รีเซต

นิเทศฯ มสธ.คว้ารางวัลชนะเลิศการสร้างนวัตกรรม โมไบล์แอปพลิเคชันการเรียนการสอน

นิเทศฯ มสธ.คว้ารางวัลชนะเลิศการสร้างนวัตกรรม โมไบล์แอปพลิเคชันการเรียนการสอน
77ข่าวเด็ด
30 กรกฎาคม 2563 ( 09:24 )
151
นิเทศฯ มสธ.คว้ารางวัลชนะเลิศการสร้างนวัตกรรม โมไบล์แอปพลิเคชันการเรียนการสอน

นนทบุรี-“ที่ไหน เวลาใด ใครก็เรียนได้”แนวคิดสำคัญที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สร้างทางเลือกให้กับผู้เรียนสามารถเรียนผ่านสื่อการสอนได้หลากหลายช่องทาง ทั้งบน internet แผ่น CD ทางโทรทัศน์ หนังสือ ด้านสาขานิเทศศาสตร์ยุคใหม่คว้ารางวัลการสร้างนวัตกรรมโมไบล์แอปพลิเคชันการเรียนรู้ เพื่อรองรับโลกยุคใหม่แห่งดิจิทัล

เพื่อก้าวให้ทันโลกยุคใหม่กับรูปแบบการเรียนรู้ด้วยการคิดค้นและพัฒนาสื่อและหลักสูตร การเรียนการสอนอย่างไม่หยุดยั้ง ของคณาจารย์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชล่าสุด รศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ประธานหลักสูตรนวัตกรรมการสื่อสารการเมืองการปกครองท้องถิ่น สาขานิเทศศาสตร์  (อดีตรองอธิการบดีและคณบดีคณะนิเทศศาสตร์มสธ.) และที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม กับรางวัลชนะเลิศในการอุทิศตัวเองเพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนา คน ชุมชน สังคม โดยเฉพาะ การพัฒนา“คน” ทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญ เพื่อการเรียนรู้อย่างเท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว กับรางวัลชนะเลิศการสร้างนวัตกรรมโมบายแอพพลิเคชั่นด้านการเรียนการสอน ของสาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เหนือความภาคภูมิใจในรางวัลอันทรงเกียรติที่ได้รับนั้น คือความสำเร็จในด้านการพัฒนาการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยใหม่แก่ผู้เรียนได้อย่างทันสมัย สามารถเข้าถึงการเรียนรู้ด้วยตัวเองสะดวกรวดเร็วทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่มีโอกาสและใช้เป็นช่องการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างสะดวก ง่ายต่อการเข้าถึงโดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายนักศึกษาสำคัญที่ได้ใช้งานในขณะนี้คือกลุ่มนักศึกษาในระดับปริญญาโท และเอกสาขานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่ให้ความสนใจการเรียนรู้สามารถเข้าถึงได้สะดวกและต่อเนื่อง

“ที่ไหน เวลาใด ใครก็เรียนได้”มสธ.ทางเลือกเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านสื่อการสอนได้หลากหลายช่องทาง ล่าสุดสาขานิเทศศาสตร์ได้พัฒนาแอพพริเคชั่นขึ้นมา ทั้งนี้  เทคโนโลยีดิจิทัลทำให้ภูมิทัศน์ด้านการสื่อสารและบรรทัดฐานทางสังคมเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นการใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้ที่ง่ายขึ้น การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร หรือการสื่อสารกับผู้อื่น ทุกวันนี้เราอยู่ในโลกที่สามารถเข้าถึงสารสนเทศจำนวนมหาศาล อยู่ในโลกที่การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และอยู่ในโลกที่เปิดโอกาสให้เราสามารถใช้เครื่องมือดิจิทัลในการสรรค์สร้างและเผยแพร่แนวคิดได้อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน  โดยเฉพาะแนวคิดการสื่อสารเพื่อการพัฒนา พัฒนาตนเอง เพื่อพัฒนาชุมชน และสังคม เพื่อก้าวสู่สังคมน่าอยู่อย่างยั่งยืน”

การจะเป็นพลเมืองที่สมบูรณ์ในยุคดิจิทัลนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่าเราจะต้องมีทักษะและความรู้ดิจิทัล ลำพังแค่เพียงการเข้าถึงเทคโนโลยีนั้นไม่เพียงพอ การมีทักษะในการค้นหาข้อมูลค้นหาแหล่งการศึกษาที่น่าเชื่อถือได้ที่ไหนและรู้จักเครื่องมือการเรียนรู้ การทำกิจกรรมพัฒนาชุมชน และสังคมจะก่อให้เกิดประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในการสื่อสารและทำงานร่วมกับคนในชุมชนและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โลกยุคใหม่ในปัจจุบัน ถือเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและวิถีการทำงาน ทำให้ทรัพยากรมนุษย์ต้องปรับตัวและยกระดับสมรรถนะ   ของตัวเองเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง  ตลอดจนสามารถเป็นกำลังสำคัญของการขับเคลื่อนสู่ประเทศยุคใหม่  หรือพัฒนาประเทศให้ก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าได้ ด้วยประสิทธิภาพเป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของการปฏิรูปประเทศไทย

ในยุคดิจิทัล เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกช่วงวัย ตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ มีสมาร์ทโฟนเกือบทุกคน รวมถึงการที่รัฐบาลได้เดินหน้าพัฒนาโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ให้เข้าถึงและครอบคลุมทุกหมู่บ้านในประเทศ เพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึงแหล่งความรู้และให้สามารถใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาอีกหลายมิติทั้งในด้านประกอบอาชีพและการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เป็นโอกาสและความท้าทายที่สังคมไทยจะต้องเผชิญ และต้องปรับตัวให้พร้อมรับกับโอกาสที่จะเข้ามาจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้

สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและเชื่อมโยงกันใกล้ชิดมากขึ้น การแข่งขันด้านเศรษฐกิจจะเข้มข้นมากขึ้นสังคมโลกจะมีความเชื่อมโยงใกล้ชิดกันมากขึ้นเป็นสภาพไร้พรมแดน การพัฒนาเทคโนโลยีจะมีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วและจะกระทบชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมและการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างมาก รูปแบบการเรียนรู้ต้องมีการปรับเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง