รีเซต

กอนช.เตือนภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำหลาก ดินถล่ม น้ำล้นตลิ่ง วันที่ 23-25 พ.ย.

กอนช.เตือนภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำหลาก ดินถล่ม น้ำล้นตลิ่ง วันที่ 23-25 พ.ย.
TNN ช่อง16
20 พฤศจิกายน 2564 ( 09:40 )
73
กอนช.เตือนภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำหลาก ดินถล่ม น้ำล้นตลิ่ง วันที่ 23-25 พ.ย.

วันนี้ (20 พ.ย.64) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่ภาคใต้ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยว่า ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์สภาพอากาศ ในช่วงวันที่ 22 - 24  พฤศจิกายน 2564 อิทธิพลของลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้นตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้นั้น

 

ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่ภาคใต้ ได้ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์ (ONE MAP) ของกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และข้อมูลฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ รวมทั้งพื้นที่เคยเกิดน้ำหลากและน้ำล้นตลิ่งในช่วงที่ผ่านมา พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวัง ในช่วงวันที่ 23 - 25 พฤศจิกายน 2564 ดังนี้

 

1. เฝ้าระวังน้ำหลาก ดินถล่ม บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง ตรัง และสตูล

 

2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 80% และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำในภาคใต้ บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ ระนอง ภูเก็ต และตรัง

 

3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณคลองบางสะพาน คลองบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คลองท่าตะเภา คลองชุมพร อำเภอเมือง คลองสวี อำเภอสวี คลองหลังสวน อำเภอหลังสวน แม่น้ำตาปี อำเภอพระแสง อำเภอพุนพิน และอำเภอเมือง คลองท่าชนะ อำเภอท่าชนะ คลองไชยา อำเภอไชยา คลองกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี บริเวณคลองท่าดี อำเภอลานสกา อำเภอพระพรหม และอำเภอเมือง คลองกลาย อำเภอนบพิตำ อำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช แม่น้ำตรัง อำเภอวังวิเศษ คลองนาน้อย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง คลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง ทะเลสาบสงขลา อำเภอสิงหนคร และคลองอู่ตะเภา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

 

 

ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

 

1. ติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ ทั้งนี้ หากในพื้นที่เกิดสถานการณ์น้ำหลาก ขอให้แจ้งข้อมูลกลับในกลุ่มไลน์เครือข่ายศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อจะได้ดำเนินการเข้าไปให้ความช่วยเหลือต่อไป

 

2. ปรับแผนบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 80% หรือเกณฑ์ควบคุมสูงสุด (Upper Rule Curve) ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ พร้อมพิจารณาบริหารจัดการเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำและเร่งระบายน้ำในลำน้ำ แม่น้ำ ให้สอดคล้องกับการขึ้น - ลงของระดับน้ำทะเล รวมทั้งใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นแก้มลิงหน่วงน้ำและรองรับน้ำหลาก

 

3. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที

 

4. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์

 

ภาพจาก ผู้สื่อข่าว จ.ตรัง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง