รีเซต

1 มี.ค.นี้! ปรับการรักษาผู้ป่วยโควิดแบบผู้ป่วยนอก OPD เน้นรักษาตัวที่บ้าน รับยาไปกิน

1 มี.ค.นี้! ปรับการรักษาผู้ป่วยโควิดแบบผู้ป่วยนอก OPD เน้นรักษาตัวที่บ้าน รับยาไปกิน
TNN ช่อง16
28 กุมภาพันธ์ 2565 ( 15:27 )
131
1 มี.ค.นี้! ปรับการรักษาผู้ป่วยโควิดแบบผู้ป่วยนอก OPD เน้นรักษาตัวที่บ้าน รับยาไปกิน

วันนี้ (28 ก.พ.65) ที่ กระทรวงสาธารณสุข นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุถึงอัตราการติดเชื้อของประเทศไทย สอดคล้องกับอัตราการติดเชื้อในต่างประเทศ ถึงแม้ว่าจำนวนจะเพิ่มสูงขึ้นแต่อัตราการเสียชีวิตยังคงต่ำอยู่

โดยสถานการณ์ในไทย ยังคงพบผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นทุกภูมิภาค ทำให้พบผู้ป่วยปอดอักเสบ ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจผู้ป่วยเสียชีวิตและแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป กลุ่มที่มีโรคเรื้อรัง โรคอ้วน และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ซึ่งยังคงต้องเน้นการสื่อสารให้ประชาชนรับวัคซีนทุกเข็มโดยเฉพาะวัคซีนเข็มกระตุ้น

ขณะนี้เน้นการตรวจจับการระบาดในคลัสเตอร์ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรง และสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดในวงกว้าง เช่น ร้านอาหารกึ่งผับบาร์ สถานที่ที่มีการรวมกลุ่มคนหมู่มาก 

ด้าน สถานการณ์เตียงโควิด-19 ของทั้งประเทศไทยปัจจุบันอัตราครองเตียงอยู่ที่ ร้อยละ 59 โดยกรมควบคุมโรคได้มีการจัดทำฉากกระทัศน์ หรือ รูปแบบจำลอง การคาดการณ์สถานการณ์โควิด-19 ในเดือนมีนาคม ซึ่งกราฟการติดเชื้อจะเข้าสู่ระดับทรงตัวและจะค่อยๆ ลดลง ส่วนกลุ่มที่ติดเชื้อแล้วต้องใส่ท่อช่วยหายใจ คาดการณ์จะลดลงถึง 400-500 ราย 

ขณะที่ผู้เสียชีวิตของไทยวันนี้ 42 ราย ยังคงเป็นผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป 29 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 69 ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี แต่มีโรคเรื้อรัง 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 26 รวมทั้ง ปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคมะเร็ง โรคอ้วน โรคไต และผู้ป่วยติดเตียง 

นอกจากนี้ ยังพบผู้ป่วยรุนแรง ภาวะปอดอักเสบสะสม 980 ราย เพิ่ม 25 ราย ส่วนใส่ท่อช่วยหายใจสะสม 280 ราย เพิ่มขึ้น 12 ราย

สำหรับข้อมูลสถานการณ์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย เข็ม 1 ฉีดไปแล้วร้อยละ 77 เข็มที่ 2 ฉีดไปแล้วร้อยละ 71.5 เข็ม 3 ขึ้นไป ฉีดไปแล้วร้อยละ 29.2

ขณะที่ การสำรองยาวฟาวิพิราเวียร์ ปลัดกระทรวงสาสุข ยืนยัน ยามีเพียงพอ โดยองค์การเภสัชกรรมมีอยู่ 65,200 เม็ด กระจายไปยังเขตสุขภาพที่ 1-12 จำนวน 13,343,882 เม็ด เขตสุขภาพที่ 13 คือกรุงเทพฯกระจายไปแล้ว 3,495,636 เม็ด รวมทั้งหมด 16,904,718 เม็ด 

ทั้งนี้ องค์การเภสัชกรรมมีแผนจัดหาและผลิตยาฟาวิพาราเวียร์ รวม 87.6 ล้านเม็ด ซึ่งได้มีการเตรียมไว้จนถึงเมษายนนี้ 

สำหรับภาพรวมนโยบายการดำเนินงานและความพร้อมของระบบสาธารณสุขตอนนี้โควิด เป็นช่วงขาขึ้น จะเน้นการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอักเสบ ใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้ป่วยเสียชีวิต โดยตอนนี้จะเน้นระบบ ATK First OPD- HI First ปรับการรักษาผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการและผู้ป่วยอาการน้อย เป็นรูปแบบผู้ป่วยนอก OPD โดยเน้นรักษาตัวเองที่บ้านและแยกกักที่บ้าน รับยา ลงทะเบียนผ่านระบบ 1330 สปสช. หรือหน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน ซึ่งจะเริ่มใช้ในวันที่ 1 มีนาคมนี้

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุ กรณีการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 รูปแบบผู้ป่วยนอก ว่า ข้อมูลถึงวันที่ 25 พบว่ามีผู้ป่วยโควิด-19 ที่อยู่ในระบบรักษาตัวที่บ้านกว่าร้อยละ 56.36 และทำการรักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ในเตียงระดับหนึ่ง คือ เตียงผู้ป่วยสีเขียวร้อยละ 36.10

ทำให้เห็นว่าการระบาดรอบนี้ผู้ป่วยโควิด-19 เกินครึ่งเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวไม่มีอาการเหลือการน้อยมาก ซึ่งสามารถรับยา ทำการรักษาตัวที่บ้านได้ ซึ่งสามารถเข้ารับการรักษาได้ที่คลีนิคทางเดินหายใจของแต่ละโรงพยาบาลได้ 

การรักษาโควิด-19 รูปแบบผู้ป่วยนอก OPD จะเป็นการรักษาเสริม กับระบบการรักษาตัวที่บ้าน HI และในศูนย์พักคอย  CI หรือในฮอลพิเทล หรือในโรงพยาบาลสนาม 

ทั้งนี้ หากประชาชนที่ติดเชื้อ เข้ารับการรักษาแบบ OPD ยังคงต้องแยกกักตัวที่บ้าน จ่ายยาตามอาการ โทรติดตามอาการ ครั้งเดียว คือ ภายใน 48 ชั่วโมง จะไม่มีอุปกรณ์ตรวจประเมิน แต่จะมีระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง 

ส่วนการเข้ารักษาตัวที่บ้านหรือ ยังคงแยกกักตัวที่บ้าน จ่ายยาตามอาการ จะมีการโทรติดตามอาการทุกวัน มีอุปกรณ์ตรวจประเมิน และมีระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง และจะมีบริการอื่นๆเช่นนำส่งอาหาร 

ขณะที่ นพ.โอภาส การย์กวินพงษ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า การระบาดของไทย ที่ผ่านมาเป็นสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งข้อมูลในต่างประเทศ จะพบการระบาดสูงสุด 1-2 เดือน และจะค่อยๆ ลดลง ซึ่งสอดคล้องกับประเทศไทยที่พบการติดเชื้อโควิคที่เพิ่มขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา อาการเด่นที่พบในผู้ป่วยโควิดในช่วงนี้ คือ พบผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอมากขึ้น 

สำหรับแนวทางสำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดเสียงสูงของผู้ติดเชื้อโควิด-19 แนะนำให้กับตัวที่บ้าน 7 วัน และให้สังเกตอาการตนเองเพิ่มอีก 3 วัน โดยตรวจ ATK ครั้งที่ 1 วันที่ 5-6 หลังสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อครั้งสุดท้าย และตรวจครั้งที่ 2 ในวันที่ 10 หลังสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อครั้งสุดท้าย. 


ภาพจาก แถลงข่าวกระทรวงสาธารณสุข


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง