รีเซต

"Boeing 787" VS "Airbus A350" ศึกเครื่องบินโดยสารระดับโลกที่ “การบินไทย”​ เป็นผู้ชี้ชะตาในปี 2024 นี้ ?

"Boeing 787" VS "Airbus A350" ศึกเครื่องบินโดยสารระดับโลกที่ “การบินไทย”​ เป็นผู้ชี้ชะตาในปี 2024 นี้ ?
TNN ช่อง16
19 กุมภาพันธ์ 2567 ( 13:30 )
91


การบินไทย (Thai Airways) เปิดเผยการจัดซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 787 ดรีมไลน์เนอร์ (Boeing 787 Dreamliner) จำนวน 45 ลำ อย่างเป็นทางการ โดยรายละเอียดนั้นทาง Boeing จะเปิดเผยเพิ่มเติมภายในงาน Singapore Airshow วันที่ 20 กุมภาพันธ์นี้ TNN Tech จึงได้รวบรวมข้อมูลที่สำคัญ เทียบกับคู่แข่งรุ่นสำคัญอย่างแอร์บัส เอ 350 (Airbus A350)


ตารางสรุปสเปกเครื่องบิน Boeing 787 VS Airbus A350

Boeing 787 และ Airbus A350 ต่างมีรุ่นย่อยด้วยกันทั้งหมด 3 รุ่น ซึ่งมีจุดเด่นแตกต่างกันไป ทั้งเรื่องความกว้าง ระยะการบิน เครื่องยนต์ที่ใช้ ปริมาตรถังน้ำมัน และอัตราสิ้นเปลืองที่คิดเป็นจำนวนลิตร ต่อระยะทางบิน 100 กิโลเมตร ต่อผู้โดยสาร ซึ่งเป็นตัวเลขสำคัญสำหรับสายการบิน และราคาขายกลางซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงสำหรับการซื้อขายของแต่ละสายการบิน


787 VS A350

787-8

787-9

787-10

รุ่น

A350-1000

A350-900ULR

A350-900

381

420

440

จำนวนที่นั่งสูงสุด

480

440

56.72 ม.

62.81 ม.

 68.28 ม.

ความกว้าง

73.79 ม.

66.8 ม.

13,620 กม.

14,140 กม.

11,910 กม.

ระยะการบิน

16,100 กม.

17,964 กม.

15,372 กม.

General Electric GEnx-1B Rolls-Royce Trent 1000

เครื่องยนต์

(x2)

Rolls-Royce Trent XWB

สูงสุด: 956 กม./ชม.

ทำการบิน: 903 กม./ชม.

ความเร็ว

สูงสุด: 950 กม./ชม.

ทำการบิน: 903 กม./ชม.

126,206 ลิตร

126,372 ลิตร

ถังน้ำมัน

158,987 ลิตร

166,558 ลิตร

140,817 ลิตร

2.77

2.31

2.27

อัตราสิ้นเปลือง

(ลิตร/100 กม./ที่นั่ง)

2.58

2.39

239.0

281.6

325.8

ราคา

(ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

366.5

317.4


ส่วนแบ่งการตลาด Boeing 787 VS Airbus A350

เครื่องบินลำตัวกว้าง (widebody aircraft) กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นหลังภาวะโรคระบาด COVID-19 ที่ทุเลาลง จนการเดินทางด้วยเครื่องบินสามารถกลับมาทำการบินได้ตามปกติ ทำให้มีความต้องการเดินทางในเส้นทางบินระยะไกล (Long-haul) มากขึ้น ส่งผลให้ทั้ง Boeing 787 และ Airbus A350 มียอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้นตามไปด้วย


ในปัจจุบัน ส่วนแบ่งการตลาดของ Boeing 787 คาดการณ์ไว้ว่าจะมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 31 ตามมาด้วย Airbus A350 ในกลุ่มเครื่องบินลำตัวกว้าง โดยยอดขายและส่งมอบในปี 2023 ที่ผ่านมา Boeing 787 มียอดส่งมอบที่ 73 ลำ ส่วน Airbus 350 อยู่ที่ 64 ลำ ตามรายงานของทั้งสองบริษัท ซึ่งเป็นยอดส่งมอบที่ไม่ต่างกันมากนัก


เบื้องหลังการบินไทยกับ Boeing 787 VS Airbus A350

ด้วยเหตุนี้ การสั่งซื้อ Boeing 787 ของการบินไทย จึงกลายเป็น “ดีล” ครั้งสำคัญของ Boeing และนับเป็นการสูญเสียตลาดของ Airbus เนื่องจากยอดสั่งซื้อในครั้งนี้มีจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของยอดส่งมอบในปี 2023 ที่ผ่านมาของ Boeing ซึ่งเป็นจำนวนที่ค่อนข้างสูงสำหรับคำสั่งซื้อในครั้งเดียวของปีนี้ โดยมีการวิเคราะห์จาก thaiarmedforce สื่อด้านการทหารและการบินชื่อดังของไทย ว่าเบื้องหลังดีลในครั้งนี้เกิดจากปัญหาเรื้อรังระหว่างการบินไทยกับโรลส์-รอยซ์ (Rolls-royce) ผู้ผลิตเครื่องยนต์เครื่องบินชื่อดังจากอังกฤษ ที่ทำให้การบินไทยตัดสินใจเลือก Boeing 787 ในรุ่น (Variant) ที่ใช้เครื่องยนต์จากจีอี (GE: General Electric) แทน 

โดยรายละเอียดเพิ่มเติมของการซื้อขายระหว่างการบินไทยกับ Boeing จะเปิดเผยในงานสิงคโปร์ แอร์โชว์ (Singapore Airshow) ซึ่งนับว่าเป็นงานนิทรรศการการบินที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกตามที่ thaiarmedforce รายงานในวันที่ 20 กุมภาพันธ์นี้ และนับเป็นการเรียกคืนความเชื่อมั่นจากกรณีอุบัติเหตุ Boeing 737 MAX9 ที่ TNN Tech เคยรายงานสรุปไปก่อนหน้านี้ด้วย


ข้อมูลจาก Air GuideAviation WeekWikipedia 


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง