รีเซต

หน่วยงานอุตุฯ ชี้ปีนี้ 'ก๊าซเรือนกระจก' จะสูงทะลุเพดานสำคัญ

หน่วยงานอุตุฯ ชี้ปีนี้ 'ก๊าซเรือนกระจก' จะสูงทะลุเพดานสำคัญ
Xinhua
12 มกราคม 2564 ( 19:30 )
115
หน่วยงานอุตุฯ ชี้ปีนี้ 'ก๊าซเรือนกระจก' จะสูงทะลุเพดานสำคัญ

ลอนดอน, 12 ม.ค. (ซินหัว) -- เมื่อวันศุกร์ (8 ม.ค.) สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งสหราชอาณาจักร (British Met Office) รายงานการคาดการณ์ประจำปีระบุว่า ในปี 2021 นี้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศจะสูงกว่าระดับก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมถึงร้อยละ 50 เนื่องจากการกระทำต่างๆ ของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดมลพิษ

 

รายงานระบุว่าการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลและการตัดไม้ทำลายป่าคือสิ่งที่ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์นี้จะน้อยกว่าปกติเล็กน้อย เนื่องจากแหล่งเก็บกักคาร์บอนตามธรรมชาตินั้นมีมากขึ้น และเป็นที่คาดว่าสภาพอากาศรูปแบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปรากฎการณ์ลานีญา (La Nina) ในปัจจุบัน จะช่วยทำให้ป่าเขตร้อนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งป่าเหล่านี้จะช่วยดูดซับมลพิษจากมนุษย์ได้บางส่วนทว่าแม้ปรากฎการณ์ลานีญาจะก่อให้เกิดผลข้างต้น แต่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็จะยังคงสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศอย่างต่อเนื่อง และจะเกิน 417 พีพีเอ็ม (ppm) อยู่นานหลายสัปดาห์ระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ปี 2021 ซึ่งเป็นปริมาณที่ สูงกว่าช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ที่กิจกรรมอุตสาหกรรมเริ่มแพร่หลาย ซึ่งอยู่ที่ 278 พีพีเอ็ม อยู่ถึงร้อยละ 50"ศาสตราจารย์ริชาร์ด เบตต์ส (Richard Betts) ผู้นำฝ่ายการผลิตของสำนักงานฯ กล่าว "แม้การระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 จะทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกน้อยลงร้อยละ 7 ในปี 2020 เมื่อเทียบกับปีก่อนๆ ทว่าปริมาณสะสมของก๊าซในชั้นบรรยากาศกลับยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง"ศาสตราจารย์กล่าว "การสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศอันเกิดจากการกระทำของมนุษย์กำลังเร่งความเร็วมากขึ้น จากเดิมที่เคยใช้เวลากว่า 200 ปีในการเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 25 แต่ปัจจุบันนี้กลับใช้เวลาเพียง 30 กว่าปีเท่านั้นในการเพิ่มขึ้นจนเฉียดร้อยละ 50 ""การจะพลิกเปลี่ยนแนวโน้มนี้ และชะลอปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นในชั้นบรรยากาศ จำเป็นต้องพึ่งพาการลดการปล่อยก๊าซในทั่วโลก และการจะหยุดยั้งการปล่อยก๊าซได้นั้น จำเป็นต้องทำให้ทั่วโลกปล่อยก๊าซเป็นศูนย์ ซึ่งจำเป็นต้องเกิดขึ้นภายในอีก 30 ปีข้างหน้า หากเราต้องการจะจำกัดอุณหภูมิโลกร้อนไม่ให้เพิ่มมากไปกว่า 1.5 องศาเซลเซียส" ศาสตราจารย์กล่าวเสริมอนึ่ง ปรากฏการณ์ลานีญาเป็นหนึ่งในรูปแบบสภาพอากาศที่เรียกกันว่า "เอลนีโญ-ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้" (El Nino Southern Oscillation) ซึ่งเป็นคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ที่อธิบายการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่ผันแปรระหว่างมหาสมุทรและบรรยากาศในแถบอิเควทอเรียลแปซิฟิก โดยลานีญาใช้เรียกสภาวะที่เย็น ขณะที่เอลนีโญใช้เรียกสภาวะที่ร้อนประชาคมระหว่างประเทศ ซึ่งมีทั้งกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ต่างตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยในปี 2021 นี้ จีนและสหราชอาณาจักรจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งที่ 15 ของการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (COP15) และการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 (COP26) ตามลำดับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง