รีเซต

TAT-1 ระบบเคเบิลโทรศัพท์ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมยุโรปและสหรัฐอเมริกาในอดีต

TAT-1 ระบบเคเบิลโทรศัพท์ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมยุโรปและสหรัฐอเมริกาในอดีต
TNN ช่อง16
25 กันยายน 2565 ( 09:13 )
74
TAT-1 ระบบเคเบิลโทรศัพท์ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมยุโรปและสหรัฐอเมริกาในอดีต

การสื่อสารผ่านสายเคเบิลใต้น้ำหรือการสื่อสารผ่านดาวเทียมอาจเป็นเรื่องปกติในยุคสมัยนี้ แต่ในปี 1956 มนุษย์ได้เริ่มต้นการสื่อสารด้วยเคเบิลใต้น้ำเป็นครั้งแรกโดยสายเคเบิลที่ชื่อว่า TAT-1 หรือ Transatlantic No. 1

 

โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานไปรษณีย์ทั่วไปของอังกฤษและบริษัทโทรศัพท์และโทรเลขของสหรัฐอเมริกา และบริษัท โทรคมนาคมต่างประเทศของแคนาดา โครงการมีมูลค่า 120 ล้านปอนด์ (ค่าเงินปอนด์ในปี 1956 หรือ 66 ปีก่อน) สัดส่วนการลงทุนชาวอังกฤษ 40% อเมริกัน 50% และแคนาดา 10% 

 

สายเคเบิลเริ่มต้นถูกวางลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกในปี 1955 โดยใช้เรือวางสายเคเบิล HMTS Monarch เริ่มกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ไปยังเมืองโอบาน ประเทศสกอตแลนด์ ผ่านไปทางนิวฟันด์แลนด์ ก่อนแยกไปขึ้นฝั่งที่สหรัฐอเมริกาและแคนาดา

 

สายเคเบิลมีความแข็งแรงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันความเสียหายหลายชั้น รวมไปถึงติดตั้งแอมปลิฟายเออร์หรือตัวทวนสัญญาณเพื่อความชัดเจนในการส่งข้อมูล สายเคเบิลแต่ละเส้นรองรับการใช้งานระยะยาว 20 ปี

 

25 กันยายน 1956 วันแรกของการเปิดตัวสายเคเบิล TAT-1 เชื่อมยุโรปกับสหรัฐอเมริกา ได้รับความสนใจจากผู้คนในยุคนั้นเป็นอย่างมากโดยสามารถรองรับการโทรศัพท์พร้อมกัน 3 ช่องทาง รองรับการโทรศัพท์จากลอนดอนไปยังสหรัฐอเมริกา 588 ครั้ง และโทรศัพท์จากลอนดอนไปยังแคนาดา 119 ครั้ง อาจเป็นครั้งแรก ๆ ที่มนุษย์สื่อสารกันผ่านตัวกลางระยะทางไกลหลายพันกิโลเมตร

 

ปัจจุบันยังคงมีการใช้งานสายเคเบิลใต้มหาสมุทรอยู่มีการปรับปรุงความรวดเร็วและปริมาณการส่งข้อมูลมากขึ้นโดยใช้ระบบเคเบิลใยแก้ว เช่น สายเคเบิลใต้มหาสมุทรของบริษัท กูเกิล (Google) เชื่อมต่อระหว่างสหรัฐอเมริกากับทวีปอเมริกาใต้ สายเคเบิลใต้มหาสมุทรเชื่อมต่อกับทวีปเอเชีย อย่างไรก็ตามเริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียมสื่อสารบนอวกาศที่สามารถปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อความเร็วสูงซึ่งอาจสามารถทดแทนการส่งข้อมูลผ่านทางสายเคเบิลใต้มหาสมุทรได้ในอนาคต


ที่มาของข้อมูล en.wikipedia.org/wiki/TAT-1

ที่มาของรูปภาพ atlantic-cable.com

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง