รีเซต

รู้จัก ภาวะหลอดเลือดดำบกพร่องเรื้อรัง อันตรายแค่ไหน? ใครเสี่ยง?

รู้จัก ภาวะหลอดเลือดดำบกพร่องเรื้อรัง อันตรายแค่ไหน? ใครเสี่ยง?
TNN ช่อง16
18 กรกฎาคม 2568 ( 14:23 )
12

ทำเนียบขาวแถลงอาการเจ็บป่วยของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในวัย 79 ปี หลังมีภาพออกมาพบมีอาการบวมที่ขาส่วนล่างและมีรอยช้ำที่มือข้างขวา จนต้องใช้เครื่องสำอางค์ปกปิดรอยที่มือ 

โดยแพทย์ประจำตัวประธานาธิบดี ระบุว่า เป็นอาการเส้นเลือดขอด ที่เกิดจากภาวะหลอดเลือดดำบกพร่องเรื้อรัง ซึ่งพบได้ปกติ และอาการของทรัมป์ ไม่ได้รุนแรง

วันนี้ TNN Health พาไปทำความรู้จักกับโรคนี้ อาการเป็นอย่างไร ใครเสี่ยง และควรป้องกันอย่างไร? 

รู้จักหน้าที่ของหลอดเลือดดำ 

หลอดเลือดดำมีหน้าที่สำคัญ คือ ลำเลียงเลือดจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะแขนและขากลับสู่หัวใจ และเป็นแหล่งกักเก็บเลือดที่สำคัญ ปริมาณเลือดในระบบหลอดเลือดดำมีประมาณ 2 ใน 3 ของเลือดในร่างกาย ระบบหลอดเลือดดำประกอบด้วยหลอดเลือด 3 ส่วน คือ 

  • หลอดเลือดดำชั้นใต้ผิวหนัง (Superficial Venous System)

มีขนาดเล็ก ผนังหลอดเลือดหนา มีลิ้นควบคุมให้เลือดไหลจากส่วนปลายแขน – ขาเข้าสู่หัวใจ

  • หลอดเลือดดำชั้นลึก (Deep Venous System) 

ได้แก่ หลอดเลือดดำในกล้ามเนื้อและอวัยวะภายใน รับเลือดจากหลอดเลือดดำส่วนปลายกลับเข้าหัวใจ มีขนาดใหญ่ ผนังบาง 

  • หลอดเลือดดำทางเชื่อม (Communicating Vein) 

ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดดำใต้ผิวหนังกับหลอดเลือดดำชั้นลึก

หลอดเลือดดำบกพร่องเรื้อรัง คืออะไร?

ภาวะหลอดเลือดดำบกพร่องเรื้อรัง หรือ Chronic Venous Insufficiency (CVI) เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของผนังหลอดเลือดดำ ทำให้ระบบการไหลของเลือดดำกลับเข้าสู่หัวใจไม่เป็นปกติ เลือดที่ไม่ไหลเวียนจะคั่งในหลอดเลือดดำบริเวณส่วนล่างของร่างกาย ทำให้บริเวณดังกล่าวบวม โดยอาการบวมจะเป็นๆ หายๆ หากไม่ได้รักษา ก็จะทำให้ผนังเยื่อบุหลอดเลือดดำ เสื่อมสภาพได้ในที่สุด

ปัจจัยเสี่ยงภาวะหลอดเลือดดำบกพร่อง

มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการสำหรับภาวะเส้นเลือดดำบกพร่อง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะพบในวัยกลางคนขึ้นไป เนื่องจากเส้นเลือดดำจะอ่อนแอลงตามวัย 

ดร.จอห์น ฮิกกินส์ ศาสตราจารย์ด้านหัวใจวิทยาจาก UTHealth Houston กล่าว ผู้หญิงมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ชาย ในอัตราส่วนประมาณ 2 ต่อ 1 รวมถึงผู้หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงสูกว่าปกติ เพราะการทำงานของเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่เปลี่ยนไประหว่างตั้งครรภ์

ความเสี่ยงอื่นๆ ตัวอย่างเช่น ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ก้สามารถทำให้หลอดเลือดดำบกพร่องได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ การยืนหรือนั่งอยู่ท่าเดิมนานๆ ก็อาจทำให้มีการคั่งของเลือดดำซึ่งทำให้มีอาการมือบวม เท้าบวมได้เช่นเดียวกัน 

สรุปสาเหตุที่พบได้บ่อย

  1. อายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผนังหลอดเลือดดำเสื่อม
  2. หลอดเลือดดำบาดเจ็บ
  3. ภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่น เช่น ภาวะน้ำหนักเกิน หรือ โรคอ้วน เบาาหวาน และโรคไต

กลุ่มเสี่ยงภาวะหลอดเลือดดำบกพร่องเรื้อรัง

  • กรรมพันธุ์
  • ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง อาทิ เบาหวาน โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด

สัญญาณเตือนภาวะหลอดเลือดดำบกพร่องเรื้อรัง

  • ปวดตึงน่อง เมื่อยืนหรือเดินนาน ๆ
  • เป็นตะคริว ขาชา หลอดเลือดฝอยพองโตหรือเส้นเลือดขอดร่วมด้วย
  • บวมแดงร้อน (คล้ายอาการปวดกล้ามเนื้อขาหรือกล้ามเนื้ออักเสบ แต่ไม่บวม) 
  • ผิวหนังที่ขาบวมแข็ง

การรักษาภาวะหลอดเลือดดำบกพร่อง


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง