอมละลายและปล่อยกัมมันตรังสีออกมาจนถือเป็นอุบัติเหตุนิวเคลียร์ ระดับ 7 ซึ่งสูงสุดในมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ (INES)โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะได้ผลิตน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีปริมาณมหาศาลจากการหล่อเย็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในอาคารเตาปฏิกรณ์ ซึ่งปัจจุบันถูกกักเก็บอยู่ในถังที่โรงไฟฟ้าฯญี่ปุ่นเริ่มต้นปล่อยน้ำเสียจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้ลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อเดือนสิงหาคม 2023 แม้มีกระแสคัดค้านต่อเนื่องมากมายจากรัฐบาลและชุมชนต่างๆ หน่วยงานสิ่งแวดล้อม เอ็นจีโอ และกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านนิวเคียร์ในญี่ปุ่น ประเทศเพื่อนบ้าน และภูมิภาคแปซิฟิก

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง