รีเซต

EMPOWERING THAILAND: เพิ่มขีดความสามารถด้วยเทคโนโลยี เพื่อการแข่งขันระดับโลก

EMPOWERING THAILAND: เพิ่มขีดความสามารถด้วยเทคโนโลยี เพื่อการแข่งขันระดับโลก
TNN ช่อง16
19 พฤศจิกายน 2567 ( 15:43 )
11
EMPOWERING THAILAND: เพิ่มขีดความสามารถด้วยเทคโนโลยี เพื่อการแข่งขันระดับโลก

TNN จัดสัมมนาส่งท้ายปลายปีในหัวข้อ “EMPOWERING THAILAND ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 2568" ซึ่งจัดขึ้นในวันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ณ พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน โดยในช่วงหัวข้อ "การเพิ่มขีดความสามารถด้วยเทคโนโลยี เพื่อการแข่งขันระดับโลก" มีแขกรับเชิญผู้เชี่ยวชาญ 


บทบาทหน้าที่ โอกาสของประเทศไทย และการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ผลักดันธุรกิจ

ดร.ศูภกร สิทธิไชย ให้ความเห็นว่าคนไทยเป็นคนที่มีความตื่นตัวสูงกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยเฉพาะการมาถึงของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI แต่คำถามสำคัญ คือ ปัญญาประดิษฐ์ AI ถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางธุรกิจและการดำเนินชีวิตมากน้อยแค่ไหน


ในส่วนของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) มองว่าเทคโนโลยีมีผลกระทบต่อวิถีชีวิต เศรษฐกิจและสังคม โดยมีการผ่านร่างพระราชบัญญัติ การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ทำให้เกิดการจัดตั้งสำนักงานส่งสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) โดยมีหน้าที่หลักประกอบด้วย


  1. 1. การสนับสนุนรัฐบาลเพื่อสงเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและดิจิทัล
  2. 2. การส่งเสริมให้เกิดการ Transform ในองค์กรต่าง ๆ หรือในเมือง เช่น แนวคิดของ Smartcity แนวคิดของเมืองสมัยใหม่
  3. 3. การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในโรงงานต่าง ๆ


ดร.ปรัชญ์ เหตระกูล Marketing Science Partner จาก Meta มองว่าคนไทยใช้งานโซเชียลมีเดียเก่งมาก และมีจำนวนการใช้งานโซเชียลมีเดียติดอันดับต้น ๆ ของโลก สำหรับหน้าที่ของบริษัท Meta คือการทำให้นักการตลาดใช้เงินลงทุนด้านการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบและวัดมูลค่าทางเศรษฐกิจ


แบ่งปันประสบการณ์เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย


ดร.ลิสา พัทธ์วิวัฒน์ศิริ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านดิจิทัล บริษัท คิง เพาเวอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด แสดงความเห็นว่า ประเทศไทยมีจุดแข็งในด้านโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง การติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียม และเคเบิลใต้น้ำ แม้จะเดินทางไปกลางทะเลอ่าวไทยระบบการติดต่อสื่อสารก็ยังสามารถทำได้

 

นอกจากนี้พฤติกรรมการใช้งานสื่อออนไลน์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วงหลังจากการระบาดของโควิด 19 ทำให้คนไทยคุ้นเคยกับการใช้งานสมาร์ตโฟนและเครื่องมือออนไลน์ต่าง ๆ รวมไปถึงการใช้ปัญญาประดิษฐ์ AI อย่างไรก็ตาม ต้องระมัดระวังในการใช้งาน 


ประเทศไทยจะรับมือปัญญาประดิษฐ์ AI อย่างไร ?


ดร.ลิสา พัทธ์วิวัฒน์ศิริ มองว่าปัญญาประดิษฐ์ AI ใช้ข้อมูลจำนวนมากอาจเรียกได้ว่ามันใช้ข้อมูลเป็นอาหาร ทุกวันนี้องค์กรบริษัททั่วไปดำเนินโดยการใช้ Data บริษัททั่วไปทำการตลาดโดยไม่ทราบความพึงพอใจของผู้ชม ซึ่งสิ่งที่ควรรู้มี 3 อย่างด้วยกัน คือ รู้ว่าผู้ชมเป็นใคร รู้ใจเข้าใจผู้ชม และรู้แจ้งในความต้องการแท้จริงของผู้ชม


การใช้ AI คู่กับข้อมูล Data โดยพบว่ามีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยในปีนี้ 38 ล้านคน ใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิด-19 ที่มีจำนวน 40 ล้านคน ข้อมูลพบว่าพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเปลี่ยนไป แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มแรก เดินทางท่องเที่ยวตามคำแนะนำของ Influencer บนโลกออนไลน์ กลุ่มสอง เดินทางท่องเที่ยวตามละครหรือสื่อบันเทิงที่ชื่นชอบ กลุ่มนี้ใส่ชุดนักเรียน ชุดไทยต่าง ๆ และกลุ่มสาม กลุ่มที่เที่ยวไปทำงานไป เดินทางมาพักนานหลายวันพร้อมกับทำงาน


ดร.ปรัชญ์ เหตระกูล Marketing Science Partner จาก Meta แสดงความเห็นว่าเครื่องมือในการวัดผลและวางแผนการตลาดนั้นมีความสำคัญ เช่น ผลจากการวิจัยพบว่า การคอมเมนต์และแชร์ไม่ได้เกิดการขายโดยตรง 


นอกจากนี้ในส่วนของการนำ AI มาใช้งานขับเคลื่อนองค์กร ดร.ศูภกร สิทธิไชย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ซึ่งได้ส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ให้นำปัญญาประดิษฐ์ Machine Learning มาใช้ทำความเข้าใจลูกค้าและส่งเสริมการทำธุรกิจ รวมไปถึงการวัดผลทางธุรกิจที่มีความละเอียดมากขึ้น ด้าน ดร.ปรัชญ์ เหตระกูล Marketing Science Partner จาก Meta ได้กล่าวถึงบริการของ Facebook ที่พยายามผลักดันเครื่องมือ AI ต่าง ๆ มากขึ้น และในส่วนของดร.ลิสา พัทธ์วิวัฒน์ศิริ ที่เน้นย้ำถึงการปรับเปลี่ยนองค์กรอย่าง โดยเน้นที่การพัฒนาบุคคลเป็นส่วนสำคัญ



ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง