รีเซต

ยื่นภาษี 2565 ไม่ได้ยื่นภาษี-ลืมยื่นภาษี ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 มีโทษอย่างไร?

ยื่นภาษี 2565 ไม่ได้ยื่นภาษี-ลืมยื่นภาษี ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 มีโทษอย่างไร?
Ingonn
10 เมษายน 2566 ( 18:54 )
5.4K

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นหน้าที่ของผู้เสียภาษี แม้จะมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีแต่ก็มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีอยู่ดี โดยการยื่นภาษีปี 2565 ครั้งนี้ สามารถทำได้ตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค.- 31 มี.ค. 66 เป็นช่วงเวลาในการ "ยื่นภาษี" ประเภท "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" ในปีภาษี 2565 


ปกติจะยื่นภาษีประจำปี ปีละ 1 ครั้ง ระหว่าง 1 มกราคม - 31 มีนาคมของทุกปี หากยื่นผ่านระบบออนไลน์ของกรมสรรพากรจะขยายเวลายื่นภาษีได้ถึง 8 เมษายนของทุกปี ซึ่งจะยื่นภาษีกันเพียงปีละครั้งเท่านั้น ในช่วง 1 มกราคม - 31 มีนาคม โดยเป็นการสรุปรายได้และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปีภาษีที่ผ่านมา

  • ถ้ามีเงินได้จากเงินเดือน เพียงอย่างเดียวจะใช้แบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 91
  • ถ้ามีเงินได้จากอื่นๆ นอกเหนือจากเงินเดือนด้วยจะใช้แบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90

 

แต่ถ้าใครลืมยื่นภาษี หรือจงใจไม่ยื่นภาษี จะมีโทษ หรือค่าปรับไม่ยื่นภาษีอย่างไรบ้าง วันนี้ TrueID ได้รวบรวมค่าปรับ หรือเบี้ยปรับเงิน ถ้าไม่ชำระในกำหนดเวลาหรือชำระไม่ถูกต้องจะมีความรับผิดอย่างไรบ้าง

 

ลืมยื่นภาษี เสียค่าปรับอย่างไร

เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ถือเป็นบทลงโทษเกี่ยวกับภาษีอากรอย่างหนึ่ง และอาจมีโทษทางอาญาด้วย แล้วแต่ความผิดว่าเป็นเรื่องร้ายแรงขั้นไหน โดยหากบุคคลใดยื่นแบบฯ ภายในกำหนดแต่ชำระภาษีไม่ครบถ้วน หรือยื่นแบบฯ ล่าช้า ละเลย หรือหลีกเลี่ยงการยื่นแบบฯ จะต้องเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามกฎหมายกำหนด และหากฝ่าฝืนไม่ยอมชำระ ก็ต้องรับโทษทางอาญาด้วย ซึ่งมีบทลงโทษ ดังนี้
  

  1. กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี     

  2. กรณีเจ้าพนักงานตรวจสอบออกหมายเรียก และปรากฏว่ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้แต่ชำระภาษีขาดหรือต่ำไป นอกจากจะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มแล้ว ยังจะต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าหรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระแล้วแต่กรณี เงินเบี้ยปรับดังกล่าวอาจลดหรืองดได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี 
       
  3. กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90, 91 หรือ 94 ภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท 
       
  4. กรณีจงใจ แจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จหรือฉ้อโกง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท

  5. กรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ใครที่ไม่ยื่นภาษี แล้วไม่ถูกปรับ

  • มีรายได้จากเงินเดือนเพียงทางเดียว ตลอดทั้งปีไม่เกิน 120,000 บาท หรือตกเดือนละ 10,000 บาท
  • มีรายได้ทางอื่นด้วยตลอดทั้งปีไม่เกิน 60,000 บาท หรือเดือนละ 5,000 บาท
  • สมรสตมกฎหมายแล้วและคุณทั้งคู่มีรายได้จากเงินเดือนเพียงทางเดียวรวมกันตลอดทั้งปีไม่เกิน 220,000 บาท หรือตกเดือนละ 18,333.33 บาท
  • สมรสตามกฎหมายแล้วและคุณทั้งคู่มีรายได้รวมกันตลอดทั้งปีไม่เกิน 120,000 บาท หรือตกเดือนละ 10,000 บาท
  • มีรายได้จากดอกเบี้ยธนาคาร, ดอกเบี้ยหุ้นกู้, ดอกเบี้ยพันธบัตร, ส่วนต่าง discount bond, กำไรจากการขายตราสาหนี้, เงินปันผลของบริษัทห้างร้าน แล้วปล่อยให้ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายไปเลย
  • มีรายได้จาก เงินปันผลจากกองทุนรวม แล้วปล่อยให้ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายไปเลย
  • มีรายไต้จากการขายอสังหริมทรัพย์ที่เป็นมรดกหรือมีคนให้มา แล้วปล่อยให้ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายไปเลย
  • มีรายได้จาก การขายอสังหามรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นที่ไม่ได้มุ่งหากำไร แล้วปล่อยให้ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายไปเลย

 

 

ข้อมูล กรมสรรพากร , www.itax.in.th

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง