รีเซต

ศึกษาพบวัคซีน 'โดสกระตุ้น' เพิ่มเกราะป้องกันโควิด-19 ชัดเจน

ศึกษาพบวัคซีน 'โดสกระตุ้น' เพิ่มเกราะป้องกันโควิด-19 ชัดเจน
Xinhua
20 พฤษภาคม 2565 ( 13:46 )
53
ศึกษาพบวัคซีน 'โดสกระตุ้น' เพิ่มเกราะป้องกันโควิด-19 ชัดเจน

ปักกิ่ง, 20 พ.ค. (ซินหัว) -- ผลการศึกษาจากคณะนักวิจัยจีน ซึ่งเผยแพร่ในวารสารเซลล์เจ้าบ้านและจุลินทรีย์ (Cell Host and Microbe) เมื่อไม่นานนี้ พบการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) โดสกระตุ้น สามารถลดการหลบหนีภูมิคุ้มกันของเชื้อไวรัสฯ ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์โอไมครอนได้อย่างชัดเจน ซึ่งตอกย้ำความจำเป็นในการฉีดวัคซีนโดสกระตุ้นหรือโดสสามของประชาชนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์เพื่อต่อสู้กับโรคระบาดใหญ่

 

คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น และพิเจนเทค แลป (Pigentech Lab) เผยว่าเซรุ่มจากบุคคลที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย จำนวน 2 โดส มีประสิทธิภาพลบล้างฤทธิ์เชื้อไวรัสฯ ต่ำจนถึงไม่มีอย่างไรก็ดี ผลการศึกษาระบุว่าวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โดสกระตุ้นชนิดเดียวกัน (homologous) หรือคนละชนิด (heterologous) สามารถปรับปรุงความเข้มข้นของแอนติบอดีที่สามารถลบล้างฤทธิ์เชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์โอไมครอน สายพันธุ์ย่อยทั้งหมดได้เชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์โอไมครอน ได้กลายพันธุ์เป็น 4 สายพันธุ์ย่อย ได้แก่ บีเอ.1 (BA.1) บีเอ.1.1 (BA.1.1) บีเอ.2 (BA.2) และ บีเอ.3 (BA.3) โดยบีเอ.2 เป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดหนักทั่วโลก ซึ่งผลการศึกษาระบุว่าความเข้มข้นของแอนติบอดีที่สามารถลบล้างฤทธิ์เชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์โอไมครอน สายพันธุ์ย่อย ลดลงมากกว่า 100 เท่า เมื่อเทียบกับความเข้มข้นของแอนติบอดีที่สามารถลบล้างฤทธิ์เชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์ดั้งเดิมคณะนักวิจัยได้รวบรวมและทดสอบตัวอย่างสารคัดหลั่งจากผู้ใหญ่สุขภาพดีที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โดสกระตุ้น ชนิดเชื้อตาย จำนวน 20 รายการ และพบเซรุ่มมีประสิทธิภาพต้านเชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์โอไมครอน สายพันธุ์ย่อย ลดลง 5-6 เท่า เมื่อเทียบกับการต้านเชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์ดั้งเดิมนอกจากนั้นคณะนักวิจัยยังทดสอบเซรุ่มจากบุคคล 18 คน ที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย จำนวน 2 โดส และวัคซีนชนิดหน่วยย่อยโปรตีน 1 โดส ในช่วง 4-8 เดือนถัดมา โดยพบระดับความเข้มข้นของแอนติบอดีที่สามารถลบล้างฤทธิ์เชื้อไวรัสฯ สูงกว่ากลุ่มที่ฉีดวัคซีนสองโดสอนึ่ง คณะนักวิจัยกล่าวว่าเชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์โอไมครอน สายพันธุ์ย่อย เป็นภัยต่อประสิทธิภาพการลบล้างฤทธิ์เชื้อไวรัสฯ ของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ใช้ในปัจจุบัน โดยการเพิ่มอัตราการฉีดวัคซีนครบโดสและโดสกระตุ้นอาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ข่าวที่เกี่ยวข้อง