เช็กให้ชัวร์! คุณเป็นผู้ประกันตนประเภทไหน
“ประกันสังคม” คือการสร้างหลักประกันในการใช้ชีวิตให้แก่สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ และว่างงาน โดยประเทศไทยนำระบบประกันสังคมมาใช้เพื่อให้หลักประกันชีวิตแก่ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ แล้วใครบ้างที่มีสิทธิสมัครเข้ากองทุนเพื่อเป็นผู้ประกันตน
ผู้ประกันตนมี 3 ประเภท ดังนี้
1. ผู้ประกันตนมาตรา 33
2. ผู้ประกันตนมาตรา 39
3. ผู้ประกันตนมาตรา 40
ภาพจาก : Facebook สำนักงานประกันสังคม
1. ผู้ประกันตน มาตรา 33
ผู้ประกันตนมาตรา 33 คือลูกจ้างที่ทำงานให้กับนายจ้างในบริษัทต่าง ๆ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดยผู้ประกันตนมาตรา 33 มีสิทธิประโยชน์คุ้มครอง 7 กรณี
1. กรณีเจ็บป่วย
2. กรณีคลอดบุตร
3. กรณีทุพพลภาพ
4. กรณีเสียชีวิต
5. กรณีสงเคราะห์บุตร
6. กรณีชราภาพ
7. กรณีว่างงาน
ภาพจาก : Facebook สำนักงานประกันสังคม
2. ผู้ประกันตน มาตรา 39
ผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ ซึ่งเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และจ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนแล้วลาออก แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมอยู่ โดยผู้ประกันตนมาตรา 39 มีสิทธิประโยชน์คุ้มครอง 6 กรณี
1. กรณีเจ็บป่วย
2. กรณีคลอดบุตร
3. กรณีทุพพลภาพ
4. กรณีเสียชีวิต
5. กรณีสงเคราะห์บุตร
6. กรณีชราภาพ
คุณสมบัติของผู้สมัคร ผู้ประกันตนมาตรา 39
ผู้มีคุณสมบัติในการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 จะต้องเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานแล้วไม่เกิน 6 เดือน โดยนับตั้งแต่วันแรกที่ออกจากงาน และต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากประกันสังคม
หลักฐานการสมัคร ผู้ประกันตนมาตรา 39
1. แบบคำขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-20)
2. เงินสมทบที่ต้องนำส่งประกันสังคมเดือนละ 432 บาท
ช่องทางการชำระเงินสมทบ ผู้ประกันตนมาตรา 39
1. ชำระเงิน ณ สำนักงานประกันสังคมทุกเขตใกล้บ้าน
2. หักเงินฝากผ่านบัญชีธนาคาร
3. จ่ายผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร
4. จ่ายผ่านเคาน์เตอร์หน่วยบริการ
ภาพจาก : Facebook สำนักงานประกันสังคม
3. ผู้ประกันตนมาตรา 40
ผู้ประกันตนมาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระหรือแรงงานนอกระบบที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยผู้ประกันตนมาตรา 40 มีสิทธิประโยชน์คุ้มครอง 5 กรณี
1. กรณีเจ็บป่วย
2. กรณีทุพพลภาพ
3. กรณีเสียชีวิต
4. กรณีสงเคราะห์บุตร
5. กรณีชราภาพ
ผู้ประกันตนมาตรา 40 ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. มีสัญชาติไทย
2. เป็นชนกลุ่มน้อยซึ่งอพยพเข้ามาอาศัยในประเทศไทย โดยผ่อนผันให้อาศัยในประเทศไทยได้ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ มีบัตรประจำตัวที่เลขประจำตัวแรกขึ้นต้นด้วย 6 หรือ 7
3. เป็นบุคคลไม่มีสัญชาติไทยและได้รับการผ่อนผันให้อยู่อาศัยในประเทศไทยชั่นคราวเพื่อรอส่งตัวกลับ โดยเลขประจำตัวหลักแรกจะเป็นเลข 0
4. อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี
5. ไม่เป็นผู้ประกันตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39
6. ไม่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการท้องถิ่น หรือไม่เป็นสมาชิกกองทุนของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นที่มีลักษณะเดียวกับกองทุนบำเหน็จบำนาญ
7. หากเป็นบุคคลพิการให้ระบุลักษณะของอาการพิการโดยละเอียด ยกเว้นผ้พิการทางสติปัญญาและผู้พิการที่ไม่อาจรับรู้สิทธิจะไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้
หลักฐานการสมัคร ผู้ประกันตนมาตรา 40
1. แบบคำขอสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 สปส.1-40
2. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
ช่องทางการสมัคร ผู้ประกันตนมาตรา 40
1. สำนักงานประกันสังคมทุกเขตใกล้บ้าน
2. สมัครผ่านระบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th
3. สมัครผ่านหน่วยบริการรับสมัครผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่ได้ตกลงทำร่วมกับสำนักงานประกันสังคม
ช่องทางการชำระเงินสมทบ ผู้ประกันตนมาตรา 40
1. ชำระเงิน ณ สำนักงานประกันสังคมทุกเขตใกล้บ้าน
2. หักเงินฝากผ่านบัญชีธนาคาร
3. จ่ายผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร
4. จ่ายผ่านเคาน์เตอร์หน่วยบริการ
ผู้ประกันตนมาตรา 40 มีสิทธิแบ่งเป็น 3 รูปแบบตามยอดเงินสมทบที่จ่าย ดังนี้
1.จ่ายเงินเดือนละ 70 บาท/เดือน
2. จ่ายเงินเดือนละ 100 บาท/เดือน
3. จ่ายเงินเดือนละ 300 บาท/เดือน
นอกจากต้องเช็กรายละเอียดเรื่องคุณสมบัติการเป็นผู้ประกันตนตามมาตราต่าง ๆ แล้ว อย่าลืมข้อมูลพื้นฐานของประกันสังคมกันที่เราควรรู้กันด้วยนะคะ >> ทำความรู้จักประกันสังคม
ที่มาข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม https://www.sso.go.th/
ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม,AFP