รีเซต

รวมเรื่องน่ารู้ของ “BioFiber Concrete” คอนกรีตซ่อมแซมตัวเองได้

รวมเรื่องน่ารู้ของ “BioFiber Concrete”  คอนกรีตซ่อมแซมตัวเองได้
TNN ช่อง16
7 ธันวาคม 2566 ( 16:35 )
77


มหาวิทยาลัย Drexel University สหรัฐอเมริกาได้เปิดตัว “BioFiber Concrete” หรือคอนกรีตผสมแบคทีเรีย ที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ โดยเมื่อตัวคอนกรีตเกิดรอยแตกขึ้น มันจะสามารถซ่อมแซมตัวเอง โดยใช้เวลาฟื้นฟูให้กลับมาเหมือนเดิมได้ใน 1 - 2 วัน


BioFiber Concrete เป็นคอนกรีตที่สร้างขึ้นจากการเลียบแบบผิวหนังของมนุษย์ที่ มีโครงสร้างเส้นใยหลายชั้นผสมกับเลือด ทำให้ตัวผิวสามารถฟื้นฟูตัวเองได้ 


ตัวคอนกรีตของ BioFiber Concrete ถูกสร้างขึ้นโดยการผสมเข้ากับเส้นใยโพลิเมอร์ BioFiber ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มความแข็งแรงให้กับตัวคอนกรีต และมีความสามารถในการฟื้นฟู เคลือบด้วย Hydrogel สารคล้ายเจลที่สามารถกักเก็บน้ำและความยืดหยุ่น ซึ่งภายในยังได้ใส่ Endospores แบคทีเรียชนิดที่อยู่ในภาวะสงบนิ่ง สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่มีความผันผวนสูง และไม่เอื้อต่อการเติบโต เมื่อสภาพแวดล้อมเริ่มกลับสู่สภาพปกติ จะสามารถฟื้นฟูตัวเองกลับมาได้


เมื่อเกิดรอยแตก แล้วมีน้ำซึมเข้าไปถึง BioFiber สาร Hydrogel จะเกิดการขยายตัวจนหลุดออกจากเปลือก ผลักตัวเองขึ้นมายังพื้นผิว หลังจากนั้น แบคทีเรีย Endospores ที่อยู่ภายในจะตื่นขึ้นมา และเริ่มกินคาร์บอนและแคลเซียมจากคอนกรีตรอบ ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการผลิตวัสดุเชื่อมประสานที่ชื่อแคลเซียมคาร์บอเนต มาอุดรอยแตกนั้น

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง