รีเซต

จันทบุรีโมเดล! ถกหาแรงงานเก็บลำไย-ก่อนเสียหาย 5 หมื่นล้าน

จันทบุรีโมเดล! ถกหาแรงงานเก็บลำไย-ก่อนเสียหาย 5 หมื่นล้าน
TNN ช่อง16
17 ตุลาคม 2563 ( 19:34 )
166
จันทบุรีโมเดล! ถกหาแรงงานเก็บลำไย-ก่อนเสียหาย 5 หมื่นล้าน

"ภายในสิ้นเดือนนี้ ยังไม่มีแรงงานเข้ามา จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตของเกษตรกรที่ทยอยสุก รอเก็บผลผลิตกว่า 130,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 50,000 ล้านบาท"

นั่นถือเป็นปัญหาใหญ่ของชาวสวนลำไย ในพื้นที่

อำเภอโป่งน้ำร้อน และ อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี หลังจากมาตรการนำเข้าแรงงาน"จันทบุรีโมเดล"ที่เสนอผ่าน ศบค.แต่ปัจจุบันทาง ประเทศกัมพูชายังไม่มีคำตอบให้กับรัฐบาลไทย ว่าจะอนุญาตให้แรงงานเข้ามาได้วันไหน 


เรื่องนี้ สมาคมการค้าและการท่องเที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชา จันทบุรี นายพีรณัฐ รัตนวรโอภาส พร้อมด้วย สจ.รัฐนันท์ ตั้งเกียรติพชร ที่ปรึกษาสมาคมฯ และนายเกียรติศักดิ์ พูนเพิ่ม เลขาธิการสมาคมการค้าและการท่องเที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชา จันทบุรี  เชิญผู้ประกอบการ ล้งลำไยที่เป็นสมาชิกสมาคมฯจำนวน 80 ล้ง เพื่อร่วมหาทางออก ก่อนความเสียหายจะเกิดขึ้น หากไม่มีแรงงานเก็บผลผลิตลำไยในฤดูกาลนี้

ขณะที่ นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ได้เสนอแนวทางให้สมาคมคิดหาวิธีแก้ปัญหาร่วมกับผู้ประกอบการ โดยประกาศจ้างแรงงานคนไทยที่กำลังตกงาน และกำลังหางานทำอยู่ในขณะนี้มาช่วยแก้ปัญหาเร่งด่วนให้ทันฤดูเก็บผลผลิตนี้ 

แต่จากการหารือ ที่ประชุมส่วนใหญ่ 99% ได้เคยจ้างแรงงานไทย และเจอปัญหาคล้ายๆกัน คือ - มีนายหน้าพามา เก็บค่าหัวคิวไปก่อนคนละ 2,000-2,500 บาท แรงงานบางคนขอเบิกเงินล่วงหน้า ทำงานได้ 3 -4 วัน หนีกลับ 

"แรงงานไทย เรียกร้องสวัดิการ ค่าแรงมากกว่า คนกัมพูชา ซึ่งผู้ประกอบการก็ยินดีจ่าย เพราะคนไทยด้วยกันพูดกันรู้เรื่อง แต่พอเจองานหนัก ต้นลำไยสูง ก็ไม่เก็บ ไม่สู้งาน"

"คนไทยชอบค่าจ้างตายตัวเป็นรายวัน ไม่ชอบค่าแรงตามปริมาณงาน ซึ่งสถิติการทำงาน คนกัมพูชาสามารถเก็บลำไย รวมใส่ตะกร้าเบ็ดเสร็จเฉลี่ยวันละ 30-40 ตะกร้าต่อคน แต่คนไทยทำได้เฉลี่ยวันละ 5-10 ตะกร้า ต่อคน"

และนั่นคือเหตุผลปัจจัยทั้งหมดจึงทำให้แรงงานไทยมาเก็บลำไยแล้ว อยู่ไม่นาน 

แม้ข้อเสนอการใช้แรงงานไทย ยังมีความเห็นแย้ง แต่ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ทางผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ยังยินดีใช้แรงงานคนไทยตามแนวคิดของผู้ว่าฯ แต่ต้องมีการจ้างงาน หรือรวบรวมแรงงานผ่านทางสำนักงานจัดหางานจังหวัดจันทบุรี มีมาตรการทางกฏหมายเรื่องสัญญาจ้างงานที่เป็นหลักประกันความเสี่ยงเรื่องถูกคนงานหนีกลับก่อนกำหนด ไม่ทำงานตามที่นายจ้างระบุ แต่ถ้ายังให้ทางล้งรับแรงงานคนไทยเองโดยตรงคงเข็ด ไม่มีล้งใหนกล้าเสี่ยงแน่นอน 


โดยที่ประชุมมีการแจ้งให้นายจ้างที่มีแรงงานต่างด้าวทั้ง 4 กลุ่มอยู่แต่ช่วงสถานการณ์โควิดไม่สามารถต่ออายุได้ทำให้การอนุญาตทำงานสิ้นสุดลง และยังไม่ได้เดินทางออกนอกประเทศไทยกลับภูมิลำเนา โดยมติ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา ให้อนุโลมแรงงานเหล่านั้นสามารถอาศัย และทำงานไปพลางๆก่อน แต่ทั้งนี้นายจ้างจะต้องไปติดต่อยื่นขออนุญาติทำงานใหม่ ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดจันทบุรีภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2563 นี้และเมื่อยื่นแล้วสามารถอยู่ในประเทศไทยและทำงานต่อได้ถึง 31 มีนาคม 2565 


ประเด็นสุดท้ายด้วยความห่วงใย ตามมาตรการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคโควิด19 ทางสมาคมฯร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี จะสำรวจแรงงานปัจจุบันที่อยู่ในพื้นที่ทั้งหมด และจะมีการตรวจโควิด และตรวจสุขภาพ แรงงานกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด โดยจะมีการวางระบบตรวจภายในต้นเดือน พฤศจิกายน นี้ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในพื้นที่ จะได้อยู่ร่วมกันแบบ จันทบุรี New Normal ได้ต่อไป


เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง