รีเซต

LINE MAN เปิดโซลูชั่นช่วยร้านสตรีทฟู้ดปรับตัวสู้โควิด-19 แนะ 6 ขั้นตอนมือใหม่ขายเดลิเวอรี่

LINE MAN เปิดโซลูชั่นช่วยร้านสตรีทฟู้ดปรับตัวสู้โควิด-19 แนะ 6 ขั้นตอนมือใหม่ขายเดลิเวอรี่
มติชน
10 เมษายน 2563 ( 08:00 )
302
LINE MAN เปิดโซลูชั่นช่วยร้านสตรีทฟู้ดปรับตัวสู้โควิด-19 แนะ 6 ขั้นตอนมือใหม่ขายเดลิเวอรี่

จากสถานการณ์ปัจจุบันที่มีข้อจำกัดการขายของตามประกาศของทางการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 นั้น

 

นางสาววรานันท์ ช่วงฉ่ำ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาธุรกิจและการตลาด LINE MAN เปิดเผยว่า บริษัทจึงพัฒนาฟีเจอร์ Self Pick-up สำหรับลูกค้าให้สามารถสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชัน LINE MAN และไปรับที่หน้าร้านด้วยตนเองโดยไม่เสียค่าสั่ง และ LINE MAN จะไม่หักค่าธรรมเนียมใดๆจากออเดอร์นั้น แม้จะเป็นร้านพันธมิตรประเภท GP (Gross Profit) ก็ตาม เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระทั้งลูกค้าและร้านอาหาร ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของการก่อตั้ง LINE MAN ประเทศไทย ในการเป็นผู้ช่วยเบอร์หนึ่งในชีวิตประจำวันของคนไทย 

 

 

 

นอกจากนี้ ได้เร่งขยายร้านอาหารที่รับชำระเงินผ่านบัตรเครดิต เพื่อช่วยร้านอาหารให้มีวิธีการชำระเงินที่ครบครัน และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในสถานการณ์ปัจจุบันได้ นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาโซลูชั่นเพื่อขับเคลื่อนร้านค้าให้โตไปด้วยกัน ด้วยการเข้าถึงเครื่องมือในการทำตลาดได้ด้วยตัวเองผ่าน Wongnai Merchant App (WMA) 

 

ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นจัดการออเดอร์ที่ LINE MAN และWongnai ร่วมกันพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นการติดอาวุธให้กับร้านอาหาฟู้ดเดลิเวอรี่ มีทั้งการบริหารจัดหน้าร้านออนไลน์ รับออเดอร์เดลิเวอรี่และสรุปยอดขายเดลิเวอรี่ในแต่ละวัน มีฟังก์ชั่นถ่ายภาพอาหารเพื่อโปรโมทข้ามแพลตฟอร์มราวกับมืออาชีพ การจัดทำโปรโมชั่นเพื่อสื่อสารไปยังลูกค้าได้ด้วยตัวเอง (Self Promotion) โดยทั้งหมดนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ 

 

นางสาววรานันท์ ยังได้เผย 6 เทคนิคพื้นฐานสำหรับร้านเดลิเวอรี่มือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจร้านอาหารบนแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ ได้แก่

1.สร้างจุดเด่นให้ร้าน นำเสนอเมนูให้โดน

2.รู้จักกลุ่มเป้าหมาย

3.ไม่จำเป็นต้องมีหลายเมนู เน้นขายเมนูซิกเนเจอร์ของร้าน 1-3 เมนูจะช่วยให้ร้านเป็นที่จดจำของกลุ่มลูกค้าได้ง่ายขึ้น

4.โปรโมชั่นสำหรับเดลิเวอรี่โดยเฉพาะ จะช่วยดึงดูดลูกค้าและเพิ่มยอดขายได้ไม่ยาก

5.เมนูและปริมาณที่เหมาะสม เป็นสิ่งจำเป็นเพราะไม่ใช่ทุกเมนูจะเหมาะกับการจำหน่ายผ่านบริการเดลิเวอรี่ เพราะบางเมนูมีข้อจำกัดเรื่องการควบคุมคุณภาพของอาหาร เช่น ร้านชาบู – ปิ้งย่าง สามารถพลิกแพลงนำวัตถุดิบที่มีมาปรับเป็นเมนูผัดหรือต้มสำเร็จรูปพร้อมทาน หรือร้านที่มีเมนูขนาดใหญ่ก็สามารถปรับให้เหมาะกับการทาน 1-2 คน เพื่อให้สะดวกต่อการทานและขนส่ง ง่ายต่อการตัดสินใจสั่ง เพิ่มโอกาสการขายได้ 

6. ใส่ใจ Packaging เพื่อเดลิเวอรี่ เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ เพราะต้องคำนึงถึงการใช้บรรจุภัณฑ์ที่สะดวกต่อการขนส่ง รักษาคุณภาพทั้งรสชาติและหน้าตาของอาหารที่อาจเปลี่ยนไปจากระยะเวลาการเดินทาง เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกได้ถึงคุณภาพอาหารที่ยังคงที่เมื่อเปิดทาน โดยเฉพาะปัจจุบัน บรรจุภัณฑ์แบบ Reuse สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก หรือแบบที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เป็นอีกข้อที่ร้านเดลิเวอรี่หันมาใส่ใจเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสิ่งแวดล้อม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง