จับตาหุ้น กลุ่มแบงก์ โบรกฯชู BBL – KKP มีเซอร์ไพรส์ !
บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จับตาหุ้นกลุ่มแบงก์ ระบุว่า ฝ่ายวิจัยเลือก BBL เป็นหุ้นเด่นในกลุ่มแบงก์สำหรับเก็งกำไรผลประกอบการไตรมาส 1/66 ซึ่งคาดว่าจะมีเซอร์ไพรส์เชิงบวกจากการตั้งสำรองหนี้สูญจำนวนมากและ NIM ที่เพิ่มขึ้น
ฝ่ายวิจัยประเมินกำไรปี 66 ของกลุ่มธนาคารจะเติบโต 12% YoY จากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวและแนวโน้มเชิงบวกจากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น คาดว่า NIM จะลดลง QoQ จากค่าธรรมเนียมFIDF ที่สูงขึ้นใน Q1/66 และฟื้นตัวใน Q2-Q4/66
นอกจากนี้ฝ่ายวิจัยยังชอบ KKP ที่มีรายได้เติบโตแข็งแกร่งและราคาหุ้นน่าสนใจจังหวะที่ราคาหุ้นร่วงจากความกังวลประเด็นคุณภาพ สินทรัพย์ถือเป็นโอกาสสะสมเพิ่ม
คาดกำไร Q1/66 ของทั้งกลุ่มฟื้นตัว 33% QoQ
ฝ่ายวิจัยคาดว่ากำไรรวม Q1/66 ของกลุ่มธนาคารจะอยู่ที่ 4.37 หมื่นล้านบาท ลดลง 1% YoY (จาก NII และต้นทุนสินเชื่อที่สูงขึ้น) แต่เพิ่มขึ้น 33% QoQ (เนื่องจากต้นทุนสินเชื่อและopex ที่ลดลง) ฝ่ายวิจัยประเมิน TTB และ BBL มีแนวโน้มที่จะรายงานกำไรสุทธิไตรมาส 1 เติบโตอย่าง แข็งแกร่งที่ 19% และ 15% YoY ตามลำดับ เนื่องจาก NII เติบโตอย่างแข็งแกร่งในแง่ของQoQ กำไรของ KBANK และ KKP น่าจะฟื้นตัวแรงจากต้นทุนสินเชื่อที่ลดลงของ KBANK ขณะที่ KKP ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม สินเชื่อมีแนวโน้มทรงตัว QoQ ขณะที่ NIM มีแนวโน้ม ลดลง QoQ เนื่องจากค่าธรรมเนียม FIDF ที่สูงขึ้นใน Q1/66 ขณะเดียวกัน Non-NII น่าจะยังคงอ่อนแอตามการเติบโตของสินเชื่อและกิจกรรมในตลาดทุนที่ชะลอตัว โดยรวมแล้ว PPoP มีแนวโน้มเติบโต 7% YoY นำโดย BBL (+22% YoY จากการเติบโตของรายได้ที่แข็งแกร่ง)
สินเชื่อด้อยคุณภาพและต้นทุนสินเชื่อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพของทั้งกลุ่มคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 7bps QoQ เป็น 3.74% ในขณะที่ต้นทุนสินเชื่อน่าจะยังคงเพิ่มขึ้นที่ 1.4% ใน Q1/66 จาก 1.2% ใน Q1/65 โดยคุณภาพสินทรัพย์ที่อ่อนแอน่าจะมาจากสินเชื่อ SME และรายย่อยในขณะที่สินเชื่อธุรกิจยังคง แข็งแกร่ง โดยรวมแล้วคาดว่าต้นทุนสินเชื่อจะเพิ่มขึ้น YoY ใน 1H66 และค่อยๆ ลดลงใน 2H66 ฝ่ายวิจัยคาดการณ์ว่าธนาคารทุกแห่งจะรายงานต้นทุนสินเชื่อสำหรับปี2566 ที่ลดลง YoY ยกเว้น KTB และ SCB
คาด NIM ดีขึ้นหนุนกำไรฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาส 2/66 เป็นต้นไป
NIM ของกลุ่มธนาคารมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย QoQ ใน Q1/66 แต่มองว่า NIM จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นตั้งแต่ Q2-Q4/66 เนื่องจากผลตอบแทนสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
ทั้งนี้ ต้นทุนสินเชื่อที่ลดลงจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจน่าจะเป็นอีกปัจจัยหนุนการเติบโต ของกำไรในปีนี้กล่าวโดยสรุป คาดว่ากำไรของกลุ่มธนาคารจะเติบโต 12% และ9% YoY ในปี66-67 โดยคาดว่า BBL จะมีผลประกอบการปี66 เติบโตสูงสุด 20% ตามด้วย KBANK ที่19%