รีเซต

อะจ๊ะเอ๋ตัวเอง ! กาแล็กซีแคระโผล่ใกล้กาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา

อะจ๊ะเอ๋ตัวเอง ! กาแล็กซีแคระโผล่ใกล้กาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา
TNN ช่อง16
13 ธันวาคม 2565 ( 09:12 )
107

นักดาราศาสตร์ค้นพบกาแล็กซีแคระประหลาดด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) และกล้องโทรทรรศน์อวกาศอื่น ๆ รวมถึงกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินด้วย ซึ่งกาแล็กซีแคระดังกล่าวได้รับชื่ออย่างเป็นทางการว่าเอชไอเอพีเอเอสเอส เจ1131-31 (HIPASS J1131–31) และมีชื่อเล่นว่าจ๊ะเอ๋ (Peekaboo) เนื่องจากอยู่ ๆ มันก็ปรากฏออกมาให้สังเกตุเห็น


โดยกาแล็กซีดังกล่าวอยู่ใกล้กับกาแล็กซีทางช้างเผือก (Milkyway Galaxy) ของเราและอยู่ห่างจากโลกไป 22 ล้านปีแสง ในกลุ่มดาวไฮดรา ซึ่งมีขนาดความกว้างเพียง 1,200 ปีแสง และนักดาราศาสตร์ได้คาดการณ์ว่ามันพึ่งถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 50 - 100 ปี ก่อนเท่านั้น (อ้างอิงจากอายุดาวฤกษ์ในกาแล็กซี)


องค์ประกอบโลหะต่ำมาก (Extremely Metal Poor) 

อย่างไรก็ตาม แม้มันจะเป็นกาแล็กซีอายุยังน้อย แต่กลับพบองค์ประกอบที่เป็นโลหะต่ำมาก (Extreamly Metal Poor) ซึ่งมักพบในเอกภพยุคแรกเริ่ม


"การค้นพบกาแล็กซีจ๊ะเอ๋นั้นเหมือนกับการค้นพบหน้าต่างโดยตรงสู่อดีต ทำให้เราสามารถศึกษาสภาพแวดล้อมที่สุดโต่งและดวงดาวได้ ในระดับความละเอียดที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ในเอกภพยุคแรกเริ่มอันไกลโพ้น" -  กากันดีป อานันท์ (Gagandeep Anand) นักดาราศาสตร์กล่าว


เอกภพยุคแรกเริ่ม 

โดยในช่วงยุคแรกสุดของเอกภพ เกือบทุกอย่างในเอกภพประกอบด้วยไฮโดรเจน (Hydrogen) และฮีเลียม (Helium) ธาตุเบาเหล่านี้ก่อตัวขึ้นไม่นานหลังจากบิกแบง (BigBang) เมื่อเอกภพขยายตัวและเย็นลงมากพอที่จะทำให้อิเล็กตรอนและโปรตอนสร้างพันธะและก่อตัวเป็นอะตอมแรก และด้วยเหตุนี้จึงเป็นองค์ประกอบทางเคมีชนิดแรก


องค์ประกอบเหล่านี้ก่อตัวเป็นดาวดวงแรก ซึ่งในช่วงชีวิตของพวกมันได้หล่อหลอมธาตุที่หนักกว่า เมื่อดาวฤกษ์ยุคแรกที่มีธาตุโลหะน้อยมากถึงจุดสิ้นสุดของชีวิตและระเบิดขึ้น พวกมันได้กระจายธาตุหนักเหล่านี้ไปทั่วจักรวาลเพื่อกลายเป็นรากฐานของดาวฤกษ์รุ่นต่อไป เมื่อกระบวนการนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกตลอดประวัติศาสตร์จักรวาล ดาวฤกษ์รุ่นต่อ ๆ มาแต่ละดวงก็อุดมด้วยธาตุหนักมากขึ้นเรื่อย ๆ และสร้างเอกภพที่อุดมด้วยโลหะดังปัจจุบัน


ข้อมูลจาก Space.com

ภาพจาก NASA

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง