รีเซต

รัฐบาลจีนนำชาวบ้านคิดพ้นกรอบ หลุดกับดัก 'ความจน' สู่หนทางมั่งคั่งยั่งยืน

รัฐบาลจีนนำชาวบ้านคิดพ้นกรอบ หลุดกับดัก 'ความจน' สู่หนทางมั่งคั่งยั่งยืน
Xinhua
11 กันยายน 2563 ( 17:54 )
233

หยินชวน, 11 ก.ย. (ซินหัว) -- หยางฮุ่ยฉินสวมชุดสีแดงสดใส ผ้าคลุมศีรษะหลากสีสัน และแต่งหน้าอย่างสวยงาม เธอถือเป็นผู้นำเทรนด์ใหม่สำหรับผู้หญิงในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุยทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน

 

"ก่อนการท่องเที่ยวจะเข้ามาที่หมู่บ้านของเรา ผู้หญิงในหมู่บ้านไม่เคยใส่ชุดกระโปรงหรือถุงน่องผ้าไหมเลย ยิ่งไม่ต้องพูดถึงลิปสติก" เจ้าของโรงแรมสไตล์ถ้ำในหมู่บ้านหลงหวังป้าวัย 43 ปีกล่าวหมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่ในอำเภอซีจี๋ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 52 อำเภอสุดท้ายของจีนที่ยังไม่หลุดพ้นจากความยากจน ก่อนช่วงเปลี่ยนผ่านศตวรรษใหม่ อำเภอแห่งนี้ต้องเผชิญกับภัยแล้งและความยากจนอย่างรุนแรงตลอดมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แคมเปญบรรเทาความยากจนของจีนพลิกโฉมหมู่บ้านหลงหวังป้าให้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมที่มีโรงแรมแบบชนบทและทุ่งดอกไม้ลดหลั่นเป็นชั้น การปฏิวัติทางจิตวิทยามาพร้อมกับสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นและความเจริญรุ่งเรืองที่เพิ่มขึ้นครั้งหนึ่งหยางเคยเป็นชาวไร่มันฝรั่งที่แทบไม่สามารถจุนเจือครอบครัวได้ แต่ตอนนี้เธอปล่อยให้คนเช่าห้อง 4 ห้อง พร้อมกับทำงานเป็นผู้จัดการโรงแรมอีกที่หนึ่ง มีรายได้รวมมากกว่า 60,000 หยวน (ประมาณ 270,000 บาท) ต่อปี

 

 

เมื่อก่อนฉันต้องขอเงินสามีทุกครั้งเวลาต้องการซื้ออะไร แต่ตอนนี้ฉันหาเงินเองได้แล้ว จึงรู้สึกอิสระที่จะซื้อของให้ตัวเอง" หยางกล่าวพร้อมกับโชว์โทรศัพท์ไอโฟน 8 ที่เพิ่งซื้อมาเมื่อปีที่แล้วเจียวเจี้ยนเผิง ผู้อำนวยการคณะกรรมการชาวบ้าน กล่าวว่าหมู่บ้านหลงหวังป้าเคยยากจนมากจนกระทั่ง "ไม่มีผู้หญิงนอกท้องที่แต่งงานเข้ามาในหมู่บ้าน" เมื่อเขาเปิดโรงแรมสำหรับครอบครัวเพื่อเริ่มต้นธุรกิจการท่องเที่ยวในท้องถิ่นในปี 2015 ก็ไม่มีชาวบ้านคนไหนชื่นชมเลย แม้แต่พ่อแม่ของเขาเอง"ผมมีปัญหากระทั่งการจ้างพนักงานเสิร์ฟ เพราะชาวบ้านคิดว่าการให้บริการลูกค้าเป็นการลดคุณค่า" เจียวกล่าว "พวกเขายังคิดว่านักท่องเที่ยวคือคนที่ไม่ทำงานทำการ ซึ่งมีแต่จะสร้างความเดือดร้อนให้"หลังจากได้เห็นความสำเร็จของเจียวเป็นขวัญตา ชาวบ้านก็เริ่มหันมาทำตามเขา ขณะนี้ครอบครัวในท้องถิ่น 35 ครอบครัวดำเนินกิจการโรงแรมขนาดเล็กและหมู่บ้านที่พรั่งพร้อมด้วยบรรยากาศแบบชนบทและอากาศในฤดูร้อนที่เย็นสบาย เมื่อปีที่แล้วมีผู้มาเยือนถึง 180,000 คน สร้างรายได้รวม 18 ล้านหยวน (ประมาณ 82 ล้านบาท)

 

 

ปลดปล่อย "แรงผลักดันภายใน"จีนกำลังก้าวสู่เส้นทางสุดท้ายก่อนถึงหลักชัยในการขจัดความยากจนสัมบูรณ์ (absolute poverty) ภายในสิ้นปี 2020 หลังจากลดจำนวนประชากรยากจนในชนบทจาก 98.99 ล้านคนในสิ้นปี 2012 เหลือ 5.51 ล้านคนในสิ้นปี 2019 ได้สำเร็จในแคมเปญต้านความยากจนครั้งประวัติศาสตร์นี้ เรายังได้พบเห็นการเปลี่ยนแปลงทางความคิดของผู้คนในชนบทที่เคยขาดแคลน ทำให้พวกเขาเปิดใจกว้าง และกระตือรือร้นในการแสวงหาความมั่งคั่งมากขึ้น"ปัจจุบันชาวบ้านติดพันอยู่กับการพัฒนาชีวิตของพวกเขา ด้วยเหตุนี้การทะเลาะเบาะแว้งเล็กๆ น้อยๆ ในหมู่ชาวบ้านจึงลดลง" เว่ยถิงเฟิง หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์ประจำตำบลหม่าเหลียนในอำเภอซีจี๋กล่าวแรงกระตุ้นอันแข็งแกร่งในการเปลี่ยนแปลงโชคชะตาเป็นสิ่งที่เห็นชัดเจนยิ่งในแหล่งรวมความยากจนแห่งสุดท้ายของประเทศ ซึ่งความพยายามในการขจัดความยากจนนั้นถูกขัดขวางมาเนิ่นนานจากการขาดแรงจูงใจของชาวบ้านที่จะลุกมาหลุดพ้นความยากจนด้วยการทำงานหนัก แม้จะมีนโยบายรัฐสนับสนุนก็ตามผู้สร้างประโยชน์ให้กับการเปลี่ยนแปลงนี้คือเหล่า "ผู้บุกเบิกในการสร้างความมั่งคั่ง" ทั้งหลายเช่นเดียวกับเจียว ในหลายพื้นที่ ตำแหน่งอันทรงเกียรตินี้นำมาซึ่งเงินสนับสนุนที่น่าพอใจ เนื่องจากทางการคาดหวังว่าความสำเร็จของพวกเขาจะเป็นตัวอย่างให้กับผู้อื่นได้

 

 

ในเดือนมิถุนายน สำนักงานกลุ่มผู้นำด้านการบรรเทาความยากจนและการพัฒนาของคณะรัฐมนตรีกล่าวว่าจีนได้อุปภัมภ์ผู้บุกเบิกอย่างน้อย 3 คนของหมู่บ้านยากไร้แต่ละแห่ง พร้อมวางแผนที่จะเพิ่มจำนวนให้มากขึ้นหยางเป็นข้อพิสูจน์ถึงพลังของตัวอย่างที่ดีเยี่ยม หนึ่งปีหลังจากที่โรงแรมของเจียวประสบผลสำเร็จทางการค้า เธอก็เปิดกิจการของเธอเองด้วยเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลจำนวน 40,000 หยวน (ประมาณ 183,000 บาท)"ฉันเห็นความสำเร็จของเขา และถามตัวเองว่าถ้าคนอื่นทำได้ ทำไมฉันถึงทำไม่ได้" เธอพูด "หลังจากนั้นเงินสนับสนุนก็มาช่วยให้ฉันทำฝันให้เป็นจริง"เจ้าหน้าที่รัฐในอำเภอซีจี๋กล่าวว่าขณะนี้กองทุนบรรเทาความยากจนส่วนหนึ่งถูกนำมาใช้ในการส่งเสริมให้เกษตรกรที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เริ่มต้นธุรกิจหรือขยายการผลิต"ถ้าเกษตรกรยากจนคนหนึ่งอยากเริ่มเลี้ยงวัว เขาจะซื้อวัวตัวแรกได้อย่างง่ายดายด้วยเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยและเงินอุดหนุน และหลังจากนั้น ยิ่งเกษตรกรสร้างผลผลิตได้มากเท่าไร เราก็จะให้เงินอุดหนุนมากขึ้นเท่านั้น" หวังเส่ว์จวิน หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์ประจำอำเภอกล่าว"เป้าหมายของเราคือการกระตุ้น 'แรงผลักดันภายใน' ของครอบครัวที่ยากจน" เขากล่าวโดยอ้างถึงการกระตุ้นให้ทำงานเพื่อหลุดพ้นจากความยากจนแทนที่จะพึ่งพาความช่วยเหลือจากรัฐบาล 

 

 

นอกจากมีจำนวนชาวบ้านที่ประสบความสำเร็จเพิ่มมากขึ้นและมีนโยบายที่น่าพอใจเพิ่มมากขึ้นแล้ว เจ้าหน้าที่ระดับรากหญ้าจำนวนมาก รวมถึงเจ้าหน้าที่จากเมืองและอำเภอต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายให้ไปทำงานยังหมู่บ้าน ต่างกำลังทำงานอย่างขยันขันแข็งเพื่อเพิ่มแรงกระตุ้นนี้เช่นกันในหมู่บ้านเจียซ่าน มณฑลกานซู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่นเคยลังเลที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ แม้ว่าความยากจนและโครงสร้างพื้นฐานที่ย่ำแย่ส่งผลให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ และไม่อาจก่อเกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ทำกำไรได้"ความยากจนเป็นบรรทัดฐานในหมู่บ้านมาตั้งแต่สมัยโบราณ แถมชาวบ้านยังอาศัยกระจัดกระจายอยู่บนภูเขาและไม่ค่อยเดินทางออกไปข้างนอกเลย พวกเขาจึงไม่อาจเห็นภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่านี้" เกายาลี่ เจ้าหน้าที่เขตการปกครองที่ช่วยเหลือด้านการบรรเทาความยากจนของหมู่บ้านกล่าวดังนั้น ในระหว่างที่มีการเปิดตัวอุตสาหกรรมใหม่ๆ และมีการสร้างถนนคอนกรีตหลายสาย เกาและเพื่อนร่วมงานของเธอจึงพยายามเป็นพิเศษที่จะกระตุ้นชาวบ้าน โดยการออกไปเยี่ยมบ้านของพวกเขาและจัดการประชุมทั้งหมู่บ้านในแคมเปญขจัด "ความยากจนที่มองเห็นได้" เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้ปรับปรุงพื้นที่สาธารณะที่ทรุดโทรมและมอบเฟอร์นิเจอร์ใหม่ให้กับชาวบ้าน เพื่อสร้างความประทับใจให้พวกเขาด้วยการพัฒนาชีวิตที่ดีขึ้นให้เห็นเป็นรูปธรรม"ชาวบ้านจำเป็นต้องมี 'แรงผลักดันภายใน' ที่จะถึงพวกเขาพ้นจากความยากจน" เกากล่าว "หลังจากปี 2020 แรงผลักดันดังกล่าวนี้จะขับเคลื่อนให้ชาวบ้านเดินหน้าต่อไปบนเส้นทางแห่งความมั่งคั่ง"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง