รีเซต

PPMทองแดงการแพทย์บูม SPPMหนุนกำไรโดดเด่น

PPMทองแดงการแพทย์บูม SPPMหนุนกำไรโดดเด่น
ทันหุ้น
21 กันยายน 2564 ( 06:43 )
165
PPMทองแดงการแพทย์บูม SPPMหนุนกำไรโดดเด่น

ทันหุ้น – กูรูฉายภาพ PPM โดดเด่น หลังทองแดงกลับมาฟื้นตัวอย่างมาก ตามราคาทองแดงในตลาดโลก แถมรับอานิสงส์ความต้องการท่อทองแดงทางการแพทย์พุ่งช่วงโควิด-19 คาดกวาดรายได้ราว 1.2 พันล้านบาท ขณะที่บริษัทลูก SPPM หนุนงบทะยาน หลังครึ่งปีแรก PPM มีกำไร 46 ล้านบาท โต 1,898% SPPM ทำกำไรให้แม่มากกว่า 50%  เคาะเป้า 5.58-7.75 บาท

 

บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง บริษัท พรพรหมเม็ททอล จำกัด (มหาชน) หรือ PPM ว่า จดทะเบียนในตลาด mai เมื่อปี 2547 ประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์โลหะทองแดง และทองเหลือง (Copper&Brass) ชนิดแผ่นและม้วนสำหรับใช้ในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เมื่อปี 2557 จัดตั้ง บริษัท โซลาร์ พีพีเอ็ม จำกัด หรือ SPPM ถือหุ้น 60% ร่วมกับผู้จำหน่ายแผงโซลาร์รายใหญ่ของจีนคือ Vina Solar Technology ในช่วงแรกเป็นการรับจ้างผลิตให้กับ Vina เพียงอย่างเดียว ทำให้รับการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตจนสามารถผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ของบริษัทเองได้ และเริ่มเห็นผลสะท้อนมายังงบการเงินในปี 2564 เป็นปีแรก

 

**ธุรกิจเดิมกลับมาฟื้น


  การซื้อมาขายไปผลิตภัณฑ์ทองแดง และทองเหลืองมีสัดส่วนรายได้สูงถึง 65-70% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งจะได้รับผลกระทบหากราคาทองแดงในตลาดโลกปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ปี 2562-2563 ผลประกอบการขาดทุนเพราะราคาทองแดงปรับตัวลงค่อนข้างมาก ขณะที่ธุรกิจผลิตและจำหน่ายแผงโซลาร์ให้ Vina ถูกยกเลิกคำสั่งซื้อ

 

อย่างไรก็ตามในปี 2564 ธุรกิจทองแดงกลับมาฟื้นตัวค่อนข้างมาก ตามราคาทองแดงในตลาดโลกที่ปรับตัวขึ้น จึงสามารถจำหน่ายได้ในราคาสูงขึ้น รวมถึงประโยชน์ทางอ้อมจากอุปสงค์ของท่อก๊าซออกซิเจนที่มากขึ้นทำให้มีความต้องการท่อทองแดงทางการแพทย์มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของ COVID-19 เราคาดรายได้จากธุรกิจนี้ที่ราว 1,200 ล้านบาท ในปี 2564 อิง NPM ในธุรกิจนี้ที่ 3.5% ได้กำไรจากธุรกิจจำหน่ายทองแดงและทองเหลืองที่ 42 ล้านบาท สำหรับปี 2565 บริษัทตั้งเป้าโตต่อหากสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลายงานก่อสร้างและตลาดอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวจะหนุนอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ทองแดงเช่นกัน

 

**SPPM ขึ้นแท่นดาวเด่น

 

ปี 2564 นับเป็นปีแรกของ S-Curve ของบริษัท โซลาร์ พีพีเอ็ม จำกัด (SPPM) ซิ่งเริ่มทำการตลาดและสร้างแบรนด์ตัวเองมาแล้วในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยได้ Vina เป็นผู้ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือแผงโซลาร์ของ SPPM แม้ว่าจะราคาสูงกว่าของสินค้านำเข้าจากจีนอยู่บ้างแต่ก็เพียง 5-10% แต่แผงของ SPPM จะทันสมัยกว่า ได้รับมาตรฐาน มอก. และมีอายุการใช้งานสูงถึง 30 ปี เทียบกับของจึน 25 ปี

 

หากพิจารณาผู้จำหน่ายแผงโซลาร์ในประเทศไทยที่ผลิตโดยคนไทยจริงๆ แทบไม่มีคู่แข่งในตลาด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในกรณีการเข้ารับงานภาครัฐ ที่กำหนดต้องมี มอก. หรือในบางครั้งอาจระบุว่าต้องเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ ซึ่งนโยบายรัฐ ที่กำหนดต้องมี มอก. หรือในบางครั้งอาจระบุว่าต้องเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ ซึ่งนโยบายรัฐ หลังจากนี้จะเป็นไปในลักษณะนี้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นบวกต่อ SPPM และเป็นงานที่มีอัตรากำไรขั้นต้นค่อนข้างสูง จะเห็นได้ว่าผลประกอบการของ PPM ในช่วงครึ่งปีแรกปี 2564 มีกำไรสุทธิถึง 46 ล้านบาท โต 1,898% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยรายได้จาก SPPM คิดเป็นสัดส่วนราว 30-35% แต่กำไรมากกว่า 50% มาจาก SPPM สำหรับราคาเป้าหมาย 12 เดือน อยู่ที่ 5.58-7.75 บาท

 

**เป้ารายได้ 1.5 พันล.

 

ขณะที่ก่อนหน้านี้ นายชำนาญ พรพิไลลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท พรพรหมเม็ททอล จำกัด (มหาชน) หรือ PPM เปิดเผยว่า ในปีนี้ตั้งเป้ารายได้รวมไว้ที่ 1.5 พันล้านบาท ยังไม่รวมส่วนของ SPPM นอกจากนี้บริษัทยังมีธุรกิจใหม่ยางพารา ซึ่งเป็นเคมีใช้ในการหล่อยาง โดยลูกค้าของบริษัททำงานให้กับภาครัฐ และให้ PPM เป็นผู้จัดหาวัตถุดิบให้ ซึ่งเริ่มมีรายได้ตั้งแต่ไตรมาส 2/2564 ที่ผ่านมาแล้ว คาดว่าธุรกิจนี้จะเติบโตได้ดีในปีหน้า เนื่องจากลูกค้าขยายโรงงานเพิ่มทำให้มีแบ็กล็อกเข้ามาล่วงหน้า โดยคาดว่าบริษัทจะมียอดขายเกือบ 300 ล้านบาท

 

สำหรับธุรกิจ Solar PPM ถือว่าเป็นเทรนด์ในอนาคต ซึ่งบริษัทพยายามบริหารงานมุ่งเน้นให้ธุรกิจมีความมั่นคง สร้างรายได้ต่อเนื่อง จึงไปด้านโซลาร์เซลล์ และยังเป็นผู้ผลิตแผงในประเทศที่ได้รับมาตรฐาน มอก. มุ่งเน้นสินค้าคุณภาพตอบสนองความต้องการการใช้รถไฟฟ้า (EV) ในประเทศ ซึ่งมองว่าหากมีการใช้รถ EV เพิ่มมากขึ้นไฟอาจจะไม่เพียงพอ จึงมองความต้องการใช้โซลาร์เซลล์ในอนาคตจะมีเพิ่มมากขึ้น

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง