คำศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับ "เงินเฟ้อ"
อัตราเงินเฟ้อในต่างประเทศที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องเกินคาดในช่วงนี้เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตามองกันอย่างใกล้ชิด และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธนาคารกลางหลายประเทศเริ่มดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดเร็วขึ้น โดยแต่หลายๆข่าวที่เราได้ยินมาเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อก็มักจะมีคำศัพท์ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ วันนี้ TrueID ได้รวบรวมความหมายของคำศัพท์ดังกล่าวมาให้แล้ว
ภาวะเงินเฟ้อ
ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งหากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากจะกระทบต่อฐานะและความ เป็นอยู่ของประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ โดยทําให้ กําลังซื้อของประชาชนลดลง ทําลายแรงจูงใจในการออม ของประชาชน ทําให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคา กับต่างประเทศลดต่ําลง และทําให้ความเสี่ยงในการดําเนิน ธุรกิจและการลงทุนในระยะยาวของประเทศมีมากขึ้น
ดัชนีราคาผู้บริโภค
ดัชนีที่คํานวณโดยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งคํานวณจากข้อมูล ราคาสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคซื้อเป็นประจําจากตลาด และแหล่งจําหน่ายต่างๆทั่วประเทศ ภาวะเงินเฟ้อสามารถ วัดได้จากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีดังกล่าว ซึ่งเรียกตัวชี้วัด นี้ว่า อัตราเงินเฟ้อ
อัตราเงินเฟ้อ
อัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วงเวลา หนึ่ง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หรือ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปี ก่อน โดยทั่วไปมักหมายถึงอัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบกับ ระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
อัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค ที่หักราคา สินค้าในหมวดอาหารสดและพลังงานออก โดยเทียบกับ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ
Demand - pull Inflation
ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากความต้องการซื้อสินค้าและบริการ เพิ่มขึ้นมากกว่าสินค้าและบริการที่มีในตลาดในขณะนั้นๆ ทําให้ผู้ขายปรับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น ทั้งนี้ ความ ต้องการสินค้าและบริการในตลาดที่เพิ่มมากขึ้นมาจากสาเหตุดังนี้ 1) การใช้จ่ายของประชาชนเพิ่มขึ้น 2) การใช้ จ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 3) การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของ ภาคเอกชนเพิ่มขึ้น และ/หรือ 4) ความต้องการซื้อสินค้าใน ประเทศจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
Cost - push Inflation
ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น กล่าวคือ หากผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้ จะทํา ให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้น ทั้งนี้ สาเหตุที่ทําให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมีหลายประการ ได้แก่ 1) การขอเพิ่มค่าจ้างแรงงาน 2) ราคาน้ํามันเพิ่มสูงขึ้น 3) การเพิ่มกําไรของผู้ผลิต และ 4) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง การผลิต อาทิ การเกิดสงคราม การเกิดภัยธรรมชาติ
ภาวะเงินฝืด
ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงอย่าง ต่อเนื่องโดยมีสาเหตุหลายประการ เช่น ความต้องการซื้อ สินค้าและบริการของประชาชนลดลง หรือ ความสามารถ ในการผลิตมีมากขึ้นอันเป็นผลจากแรงงานที่มีศักยภาพการ ผลิตและเทคโนโลยีดีขึ้น ทําให้มีการผลิตสินค้ามากเกิน ความต้องการของตลาด จนผู้ผลิตจําเป็นต้องลดราคาสินค้า ลงเพื่อให้สามารถขายสินค้าได้ รวมทั้งลดการผลิตลงเพื่อมิ ให้สินค้าเหลือเกินความต้องการ ซึ่งจะส่งผลให้การจ้างงาน ลดลง และส่งผลต่อเนื่องให้เศรษฐกิจซบเซาในที่สุด
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง
อัตราดอกเบี้ยในรูปตัวเงิน (nominal interest rate) หัก ด้วยอัตราเงินเฟ้อ ในทางเศรษฐศาสตร์หากกล่าวถึงอัตรา ดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ นั่นคือ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ํากว่า อัตราเงินเฟ้อ ซึ่งหากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบต่อเนื่องยาวนาน จะส่งผลเสียต่อพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยและการออม
ของครัวเรือน เพราะผลตอบแทนที่ได้รับจากการฝากเงินมี ค่าต่ํากว่าอัตราเงินเฟ้อ จะทําให้ครัวเรือนขาดแรงจูงใจที่จะ เก็บหอมรอมริบไว้สําหรับวันข้างหน้า รายได้ในปัจจุบันจึง ถูกนํามาใช้จ่ายเพื่อการบริโภคเสียในวันนี้แทน ดังนั้นเงิน ออมที่ครัวเรือนเก็บสํารองไว้เพื่อยามฉุกเฉินก็จะลดน้อยลง ตามไปด้วย
นโยบายการเงิน
เป็นการดําเนินนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อ กระตุ้นหรือชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจ โดยใช้อัตรา ดอกเบี้ยนโยบายเป็นเครื่องมือในการส่งสัญญาณให้ตลาด รับทราบ ทั้งนี้ หากต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่ เศรษฐกิจซบเซาอยู่ ก็จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง หรือ หากต้องการชะลอเศรษฐกิจในช่วงที่เศรษฐกิจเติบโต ร้อนแรง ก็จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือหาก เศรษฐกิจไม่มีปัจจัยเสี่ยงทั้งในด้านการเติบโตและการ เพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ ก็จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทั้งนี้ การดําเนินนโยบายดังกล่าว นอกจากจะคํานึงถึงเรื่องอัตรา การเจริญเติบโต และเงินเฟ้อแล้ว ยังต้องคํานึงถึง เสถียรภาพทางเศรษฐกิจควบคู่กันไปด้วย
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
เป็นหนึ่งในคณะกรรมการหลักของธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) ซึ่งรับผิดชอบด้านการกําหนดทิศทางของ นโยบายการเงิน กนง. จะประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูง ของ ธปท. และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ธปท. ในสัดส่วน ที่ทําให้การทํางานเป็นไปอย่างอิสระ และโปร่งใส โดย กนง. จะทํางานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของ ธปท. อย่างใกล้ชิด และจะ ติดตามภาวะเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่าง ใกล้ชิดเพื่อนําไปกลั่นกรองและกําหนดทิศทางการดําเนินนโยบายการเงินจากข้อมูลต่างๆ
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
อัตราดอกเบี้ยที่ กนง. ใช้ส่งสัญญาณนโยบายการเงิน ซึ่ง ธปท. ใช้อัตราดอกเบี้ยธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคี (Bilateral Repurchase Transactions) ระยะ 1 วัน เป็น อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตั้งแต่ วันที่ 17 มกราคม 2550 เป็น ต้นมา
ธุรกรรมซื้อ/ขายคืนพันธบัตรแบบทวิภาคี ระยะ 1 วัน
เป็นเครื่องมือหลักอย่างหนึ่ง ที่ ธปท. ใช้เพื่อปรับสภาพ คล่องแบบชั่วคราวผ่านตลาดการเงิน ลักษณะธุรกรรม คือ การซื้อพันธบัตร (เปรียบเสมือนการให้กู้เงินเพื่อปล่อย สภาพคล่องเข้าสู่ระบบ) หรือขายพันธบัตร (เปรียบเสมือน การกู้เงิน เพื่อดูดสภาพคล่องออกจากระบบ) โดยมีสัญญา ว่าจะขายคืนหรือซื้อคืน ภายในระยะเวลา 1 วัน ณ ราคาที่ ตกลงไว้กับสถาบันการเงินที่ ธปท. แต่งตั้งให้เป็นคู่ค้า โดยมี พันธบัตรเป็นหลักทรัพย์ค้ําประกัน ราคาซื้อคืน/ขายคืนจะ เท่ากับมูลค่าของเงินกู้บวกด้วยดอกเบี้ย
สินทรัพย์สภาพคล่อง
สินทรัพย์ที่เป็นเงินสดหรือสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ใน ระยะเวลาอันสั้น ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องดํารงสินทรัพย์ สภาพคล่องเป็นอัตราส่วนต่อฐานเงินฝากและหนี้สินตามที่ ธปท. กําหนด นอกจากนี้ สินทรัพย์สภาพคล่องต้องมี องค์ประกอบตามที่ ธปท. กําหนดด้วย
ข้อมูล : ธนาคารแห่งประเทศไทย