รีเซต

ผชช. ร่วมส่งจดหมายหานายกฯ ออสเตรเลียประเด็นสภาพภูมิอากาศ

ผชช. ร่วมส่งจดหมายหานายกฯ ออสเตรเลียประเด็นสภาพภูมิอากาศ
Xinhua
16 พฤศจิกายน 2563 ( 15:44 )
86
ผชช. ร่วมส่งจดหมายหานายกฯ ออสเตรเลียประเด็นสภาพภูมิอากาศ

(แฟ้มภาพซินหัว : สกอตต์ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลียเข้าร่วมงานแถลงข่าวที่กรุงแคนเบอร์รา เมืองหลวงของออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2020)

 

แคนเบอร์รา, 16 พ.ย. (ซินหัว) -- แนวร่วมขององค์กรด้านสุขภาพส่งจดหมายเปิดผนึกถึง สกอตต์ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลียเพื่อเรียกร้องให้ออสเตรเลียดำเนินการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโดยด่วน

 

จดหมายจากองค์กรด้านสุขภาพ 29 แห่ง อาทิ พันธมิตรสภาพภูมิอากาศและสุขภาพ (CHA) สมาคมระบาดวิทยาแห่งออสเตรเลีย (AEA) และสมาคมสาธารณสุขแห่งออสเตรเลีย (PHAA) กล่าวเตือนว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นและ "เป็นภัยต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์""เพื่อหลีกเลี่ยงความหายนะทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากไปกว่านี้ รัฐบาลต้องใส่ใจหลักวิทยาศาสตร์ รับฟังผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ และดำเนินการทันทีเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปกป้องสิ่งแวดล้อม"เทอร์รี สเลวิน ผู้บริหารสูงสุดของสมาคมสาธารณสุขแห่งออสเตรเลียระบุว่าขณะที่การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ได้รับความสนใจอย่างมากในปี 2020 การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกลับเป็นภัยต่อมนุษยชาติที่ร้ายแรงยิ่งกว่า"การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กันและอาจรุนแรงยิ่งกว่า เมื่อคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ สังคม และเศรษฐกิจ""ปัจจุบันเราเห็นผลกระทบด้านสาธารณสุขของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศแล้ว จากเหตุไฟป่า ควัน คลื่นความร้อน และชุมชนจำนวนมากที่ได้รับความเสียหายหนักจากภัยแล้ง"มอร์ริสันยืนกรานหลายครั้งว่าเขาจะไม่โอนอ่อนต่อแรงกดดันให้ดำเนินการตามเป้าหมายของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050แนวร่วมด้านสุขภาพส่งจดหมายของนายกรัฐมนตรีไม่กี่วันหลังองค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพ (CSIRO) และสำนักอุตุนิยมวิทยา (BOM) เผยแพร่รายงานสถานการณ์สภาพภูมิอากาศฉบับที่ 6 โดยรายงานดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ทุก 2 ปีรายงานพบว่าออสเตรเลียได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยในปี 2019 ออสเตรเลียเผชิญวันที่มีอากาศร้อนจัดมากกว่า 3 เท่าของยอดในทุกๆ ปีช่วงก่อนปี 2000 อากาศที่ร้อนจัดกระตุ้นให้เกิดภัยหลายชนิด ทั้งไฟป่า ภัยแล้ง น้ำท่วม และพายุไซโคลนเขตร้อน 

 

รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม

สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง