รีเซต

โดรน SolarXOne บินอัตโนมัติต่อเนื่อง 12 ชั่วโมงด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

โดรน SolarXOne บินอัตโนมัติต่อเนื่อง 12 ชั่วโมงด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
TNN ช่อง16
13 ตุลาคม 2564 ( 00:21 )
174
โดรน SolarXOne บินอัตโนมัติต่อเนื่อง 12 ชั่วโมงด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

โดรน SolarXOne เทคโนโลยีการบินรูปแบบใหม่ล่าสุดใช้พลังงานไฟฟ้าผลิตจากแสงอาทิตย์หนึ่งในพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่บนโลกมากที่สุด ผลงานการพัฒนาของบริษัท XSun บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ที่ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีการบินโดยใช้พลังงานสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดรน SolarXOne ถูกออกแบบให้สามารถบินด้วยระบบการบินอัตโนมัติ (Autonomous Flying Machines) ตัดสินใจการบินด้วยตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องใช้มนุษย์ควบคุมจากระยะไกล


การออกแบบโดรน SolarXOne เป็นไปตามหลักอากาศพลศาสตร์ลักษณะภายนอกคล้ายกับอากาศยาน UAV (Unmanned Aerial Vehicle) ปกติทั่วไป โครงสร้างของโดรนผลิตจากวัสดุน้ำเบาแต่มีความแข็งแรงทนทานสูง วงปีกกว้าง 4.5 เมตร แยกเป็นปีกด้านหน้าและด้านหลังพร้อมติดตั้งเเผงโซล่าเซลล์ไว้ด้านบนของปีกเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจ่ายให้กับแบตเตอรี่ที่ถูกจัดเรียงไว้บริเวณตอนกลางของลำตัวโดรน ระบบขับเคลื่อนใช้มอเตอร์ไฟฟ้าหมุนใบพัดจำนวน 2 ชุด โดรนมีน้ำหนักทั้งหมดประมาณ 25 กิโลกรัม สามารถบินได้นานต่อเนื่อง 12 ชั่วโมงโดยไม่จำเป็นต้องลงจอดเพื่อชาร์จพลังงานไฟฟ้า


จุดเด่นของโดรน SolarXOne มีความคล่องตัวสูงสามารถบินขึ้นโดยใช้เครื่องปล่อยลักษณะคล้ายเครื่องดีดขนาดใหญ่โดยไม่จำเป็นต้องใช้สนามบินที่กว้างเพื่อการส่งโดรนบินขึ้นสู่ท้องฟ้า เนื่องจากระบบขับเคลื่อนของโดรนรุ่นนี้ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าทำให้เกิดเสียงรบกวนขณะบินอยู่บนท้องฟ้าน้อยกว่าการใช้โดรนบินที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์พลังงานน้ำมัน เสียงรบกวนเป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้การใช้โดรนบินพลังงานน้ำมันภายในตัวเมืองประสบปัญหาเนื่องจากโดรนจะสร้างเสียงดังเหนือท้องฟ้า


ทคโนโลยีทันสมัยต่าง ๆ ได้รับการติดตั้งเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบินและทำภารกิจต่าง ๆ เช่น กล้องถ่ายภาพความร้อนบนพื้นดิน เทคโนโลยี LIDAR การใช้แสงเลเซอร์ทำแผนที่ รองรับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อส่งข้อมูลกลับมายังภาคพื้นดิน รวมไปถึงความสามารถในการบินด้วยระบบอัตโนมัติตัดสินใจการบินด้วยตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องใช้มนุษย์เหมาะสำหรับทำภารกิจเพื่อการสำรวจเก็บข้อมูลความละเอียดสูง เช่น สภาพภูมิประเทศ ป่าไม้ขนาดใหญ่ พื้นที่ประสบภัยพิบัติ 



ข้อมูลจาก  therobotreport.com , dronedj.com 

ภาพจาก  xsun  

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง