รวมหนี้ ดีไหม? “มาตรการรวมหนี้ 2565” ช่วยเหลือลูกหนี้อย่างไรบ้าง เช็กเลย!
เป็นหนี้! ค้างหนี้สินเชื่อ หนี้บ้าน สามารถรวมหนี้ได้ โดยเข้าร่วม “มาตรการรวมหนี้” กับ ธปท. เพื่อแก้หนี้ ลดภาระหนี้ จากผลกระทบโควิด-19 โดยการรวมหนี้ มีประโยชน์อย่างไรบ้าง วันนี้ TrueID ได้รวบรวมมาให้แล้ว
หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ได้ออกมาตรการแก้หนี้ระยะยาวในเดือนกันยายน 2564 ยังพบว่าลูกหนี้ยังได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง จึงได้ออกมาตรการสนับสนุนการรีไฟแนนซ์ (refinance) และการรวมหนี้เพิ่มเติม เพื่อช่วยลดภาระให้กับลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดีหรือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19
โดย “มาตรการรวมหนี้ 2565” ให้สถาบันการเงินผ่อนปรนให้ลูกหนี้ สามารถ “รวมหนี้” สินเชื่อบ้านและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นเข้าด้วยกัน โดยขยายขอบเขตจากเดิมที่ดำเนินได้เฉพาะแบงก์เดียวกันให้สามารถรวมหนี้ข้ามแบงก์ได้ เพื่อช่วยลดภาระดอกเบี้ยและการผ่อนค่างวดให้แก่ลูกหนี้ในระยะยาว
การปรับโครงสร้างหนี้ด้วยวิธีการรวมหนี้ คืออะไร?
การรวมหนี้สินเชื่อบ้านกับสินเชื่อรายย่อยเพื่อช่วยลดภาระดอกเบี้ยและการผ่อนค่างวด โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อบ้านไม่เพิ่มขึ้นจากเดิม และในส่วนของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อยอื่น ๆ กำหนดไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านภายหลังช่วงจัดรายการส่งเสริมการขาย (teaser rate) บวก 2% ต่อปี
รูปแบบการรวมหนี้มีแบบไหนบ้าง?
การรวมหนี้แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลัก ดังนี้
- การรวมหนี้ภายในสถาบันการเงินเดียวกัน
- การรวมหนี้ระหว่างสถาบันการเงิน โดยโอนหนี้บัตรจากธนาคารแห่งหนึ่งไปรวมกับหนี้บ้านของธนาคารอีกแห่งหนึ่ง หรือจะเป็นการโอนหนี้บ้านไปรวมกับหนี้บัตรก็ได้
- การโอนหนี้บ้านและหนี้สินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นไปรวมกันที่สถาบันการเงินแห่งใหม่ที่ลูกหนี้ไม่เคยมีหนี้ด้วยมาก่อน
ประโยชน์จากการรวมหนี้
- อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อยลดลงเมื่อนำมารวมหนี้ ลูกหนี้จะมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น
- ชำระหนี้ได้ง่ายขึ้น เพราะเหลือหนี้ก้อนเดียวและอัตราดอกเบี้ยอัตราเดียว
- ลูกหนี้ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต หากเจรจารวมหนี้สำเร็จตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้เสีย
ข้อควรรู้สำหรับลูกหนี้
- ลูกหนี้สามารถรวมหนี้ได้ไม่เกินมูลค่าของหลักประกัน ทั้งนี้ หากยอดหนี้ของสินเชื่อรายย่อยสูงกว่ามูลค่าหลักประกันสามารถขอรวมหนี้บางส่วนได้
- ลูกหนี้ต้องให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็น เช่น ชื่อเจ้าหนี้ ยอดหนี้คงค้าง แก่ธนาคารที่ทำการรวมหนี้
- ลูกหนี้อาจถูกพิจารณาปรับลดวงเงินส่วนที่นำไปรวมหนี้ เพื่อให้อยู่ในระดับที่ลูกหนี้สามารถบริหารจัดการได้
สำหรับผู้ที่สนใจมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของแต่ละธนาคาร >> คลิกที่นี่
ข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<