รีเซต

ปิดประเทศ ช่วยยื้อเวลาสกัด "โอไมครอน" ผู้เชี่ยวชาญแนะวิธีสกัดเดลตา ยังใช้ได้ผล

ปิดประเทศ ช่วยยื้อเวลาสกัด "โอไมครอน" ผู้เชี่ยวชาญแนะวิธีสกัดเดลตา ยังใช้ได้ผล
TNN Health
7 ธันวาคม 2564 ( 12:51 )
52

ดร.ทาเคชิ คาไซ ผู้อำนวยการภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization in the Western Pacific) กล่าวผ่านการแถลงข่าวผ่านระบบ Virtual ว่า การปิดชายแดนที่บางประเทศนำมาใช้อยู่ในตอนนี้ อาจช่วยซื้อเวลาในการจัดการกับเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ได้ แต่มาตรการที่วางไว้และประสบการณ์การรับมือกับสายพันธุ์เดลตา ที่ประเทศต่างๆ เคยทำมา ควรยังคงเป็นมาตรการหลักที่สำคัญสำหรับต่อสู้กับโรคระบาด


“ทุกประเทศต้องเตรียมพร้อมสำหรับตัวเลขผู้ติดเชื้อที่กำลังเพิ่มขึ้น” ดร.คาไซกล่าว "จากข่าวต่างๆ ที่เราได้ทราบเกี่ยวกับโอไมครอน ไม่มีข้อมูลใดในขณะนี้ บ่งบอกว่าเราจำเป็นต้องเปลี่ยนทิศทางและวิธีการในการสกัดไวรัสกลายพันธุ์"


ยังมีข้อมูลอีกมากมายที่เรายังไม่ทราบเกี่ยวกับ โอไมครอน รวมถึงมันจะแพร่ระบาดไปมากกว่าสายพันธุ์เดลตา หรือ ว่ามันจะลดประสิทธิภาพของวัคซีนลงหรือไม่


จนถึงตอนนี้ มีประเทศและภูมิภาคในแปซิฟิกตะวันตก ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ที่รายงานว่ามีผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนแล้ว และมีแนวโน้มที่จะพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทั่วโลกด้วย


“สิ่งที่ประเทศต่างๆ ควรทำในตอนนี้ ประสบการณ์ของเราในช่วง2-3ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีที่เคยใช้กับเดลต้า ทำให้เรารู้ว่าจำเป็นต้องทำอะไร ตลอดจนวิธีรับมือกับการระบาดระลอกต่อไปที่จะพุ่งสูงขึ้นอย่างยั่งยืนมากขึ้น"


นั่นรวมถึงการป้องกันไวรัสด้วยการฉีดวัคซีนเต็มรูปแบบ การเว้นระยะห่างทางสังคม การสวมหน้ากากอนามัย และมาตรการอื่นๆ จากนั้นจะสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับแต่ละประเทศ


“แม้จะมีแนวโน้มเชิงบวกในการจัดการกับโรคระบาดในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งประชากรส่วนใหญ่มาจากอัตราการฉีดวัคซีนที่สูง แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ”


จากสถิติผู้ติดเชื้อทั่วโลก พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นเวลา 7 สัปดาห์ติดต่อกัน และจำนวนผู้เสียชีวิตก็เริ่มเพิ่มขึ้นอีกครั้งเช่นกัน โดยส่วนใหญ่มาจากสายพันธุ์เดลต้าระบาดเพิ่มขึ้นและลดการใช้มาตรการป้องกัน 


นอกจากนี้ ฤดูหนาวจะนำโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ควบคู่ไปกับโควิด-19 ด้วย


“เป็นที่ชัดเจนว่าการระบาดใหญ่นี้ยังไม่จบ และผู้คนต่างกังวลเกี่ยวกับโอไมครอน” ดร.คาไซกล่าว


“แต่ที่ผมอยากบอกในวันนี้คือ เราสามารถปรับเปลี่ยนวิธีที่เราจัดการกับไวรัสนี้ เพื่อให้รับมือกับการระบาดระลอกใหม่ในอนาคตได้ดีขึ้น และลดผลกระทบด้านสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจของไวรัสได้” 


ที่มา: World Health Organization in the Western Pacific

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง