รีเซต

เปิดให้เข้าชม "เกาะรอก" ราชินีแห่งอันดามัน 1 ตุลาคม นี้

เปิดให้เข้าชม "เกาะรอก" ราชินีแห่งอันดามัน 1 ตุลาคม นี้
TNN ช่อง16
23 กันยายน 2566 ( 11:17 )
65
เปิดให้เข้าชม "เกาะรอก" ราชินีแห่งอันดามัน 1 ตุลาคม นี้

หลังจากอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา ปิดการเข้าชมหมู่เกาะต่างๆ มาตั้งแต่ 1 กรกฎาคม ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566  เนื่องจากเป็นช่วงมรสุม คลื่นลมในทะเลค่อนข้างแรง และให้ทรัพยากรธรรมชาติได้มีการฟื้นตัว รวมทั้งเพื่อความปลอดภัย เนื่องจากช่วงหน้าฝน มักจะมีคลื่นลมในทะเลค่อนข้างแรงและอาจจะเกิดอันตรายในการเดินเรือได้


นายเนรมิต สงแสง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ในวันที่ 1 ตุลาคม นี้ ทางอุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะลันตา เตรียมกลับมาเปิดให้บริการแก่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้เข้าเที่ยวชมความสวยสดงดงามของ เกาะรอก หมู่เกาะห้า  กองหินม่วง หินแดง ถ้ำไม้แก้ว อีกครั้ง 



ส่วนแหล่งท่องเที่ยวบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา แหลมโตนด เกาะไหง เกาะตะละเบ็ง น้ำตกคลองจาก ยังคงเปิดให้ท่องเที่ยวปกติตลอดทั้งปี


สำหรับ "เกาะรอก" ยังคงมีทรัพยากรธรรมชาติ ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์หลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนความโดดเด่น สวยงามของทัศนียภาพของเกาะ จนได้รับขนานนามว่า "ราชินีแห่งอันดามัน" 


ส่วนที่จังหวัดนครพนม  ได้จัดงานประเพณีสุดแปลกที่เดียวในไทย คือ งานเทศกาลกินต่อหัวเสือ ของชาวอำเภอปลาปาก ซึ่งจัดสืบทอดมายาวนานกว่า 10 ปี จนปัจจุบันยกระดับจากงานประเพณีประจำตำบล สู่งานประจำอำเภอ ล่าสุด ขึ้นสู่งานประเพณีระดับจังหวัด ถือเป็นงานประเพณีที่กระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว



นายนายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ได้สาธิตการปรุงเมนูเด็ดเป็นตัวอย่าง เช่น ก้อยลูกต่อหัวเสือ ยำต่อหัวเสือ และแกงอ่อมต่อหัวเสือ เพื่อการันตีความอร่อย ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ชิมรสชาติ นอกจากนี้ ยังได้ร่วมรำวงพื้นบ้านกับธิดาสาวสวยที่มีการสวมชุดตัวต่อ สร้างสีสันความสนุกสนาน


สำหรับเมนูแปลกจากลูกต่อหัวเสือ ที่สร้างความฮือฮาให้ประชาชนทดลองชิม คือ พิซซ่าหน้าลูกต่อหัวเสือ รวมถึง ซูชิต่อหัวเสือ เป็นการประยุกต์เมนูเด็ดอีสาน กับเมนูต่างชาติเข้าไว้ด้วยกัน สื่อให้เห็นว่าต่อหัวเสือสามารถปรุงเมนูได้สารพัด 


นอกจากนี้ ยังมีรังต่อหัวเสือที่มีรูปร่างสวยงาม นำไปทำเป็นวัตถุมงคล เครื่องรางของขลังเชื่อกันว่าเป็นเครื่องนำโชคลาภ ช่วยต่อเงินต่อทอง ทำให้มีราคาซื้อขาย รังละประมาณ 10,000 – 20,000 บาท  



สำหรับอาชีพเลี้ยงต่อหัวเสือ ชาวบ้านมีการสืบทอดมายาวนานตั้งแต่อดีต เริ่มจากการล่าเป็นอาหารในครัวเรือน จนพัฒนาเพื่อเศรษฐกิจการค้า ทำให้เป็นที่นิยมของตลาด มีชาวบ้านสนใจสั่งซื้อไปปรุงเป็นเมนูเด็ดจำนวนมาก เพราะเป็นเมนูหายาก 1 ปีมีเพียงครั้งเดียว โดยจะเริ่มล่าต่อหัวเสือในช่วงเดือนพฤษภาคม–ธันวาคม มีราคาซื้อขายกิโลกรัมละ 1,000 บาท/ ในอนาคตจะมีการพัฒนา จัดส่งเสริมการท่องเที่ยวให้มากขึ้น รวมถึงให้ประชาชนหันมาเลี้ยงสร้างรายได้เสริมตลอดปี


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง