รีเซต

วิจัยคาด 'ยาโรคซึมเศร้า' อาจป้องกันภาวะแทรกซ้อนใน 'ผู้ป่วยโควิด-19'

วิจัยคาด 'ยาโรคซึมเศร้า' อาจป้องกันภาวะแทรกซ้อนใน 'ผู้ป่วยโควิด-19'
Xinhua
14 พฤศจิกายน 2563 ( 11:45 )
79
วิจัยคาด 'ยาโรคซึมเศร้า' อาจป้องกันภาวะแทรกซ้อนใน 'ผู้ป่วยโควิด-19'

ชิคาโก, 13 พ.ย. (ซินหัว) -- การศึกษาเบื้องต้นของคณะนักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ในเมืองเซนต์หลุยส์ของสหรัฐฯ พบว่าฟลูวอกซามีน (fluvoxamine) ซึ่งเป็นยารักษาโรคซึมเศร้า อาจป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) รวมถึงลดทอนแนวโน้มการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและความต้องการออกซิเจนเสริมการวิจัยเชิงนวัตกรรมในช่วงการระบาดใหญ่ ซึ่งครอบคลุมผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SAR-CoV-2) จำนวน 152 ราย ถูกจัดทำจากระยะไกล

 

โดยเมื่อผู้ป่วยที่มีผลตรวจโรคเป็นบวกลงทะเบียนเข้าร่วมการวิจัย เจ้าหน้าที่จะจัดส่งยาฟลูวอกซามีนหรือยาหลอกที่เป็นน้ำตาลให้พวกเขา พร้อมที่วัดอุณหภูมิร่างกาย เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วอาสาสมัครใช้ยาต้านอาการซึมเศร้าหรือยาหลอกน้ำตาลเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ และพูดคุยกับสมาชิกทีมวิจัยทุกวันผ่านทางโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ป่วยสามารถรายงานอาการ ระดับออกซิเจน และสัญญาณชีพอื่นๆ และหากผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบาก เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคปอดอักเสบ หรือมีระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนลดลงต่ำกว่าร้อยละ 92 นั่นหมายความว่าอาการของพวกเขาย่ำแย่ลงรายงานระบุว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาฟลูวอกซามีน 80 ราย ไม่มีผู้ใดอาการทรุดลงรุนแรงหลังผ่านไป 15 วัน ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอก 72 ราย พบ 6 รายหรือร้อยละ 8.3 มีอาการป่วยขั้นรุนแรง โดยผู้ป่วย 4 รายจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

 

"การทำงานของฟลูวอกซามีนที่อาจช่วยเหลือผู้ป่วยโรคโควิด-19 นั้นมีหลายวิธี แต่เราคิดว่าอาจเกิดจากการที่ยามีปฏิกิริยากับตัวรับซิกมา-1 (sigma-1) และลดทอนการผลิตโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ" แอนเจลา เอ็ม ไรเออร์เซน ผู้เขียนอาวุโสของงานวิจัยและรองศาสตราจารย์ด้านจิตเวชกล่าว "การวิจัยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าฟลูวอกซามีนสามารถลดการอักเสบเมื่อเกิดภาวะติดเชื้อในสัตว์ และตัวยานี้อาจส่งผลคล้ายคลึงกันในผู้ป่วยของเรา"ไรเออร์เซนระบุว่าประสิทธิผลของยาต่อการอักเสบอาจป้องกันระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจากการตอบสนองมากเกินไป ซึ่งคาดว่าภาวะนี้เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคโควิด-19 บางรายที่ดูเหมือนอาการดีขึ้นหลังจากป่วยเพียงไม่กี่วัน ก่อนที่อาการจะทรุดลงอีกครั้ง ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวจำนวนมากต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล

 

ขณะที่บางรายถึงขั้นเสียชีวิตทั้งนี้ คณะนักวิจัยจะดำเนินการศึกษาขนาดใหญ่ขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า โดยใช้โทรศัพท์มือถือและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้าช่วย เพื่อทำการทดลองทางคลินิกทั่วสหรัฐฯฟลูวอกซามีนมักถูกใช้ในการรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) โรคกลัวการเข้าสังคม และโรคซึมเศร้า โดยจัดอยู่ในกลุ่มยาที่เรียกว่ายาต้านเศร้าเอสเอสอาร์ไอ (SSRIs) แต่ฟลูวอกซามีนจะแตกต่างจากยาเอสเอสอาร์ไอตัวอื่นตรงที่มีปฏิกิริยารุนแรงกับโปรตีนที่มีชื่อว่าตัวรับซิกมา-1 ซึ่งมีหน้าที่ช่วยควบคุมการตอบสนองต่อการอักเสบของร่างกายด้วยอนึ่ง งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ออนไลน์ในวารสารสมาคมการแพทย์อเมริกัน (JAMA) เมื่อวันพฤหัสบดี (12 พ.ย.)

 

รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม

สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง