รีเซต

'หมีควาย' เหยื่อล่าสุดจากสงครามที่มนุษย์ก่อขึ้น

'หมีควาย' เหยื่อล่าสุดจากสงครามที่มนุษย์ก่อขึ้น
TNN World
16 มิถุนายน 2564 ( 09:22 )
104
'หมีควาย' เหยื่อล่าสุดจากสงครามที่มนุษย์ก่อขึ้น

Editor’s Pick: ความบาดหมางหลายทศวรรษระหว่างอินเดียและปากีสถาน ทำให้พรมแดนระหว่างชาตินิวเคลียร์สองประเทศ กลายเป็นหนึ่งในดินแดนที่มีกำลังทหารมากที่สุด ตลอดพรมแดนมีการขึงลวดไฟฟ้าอย่างแน่นหนา



แต่ความร้าวฉานของมนุษย์ ไม่ได้เป็นอันตรายกับคนเท่านั้น แต่รวมถึงสัตว์ด้วย และนี่คือเหยื่อล่าสุดจากสงครามที่มนุษย์ก่อขึ้น

 



หมีควายกำพร้าแม่



ชาร์ดา และนาร์ดา เป็นลูกหมีควายที่ถูกพบในพื้นที่พิพาท ‘แคชเมียร์’ ในฝั่งปากีสถาน, ชาวบ้านไปเจอพวกมันบนความสูง 14,000 ฟุต



“เมษายนปีที่แล้ว คนเลี้ยงแกะจากเทือกเขาที่สูง 14,000 ฟุต แจ้งเรามาว่า พวกผู้หญิงของเขาไปสัตว์ไปทานหญ้าแล้วได้ยินเสียง พอไปดูก็พบลูกหมีสองตัวนี้” โมฮัมหมัด อาชราฟ เจ้าหน้าที่กรมสัตว์ป่าและประมงในภูมิภาคแคชเมียร์ของปากีสถาน



“เราจึงไปช่วยพวกมัน ตอนนั้น มันตัวเล็กมากเหมือนลูกแมว
แล้วก็แทบลืมตาไม่ได้”



ผลปรากฎว่า แม่ของพวกมันถูกฆ่าในรัฐแคชเมียร์ ฝั่งอินเดีย จากการเหยียบกับระเบิด หรือถูกสะเก็ดระเบิดตาย, ส่วนลูกหมีสองตัว ก็กระเสือกกระสนเอาตัวรอดข้ามพรมแดนมา ก่อนที่ชาวบ้านจะเจอพวกมัน

 

 


 จากหมีกำพร้า สู่ขวัญใจชาวบ้าน



เจ้าหน้าที่พยายามดูแลพวกมันอย่างเต็มที่ เป็นเวลานาน 2 เดือน ป้อนนม ป้อนผลไม้และผัก จนพวกมันแข็งแรง



“ตอนแรกที่เราพามันมาที่นี่ เราก็ไม่รู้จะทำยังไงดี ดูแลมันยังไง เพราะเราไม่เคยเลี้ยงหมีมาก่อน เราเอาผ้าห่อพวกมันไว้หลายวัน แล้วเอานมให้พวกมันกินผ่านขวด เราสร้างกรงเล็ก ๆ ให้พวกมันได้อยู่” อาชราฟ เล่าความหลัง



ตอนนี้ พวกมันชอบปีนต้นมัลเบอร์รี ต้นวอลนัท บางครั้งก็ปีนไปบนหลังคาบ้าน จนกลายเป็นขวัญใจของเด็ก ๆ และผู้ใหญ่ในพื้นที่



“ตอนแรกที่ได้เห็นพวกมัน ฉันกลัวมาก แต่ก็ค่อย ๆ คุ้นเคยกับพวกมัน” เด็กมัธยมคนหนึ่ง กล่าว



“ตอนนี้ เราเล่นกับพวกมันทุกวันเลย เวลาเดินผ่านก็จะคอยมองดู มันชอบปีนต้นไม้เล่น พวกมันก็เล่นกับเด็ก ๆ และไม่กัด เราคิดว่าพวกมันน่ารักมาก พวกเรารักมันค่ะ”



 

พรมแดนมนุษย์ แต่อันตรายถึงสัตว์



หมู่บ้านดาวาเรียน ที่หมีกำพร้าสองตัวนี้เรียกว่าบ้านใหม่ อยู่ห่างจากเมืองเอกของภูมิภาคแคชเมียร์ ฝั่งที่เป็นของปากีสถาน ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม จากทัศนียภาพที่สวยงาม แม่น้ำ น้ำตก และทะเลสาบน้ำแข็ง

แต่แคชเมียร์ยังถือเป็นดินแดนพิพาท และภูมิภาคที่มีทหารประจำการมากที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง เพราะจนถึงวันนี้ อินเดียและปากีสถานยังคงทำสงครามแย่งชิงแคชเมียร์ นับแต่ประกาศเป็นเอกราชจากสหราชอาณาจักรเมื่อปี 1947



นับแต่ปี 2004 อินเดียได้สร้างรั้วไฟฟ้าสูง 12 ฟุตทับเส้นเขตแดน เพื่อป้องกันไม่ให้กองทัพปากีสถานเข้ามารุกราน แต่มันไม่ได้กันแค่มนุษย์ เพราะสัตว์เองก็ข้ามแดนไม่ได้เช่นกัน ทั้งที่เป็นเส้นทางหากินตามธรรมชาติของพวกมัน



 

 “ยังไงพวกมันก็เป็นสัตว์ป่า”



อาชราฟ ระลึกได้ว่าไม่กี่ปีก่อน เจ้าหน้าที่กรมคนหนึ่งไปเห็นศากหมีดำตายไม่ห่างจากรั้วไฟฟ้า ขาข้างหนึ่งของมันเหยียบกับระเบิด แล้วตกลงไปในเหวจนตาย



ส่วนอนาคตของหมีควายกำพร้าแม่สองตัวนี้ อาชราฟยอมรับว่า คงเลี้ยงเองได้ไม่นาน เพราะพวกมันโตเร็วมาก และเริ่มดุร้าย



“ยังไงพวกมันก็เป็นสัตว์ป่า มันอาจทำร้ายใครก็ได้สักวันหนึ่ง”



“เราก็รู้สึกอันตรายด้วย เราจึงร้องขอให้พวกผู้ใหญ่ พาพวกมันไปอยู่ในที่ที่เหมาะสม เพราะเราไม่มีกรงใหญ่พอ หรือที่อาศัยที่เหมาะสมกับพวกมัน”

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง