รีเซต

WHO เผยชาวยุโรปราว 60% อาจติดเชื้อโอมิครอนภายในเดือนมี.ค.นี้

WHO เผยชาวยุโรปราว 60% อาจติดเชื้อโอมิครอนภายในเดือนมี.ค.นี้
TNN ช่อง16
24 มกราคม 2565 ( 19:05 )
69
WHO เผยชาวยุโรปราว 60% อาจติดเชื้อโอมิครอนภายในเดือนมี.ค.นี้

ฮานส์ คลูก ผู้อำนวยการประจำภาคพื้นยุโรปขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO เปิดเผยเมื่อวันอาทิตย์ว่า ไวรัสกลายพันธุ์โอมิครอน อาจกำลังเดินหน้าสู่ระยะใหม่ และอาจนำมาสู่การสิ้นสุดการระบาดในยุโรปได้ โดยจากการประเมิน น่าจะมีชาวยุโรปราว 60% ติดเชื้อโอมิครอนภายในเดือนมีนาคมนี้ โดยการระบาดของโอมิครอนที่รุนแรงทั่วยุโรปเวลานี้ อาจทำให้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ หรือไม่กี่เดือนข้างหน้า อาจเกิดภูมิคุ้มกันไปทั่วโลก ซึ่งต้องขอขอบคุณวัคซีน และประชาชนที่มีภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อ รวมถึงตัวเลขที่ลดลงจากฤดูกาลด้วย

ดร.คลูก ระบุว่า โลกของเราจะมีช่วงเวลาสงบ ก่อนที่เชื้อโควิด-19 จะกลับมาได้อีกในช่วงปลายปีนี้ แต่อาจไม่ใช่ในรูปแบบของโรคระบาดเช่นเดิมอีกต่อไป พร้อมเตือนว่า ยังเร็วเกินไปที่จะพิจารณาให้ถึงการสิ้นสุดการระบาดของโควิด-19 เพราะในขณะที่โอมิครอนระบาดอยู่ ไวรัสกลายพันธุ์ตัวอื่นก็ยังคงสามารถเกิดขึ้นมาได้เสมอ 

ส่วนประเด็นที่มีการพดคุยกันมากเกี่ยวกับ "โรคประจำถิ่น" (endamic) แต่มันยังไม่ถึงเวลาที่จะคิดเช่นนั้น เพราะไวรัสทำให้เราเซอร์ไพรส์อยู่ตลอดเวลา จึงยังเรียกร้องให้ประชาชนดูแลตัวเองอย่างดีในทุกช่วงเวลา ย้ำว่าหากคุณรู้สึกไม่สบาย จงอยู่กับบ้าน และตรวจเชื้อด้วยตนเอง และหากพบว่าติดเชื้อ ก็ควรรีบแยกกักตัวในทันที

ด้านดร.แอนโธนี เฟาซี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำทำเนียบขาวเองก็แสดงทัศนะในลักษณะใกล้เคียงกันเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยระบุว่า โควิด-19 กำลังลดลงในบางส่วนของสหรัฐฯ และเป็นไปในทิศทางที่ค่อนข้างดี แม้จะมีคำเตือนว่าอย่ามั่นใจในสถานการณ์มากจนเกินไปก็ตาม 

ขณะที่ WHO ภาคพื้นแอฟริกา ก็เปิดเผยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้ลดจำนวนลงในภูมิภาค ส่วนผู้เสียชีวิตก็ลดน้อยลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่โอมิครอนกลายเป็นสายพันธุ์หลักของการระบาดรอบที่ 4

ด้านดร.เฟรด บินกา นักระบาดวิทยาชาวกานา ระบุว่า ไวรัสโอมิครอนถือว่าเป้นข่าวดี และจากสถานการณ์ตอนนี้ ก็ดุเหมือนโรคระบาดเข้าใกล้จุดยุติแล้ว ตอนนี้ไวรัสได้ก่อตัวขึ้น และมันก็จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นและอยู่ที่นี่ตลอดไป  และคาดว่าโควิด-19 ก็จะกลายเป็นโรคทั่วไปที่เราอยู่ร่วมและรักษามันได้ 

แต่อย่างไรก็ตาม แม้เหล่านักวิทยาศาสตร์จะมองในแง่ดี แต่มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยพิตสเบิร์ก ที่เพิ่งได้รับการตีพิมพ์ พบว่า เด็ก ๆ ในแถบซับ-ซาฮารา ของอฟริกา ยังมีอัตราเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลสูง และพบว่าเสียชีวิต ในอัตราที่สูงกว่าแถบสหรัฐฯและยุโรปเสียอีก

งานวิจัยพบว่า เด็ก ๆ ในทุกช่วงวัยที่มีโรคประจำตัว รวมถึงโรคความดันโลหิตสูง, โรคปอดเรื้อรัง, โรคเลือด และมะเร็ง มีความเสี่ยงในการเสียชีวิตสูง 

ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวยังคงเกิดขึ้นในประเทสแถบแอฟริกา จึงเรียกร้องให้มีการฉีดวัคซีน และการรักษาที่ดีขึ้นสำหรับเด็ก ๆ ทั่วทั้งทวีป  


ภาพจาก รอยเตอร์



ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง