เช็ก! กักตัว “Hospitel” ได้ที่ไหนบ้าง
ในยุคที่โควิด-19 เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยยังไม่มีท่าทีว่าจะลดลง ทำให้สถานพยาบาลรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 มีความต้องการสูงขึ้นจนเกิดสถานพยาบาลมากมาย สำหรับรองรับผู้ป่วยจากโรงพยาบาล
เมื่อมีโรงพยาบาลสนาม สถานกักกันของรัฐ และน้องใหม่ล่าสุดอย่าง Hospitel ที่เป็นความร่วมมือจากภาคธุรกิจโรงแรม เป็นสถานที่รองรับผู้ติดเชื้อใหม่ จะเป็นยังไง วันนี้ True ID มีคำตอบมาให้แล้ว
Hospitel คืออะไร
“Hospitel” (ฮอสพิเทล) หรือ “หอผู้ป่วยติดโรคโควิด-19 เฉพาะกิจ”
คำว่า Hospitel มาจากการผสมระหว่างคำ 2 คำ คือคำว่า Hospital ที่แปลว่า โรงพยาบาล และคำว่า Hotel ที่แปลว่า โรงแรม มีจุดประสงค์เพื่อรองรับผู้ป่วยที่มีอาการน้อยหรือไม่รุนแรง ด้วยการปรับเปลี่ยนโรงแรมให้เป็นพื้นที่เฝ้าระวังอาการ เนื่องจากผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทางโรงพยาบาลสามารถรองรับผู้ป่วยที่มีอาการหนักได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพสูงสุดหากอาการเปลี่ยนแปลงจะย้ายกลับโรงพยาบาลหลักทันที ซึ่งมั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการรักษาพยาบาลตามมาตรฐาน
เปลี่ยน Hospital อย่างไร ให้เป็น Hospitel
มีมาตรฐานเดียวกับสถานพยาบาล ทั้งโครงสร้าง สิ่งแวดล้อม ขยะ น้ำเสีย ความเป็นมิตรกับชุมชน รวมทั้งการจัดบริการทางการแพทย์
1.ต้องเป็นโรงแรมที่มีห้องพักมากกว่า 30 ห้องขึ้นไป
2.เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลมาแล้วไม่น้อยกว่า 5-7 วัน และมีผลภาพถ่ายรังสีปอดคงที่
3.ผู้ป่วยยินดีให้ความร่วมมือ สามารถสื่อสารได้รู้เรื่อง ดูแลตนเองได้ดี ไม่ก้าวร้าว และไม่มีความเสี่ยงทางจิตเวช
4.ผู้ป่วยไม่มีไข้ กรณีมีโรคประจำตัว ต้องควบคุมอาการได้ดี
5.ต้องจัดยาให้พร้อม สำหรับให้ผู้ป่วยรับประทานด้วยตัวเองจนครบตามแผนการรักษาของแพทย์
6.โรงพยาบาลต้นทางต้องยินดีรับผู้ป่วยกลับเข้ารักษาที่โรงพยาบาล หากผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลง
7.มีแพทย์ประจำ 1 คน พยาบาล 1 คนต่อ 20 เตียง เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิทัล เครื่องวัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด และเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่
เหมาะกับผู้ป่วยโควิด-19 แบบไหน
1.ผู้ป่วยยืนยันที่ไม่มีอาการ หลังนอนรพ. 4-7 วัน เมื่อไม่มีภาวะแทรกซ้อนให้พักต่อที่ Hospitel จนครบ 10 วัน
2.ผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการ ไม่มีภาวะเสี่ยง/ภาวะร่วม หลังนอนรพ. 4-7 วัน เมื่ออาการดีขึ้นให้พักต่อที่ Hospitel จนครบ 10 วัน
3.ผู้ป่วยยืนยันโควิด อายุน้อยกว่า 50 ปี ที่ไม่มีอาการ หรือ ไม่มีภาวะเสี่ยง/ภาวะร่วม เข้าพักรักษา สังเกตอาการที่ Hospitel จนครบ 10 วัน
4.ผู้ป่วยที่รับการรักษา แนะนำให้ เอกซเรย์ปอดทุกราย หากปอดผิดปกติ ควรอยู่โรงพยาบาล
แตกต่างจากโรงพยาบาลสนามอย่างไร
หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel)
- ผู้ป่วยได้รับการรักษาในโรงพยาบาลมาแล้วไม่น้อยกว่า 5-7 วัน และมีผลภาพถ่ายรังสีปอดคงที่
- ผู้ป่วยยินดีให้ความร่วมมือ สามารถสื่อสารได้รู้เรื่องดูแลตนเองได้ดี ไม่ก้าวร้าว และไม่มีความเสี่ยงทางจิตเวช
- ผู้ป่วยไม่มีไข้ กรณีมีโรคประจำตัวต้องควบคุมอาการได้ดี
- ต้องจัดยาให้พร้อม สำหรับให้ผู้ป่วยรับประทานด้วยตนเองจนครบตามแผนการรักษาของแพทย์
- โรงพยาบาลต้นทางต้องยินดีรับผู้ป่วยกลับเข้ารักษาที่โรงพยาบาลหากผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลง
โรงพยาบาลสนามหรือ Field hospital หรือ cohort center
- เป็นการจัดตั้งที่พัก สำหรับการสังเกตอาการผู้ติดเชื้อที่มีอาการเล็กน้อยหรือไม่มีอาการ ในพื้นที่ที่มีการควบคุม
- จะต้องมีการคัดกรอง ไม่รับกลุ่มที่มีอาการ หรือมีความเสี่ยง รวมถึงระบบส่งต่อกรณีที่ต้องการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน
- มีระบบดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น และระบบสำคัญๆ ของ รพ. โดยเฉพาะระบบการควบคุมการติดเชื้อ เพื่อป้องกันการระบาด สู่บุคคลภายนอกและชุมชน
Hospitel ตอนนี้มีที่ไหนบ้าง
1.โรงพยาบาลกรุงเทพ มี โรงแรมชีวา กรุงเทพฯ เป็น Hospitel ให้บริการ
2.โรงแรมเกษมราษฎร์ ประชาชื่น มี โรงแรม Justice และ โรงแรมริชมอนด์ เป็น Hospitel ให้บริการ
3.โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ มี โรงแรม ณ เดอะกรีน โฮเท็ล โรงแรมโซลิแทร์ โรงแรมคิงส์ตั้น โรงแรมรอยัล เพรสซิเดนท์ โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ มาบุญครอง โรงแรม Court wing เป็น Hospitel ให้บริการ
4.โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 มี โรงแรมโอทู ลักชูรี เป็น Hospitel ให้บริการ
5.โรงแรมธนบุรี 1 มี โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ แกรนด์ สุขุมวิท (อโศก) เป็น Hospitel ให้บริการ
6.โรงพยาบาลบางปะกอก 9 มี โรงแรมกรีนวิว โฮเท็ล เป็น Hospitel ให้บริการ
7.โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มี โรงแรมอนันตรา ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ รีสอร์ท เป็น Hospitel ให้บริการ
8.โรงพยาบาลปิยเวท มี โรงแรมรอยัล รัตนโกสินทร์ และโรงแรมอินทรา รีเจนท์ เป็น Hospitel ให้บริการ
9.โรงพยาบาลพัทยาเมโมเรียล มี โรงแรมTropicana เป็น Hospitel ให้บริการ
10.โรงพยาบาลเมดพาร์ค มี โรงแรมเวิร์ฟ โฮเต็ล และ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ (สาทร) เป็น Hospitel ให้บริการ
11.โรงพยาบาลวิชัยเวชฯ อ้อมน้อย มี โรงแรมเดอะไคโท ลัคชูรี่ ดีไซน์ โฮเทล เป็น Hospitel ให้บริการ
12.โรงพยาบาลวิภาราม มี โรงแรมโชบูทีค เป็น Hospitel ให้บริการ
13.โรงพยาบาลวิภาราม-ชัยปราการ มี โรงแรม โอโซน โฮเทล แอดสามย่าน เป็น Hospitel ให้บริการ
14.โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล มี โรงแรมบันดารา เป็น Hospitel ให้บริการ
15.โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ มี โรงแรมไทซัน โรงแรมเมเปิล เป็น Hospitel ให้บริการ
16.โรงแรมสมิติเวช สุขุมวิท มี โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ ฟินิกซ์ เพลินจิต เป็น Hospitel ให้บริการ
17.โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา มี โรงแรมสินสิริ ลาดพร้าว 130 และ โรงแรมสินสิริ นวมินทร์ 69 เป็น Hospitel ให้บริการ
18.โรงพยาบาลสุขุมวิท มี โรงแรม มาเลเซีย เป็น Hospitel ให้บริการ
19.โรงพยาบาลเสรีรักษ์ มี โรงแรมสินสิริ รีสอร์ท เป็น Hospitel ให้บริการ
20.โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล หนองแขม มีโรงแรมเดอะแพลทตินั่ม สวีท เป็น Hospitel ให้บริการ
21.โรงพยาบาลวิภาราม มี โรงแรมเดอะภัทรา แอดพระรามเก้า เป็น Hospitel ให้บริการ
22.โรงพยาบาลบางปะกอกรังสิต 2 มีโรงแรมธารา เรสซิเดนซ์ เป็น Hospitel ให้บริการ
จำนวนโรงแรมที่ยื่นให้ความประสงค์เป็นโรงพยาบาลสนาม
กรุงเทพ 85 แห่ง
ชลบุรี 15 แห่ง
นครราชสีมา 8 แห่ง
เชียงใหม่ 6 แห่ง
หากพบว่าติดเชื้อโควิด-19 และต้องการเตียงรักษา
มี 3 สายด่วนเพื่อที่จะประสานหาเตียง ภายใน 24 ชั่วโมงเพื่อช่วยเหลือ
โทรสายด่วนกรมการแพทย์ 1668 (ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-22.00 น.)
โทรสายด่วนสปสช.1330 (ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง)
โทรสายด่วน 1669 (ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง )
นอกจากนี้ยังมีช่องทางไลน์ “สบายดีบอต” อีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยลงทะเบียนหาเตียงโควิด-19 ในพื้นที่เขตกรุงเทพและปริมณฑล (พิมพ์@sabaideebot)
ทั้งนี้ การดูแลผู้ป่วยโควิด 19 ยืนยันว่าทุกรายต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel เพราะมีประสิทธิภาพในการรักษาและการควบคุมโรค แม้ขณะนี้ทั่วประเทศจะมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เกิน 1 พันรายต่อวัน แต่คิดว่ายังเพียงพอ จึงยังคงแนวทางนี้ โดยกรรมการวิชาการจะประเมินสถานการณ์เป็นระยะ
ข้อมูลจาก
คำแนะนำ ในการจัดตั้งหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ(Hospitel) ฉบับวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2564 กรมการแพทย์ , เพจเฟซบุ๊กกรมการแพทย์ , คำนิยามของสถานพยาบาลที่ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วย COVID-19 กรมการแพทย์, สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข , สำนักประชาสัมพันธ์และสื่อสารสังคม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, กรุงเทพธุรกิจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง