รีเซต

เช็ก! สินเชื่อ 4 ประเภทอะไรบ้าง? ที่ ธปท.เปิดมาตรหารช่วยลูกหนี้รายย่อย ระยะที่ 3 เริ่ม 17พ.ค.- 31ธ.ค. 64

เช็ก! สินเชื่อ 4 ประเภทอะไรบ้าง? ที่ ธปท.เปิดมาตรหารช่วยลูกหนี้รายย่อย ระยะที่ 3 เริ่ม 17พ.ค.- 31ธ.ค. 64
TNN Wealth
14 พฤษภาคม 2564 ( 13:03 )
162
เช็ก! สินเชื่อ 4 ประเภทอะไรบ้าง? ที่ ธปท.เปิดมาตรหารช่วยลูกหนี้รายย่อย ระยะที่ 3 เริ่ม 17พ.ค.- 31ธ.ค. 64

 

ข่าววันนี้ ธปท.เปิดรายละเอียดมาตรการช่วยลูกหนี้รายย่อย ระยะที่ 3 เริ่ม 17พ.ค.- 31ธ.ค. 64

 

 

สินเชื่อ  4 ประเภท มีอะไรบ้าง?

 

 

  • บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล
  • สินเชื่อจำนำทะเบียน
  • สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์
  • สินเชื่อที่อยู่อาศัย

 

 

โดยเน้นขยายเวลาชำระหนี้ให้ยาวขึ้น จ่ายดอกเบี้ยลดลง เพิ่มทางเลือกในการคืนรถยนต์ และ มอเตอร์ไซค์ พร้อมย้ำว่าอัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญา ต้องไม่ให้สูงขึ้นกว่าอัตราดอกเบี้ยเดิม

 



นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่าการแพร่ระบาดของโควิด 19 มีผลกระทบในวงกว้างต่อลูกจ้างทำให้รายได้หายไปหรือลดลง และมีสัญญาณว่าลูกหนี้รายย่อยมีความยากลำบากในการชำระหนี้มากขึ้น

 

 

ธปท. จึงได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการทางการเงิน ผ่านสมาคมและชมรมต่าง ๆ รวม 8 แห่ง ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งจะครอบคลุมสินเชื่อ 4 ประเภท ดังนี้

 

 


1. บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล (Revolving & Installment Loan) 

 


1.1 เปลี่ยนเป็นหนี้ระยะยาว หรือลดค่างวด 


1.2 กรณีขยายระยะเวลาเกินกว่า 48 งวด ให้ผู้ให้บริการทางการเงินทบทวนอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าอัตราที่กำหนด 


1.3 รวมหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยอื่น

 

 


2. สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์

 


2.1 ลดค่างวด


2.2 สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง พิจารณาใน 2 ทางเลือก 
• พักชำระค่างวด
• การคืนรถ สำหรับลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ หากราคาขายประมูลได้จริงต่ำกว่าภาระหนี้ตามสัญญา ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถช่วยลดภาระหนี้ให้สอดคล้องกับสถานะของลูกหนี้ 


2.3 รวมหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยอื่น

 

 


3. เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ 

 


3.1 ลดค่างวด หรือขยายเวลา 


3.2 สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง พิจารณาใน 2 ทางเลือก

• พักชำระค่างวด โดยยกเว้นดอกเบี้ยในช่วงที่พัก หรือคิดดอกเบี้ยจากฐานค่างวดในช่วงที่พักชำระหนี้ 
• การคืนรถ สำหรับลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ หากราคาขายประมูลได้จริงต่ำกว่าภาระหนี้ตามสัญญา ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถช่วยลดภาระหนี้ให้สอดคล้องกับสถานะของลูกหนี้ 


ทั้งนี้ การช่วยเหลือ เมื่อคำนวณอัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญา (Effective Interest Rate: EIR) ไม่ให้สูงขึ้นกว่าอัตราดอกเบี้ยเดิม 


3.3 รวมหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยอื่น


3.4 หากลูกหนี้ชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดในคราวเดียวเพื่อปิดบัญชี ให้ลดดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระไม่น้อยกว่า 50%ตามข้อกำหนดของสคบ.

 

 


4. สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน

 


4.1 บรรเทาภาระหนี้ โดยลดค่างวด หรือ พักเงินต้น และจ่ายดอกเบี้ยบางส่วน หรือพักเงินต้น และพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยหรือพักชำระค่างวด


4.2 ทยอยชำระคืนเป็นขั้นบันได (step up) ตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ หลังลดค่างวดหรือพักชำระหนี้ 


4.3 รวมหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยอื่น

 


ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบสามารถแจ้งความประสงค์รับความช่วยเหลือได้ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม - 31 ธันวาคม 2564 ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของผู้ให้บริการทางการเงิน

 

 

โดย ธปท. ขอให้ผู้ให้บริการทางการเงินให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมกับสถานะของลูกหนี้ตามมาตรการที่กำหนด รวมทั้งให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมตามนโยบายของผู้ให้บริการทางการเงิน



นอกจากนี้ ธปท. มีช่องทางสนับสนุนในการช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อน ดังนี้

 


1. มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้

 

สำหรับการช่วยเหลือลูกหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล ได้ขยายเวลาออกไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 และจะเพิ่มการไกล่เกลี่ยหนี้เช่าซื้อในระยะต่อไป

 


2. โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน

 

 

เพื่อเป็นแหล่งให้ข้อมูลและข้อแนะนำเกี่ยวกับการแก้ไขหนี้รายย่อยและธุรกิจ ซึ่งลูกหนี้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและนำไปแก้ไขปัญหา หรือบอกต่อข้อแนะนำแก่ผู้ใกล้ชิดได้ โดยศึกษาข้อมูลได้ทาง www.bot.or.th/app/doctordebt/ 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง