รีเซต

โควิดสายพันธุ์ใหม่ ติดง่ายกว่าเดิมหรือไม่-หากป่วยมีอาการอย่างไร?

โควิดสายพันธุ์ใหม่ ติดง่ายกว่าเดิมหรือไม่-หากป่วยมีอาการอย่างไร?
TNN ช่อง16
8 พฤษภาคม 2566 ( 12:23 )
78
โควิดสายพันธุ์ใหม่ ติดง่ายกว่าเดิมหรือไม่-หากป่วยมีอาการอย่างไร?

ติดเชื้อโควิด เช็กล่าสุดสายพันธุ์ใหม่ หากป่วยมีอาการเป็นอย่างไร ติดง่ายกว่าเดิมหรือไม่?


สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ 


กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2566 ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)

จำนวน 1,699 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 242 ราย/วัน ผู้เสียชีวิต (รายสัปดาห์) จำนวน 10 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 1 ราย/วัน

หายป่วยสะสม 10,081 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566) เสียชีวิตสะสม 298 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566)

ผู้ป่วยปอดอักเสบ 219 ราย ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 113 ราย

ทั้งนี้ ข้อมูลจาก โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา ได้ระบุเกี่ยวกับ โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 หรือ อาร์คตูรุส (Arcturus) 


โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 หรือ อาร์คตูรุส (Arcturus) 


โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 หรือ อาร์คตูรุส (Arcturus) เป็นสายพันธุ์ย่อยของโควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่อยู่ในการเฝ้าระวังขององค์การอนามัยโลก ขณะนี้พบการระบาดของสายพันธุ์นี้เพิ่มขึ้นทั่วโลกโดยเฉพาะในประเทศอินเดีย


โควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 มีอาการอย่างไร 

อาการของโควิดสายพันธุ์นี้ นอกจากมีไข้สูง ไอ เจ็บคอ น้ำมูก จมูกไม่ได้กลิ่น ยังพบมีรายงานการเกิดเยื่อบุตาอักเสบสูงขึ้น ทำให้ผู้ป่วยอาจมีอาการตาแดง เคืองตา ขี้ตามาก ซึ่งเป็นอาการที่แตกต่างจากสายพันธุ์อื่น ๆ ก่อนหน้านี้


โควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 ติดง่ายกว่าสายพันธุ์โอมิครอนเดิมหรือไม่ 

โควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 มีการกลายพันธุ์บริเวณหนามของไวรัส เพิ่มขึ้น 3 ตำแหน่งคือ E180V, K478R และ S486P ทำให้สามารถเกาะติดเซลล์ของมนุษย์ได้ดีกว่าสายพันธุ์เดิม อีกทั้งพบว่า XBB.1.16 สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายกว่าสายพันธุ์โอมิครอนเดิม 1.5 – 2 เท่า


ใครเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรง


ผู้ป่วยในกลุ่ม 608 คือ กลุ่มผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัวในกลุ่ม 7 โรค ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และหญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป รวมถึงกลุ่มคนที่ไม่ได้รับวัคซีนและไม่เคยติดเชื้อโควิดมาก่อน เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อและเกิดอาการรุนแรง

ดังนั้นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเหล่านี้ หากตรวจพบเชื้อควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและพิจารณารับยาต้านไวรัสโดยทันที



ข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค / โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

ภาพจาก TNN ONLINE / AFP

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง