ซื้อของไม่ตรงปก ยื่นฟ้องได้ 24 ชม. ผ่านเเผนกคดีซื้อขายออนไลน์ในศาลแพ่ง ระบบ e-Filing
ซื้อของออนไลน์ ได้ของตรงปก ได้ของไม่ครบ ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป เนื่องจาก "ศาลยุติธรรม" เปิดให้ยื่นฟ้อง กรณีได้รับสินค้าไม่ตรงปก คุณสมบัติ-ประสิทธิภาพสินค้าไม่ตรงที่แจ้ง สามารถยื่นฟ้องได้ทันที ที่เเผนกคดีซื้อขายออนไลน์ ในศาลแพ่ง เริ่ม 27 ม.ค. 2565 เป็นต้นไป
นายสรวิศ ลิมปรังษี โฆษกศาลยุติธรรม เผยว่า ได้ประกาศกำหนดเปิดทำการ “แผนกคดีซื้อขายออนไลน์ในศาลแพ่ง” อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 27 มกราคมนี้ ซึ่งจะเป็นช่องทางให้ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากการซื้อขายสินค้าบริการทางออนไลน์สามารถเข้าถึงศาล นักช้อปออนไลน์สามารถ
- ใช้สิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยตนเองได้อย่างสะดวก
- ไม่เสียค่าใช้จ่าย ผ่านระบบ e-Filing
- ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหาย สามารถยื่นฟ้องได้ ตั้งแต่ 27 ม.ค.เป็นต้นไป
ขั้นตอนฟ้องศาล กรณีได้สินค้าไม่ตรงปก
- เข้าไปที่เว็บไซต์ https://efiling3.coj.go.th หรือที่เว็บไซต์ของศาลแพ่ง
- เลือกประเภทผู้ใช้งาน สำหรับประชาชน
- ลงทะเบียนสำหรับผู้ใช้งานในระบบ (สำหรับผู้ใช้งานใหม่)
- หลังจากลงทะเบียนแล้ว กด "เข้าสู่ระบบ"
- เลือกเมนู "คดีซื้อขายออนไลน์" แล้วระบุข้อมูลประกอบการทำคำฟ้อง เช่น ชื่อ-นามสกุล, หมายเลขบัตรประชาชน, ชื่อผู้ขาย, แพลตฟอร์มที่ใช้ในการทำธุรกรรม และมูลเหตุที่เรียกร้อง เป็นต้น
- เมื่อระบุครบถ้วนแล้ว ให้กด "ยืนยันข้อมูล"
- จากนั้นศาลจะตรวจสอบข้อมูล และคำฟ้องที่ยื่นผ่านระบบ และเจ้าพนักงานคดี จะแจ้งวันนัดพิจารณาให้ผู้ฟ้องคดีทราบผ่านทางระบบ efiling
ขั้นตอนการดำเนินคดี
- กรณีที่คู่ความ สมัครใจเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยออนไลน์ ระบบจะให้คู่ความเลือกนัดหมายออนไลน์ เพื่อนัดวันพิจารณาไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยานโจทก์ โดยจำเลยมีสิทธิ ยื่นคำให้การผ่านระบบออนไลน์ จากนั้นหากเจรจรและไกล่เกลี่ยสำเร็จ จะมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความออนไลน์ พร้อมกับลงลายมือชื่อ ในรูปแบบ e-Signature ผ่านระบบของศาล และเมื่อศาลพิพากษาตามยอม หรือถอนฟ้อง เป็นอันสิ้นสุดกระบวนการ
- กรณีไกล่เกลี่ยออนไลน์ไม่สำเร็จ ศาลจะดำเนินการสืบพยาน และพิพากษาคดีในรูปแบบออนไลน์ ตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
นอกจากนี้ศาลยุติธรรม ยังจะร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการดำเนินคดี และประสานข้อมูลเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจากการซื้อขายออนไลน์ กับ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค, สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, กรมบังคับคดี, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสภาองค์กรของผู้บริโภค เพื่อสนับสนุนให้มีนโยบาย แผนงาน และเป้าหมายร่วมกัน ในการดำเนินการคุ้มครอง เยียวยา และระงับข้อพิพาทของผู้บริโภคจากการซื้อขายออนไลน์อีกด้วย
ข้อมูลจาก เพจเฟซบุ๊ก สื่อศาล
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<