รีเซต

เบอร์ 1 การเงินโลก "หยวนดิจิทัล" VS "ดอลลาร์" ตัวเปลี่ยนเกมสงครามการค้า

เบอร์ 1 การเงินโลก "หยวนดิจิทัล" VS  "ดอลลาร์"  ตัวเปลี่ยนเกมสงครามการค้า
TNN ช่อง16
12 พฤษภาคม 2568 ( 08:00 )
9

ใครๆก็อยากจะครองโลกการเงิน โดยเฉพาะ "จีน" และ "สหรัฐฯ" 

จับตาให้ดี เมื่อเงินหยวนดิจิทัลของจีน กำลังท้าชิง เงินดอลลาร์สหรัฐฯ 

ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและปลอดภัย

ทำในวันนี้สามารถโอนเงินข้ามโลกได้ไวแค่ 7 วินาที

ศึกระหว่างสหรัฐและจีน ไม่ใช่แค่เพียงสงครามการค้า

แต่วันนี้ต้องจับตาไปที่เครื่องมือสำคัญ อย่างสกุลเงินด้วย


ฟังแล้วหลายคนอาจจะยังงง และสงสัย

หยวนดิจิทัล คืออะไร? 

เหมือนเงินหยวนธรรมดามั้ย

หรือเหมือนบิตคอยน์ 

ปลอดภัยแค่ไหน แล้วทำไมต้องใช้ 


เงินหยวนดิจิทัลเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China: PBOC) 

เพื่อยกระดับระบบการชำระเงินของประเทศให้เข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

เป็นหนึ่งในโครงการ Central Bank Digital Currency (CBDC) ที่มีความก้าวหน้าที่สุดในโลก 


หยวนดิจิทัลเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่มีมูลค่าเทียบเท่ากับเงินหยวนกระดาษ 

และได้รับการรับรองให้ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย 

ถึงแม้ว่า หยวนดิจิทัลจะใช้เทคโนโลยี Blockchain 

แต่แตกต่างจากสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ เช่น Bitcoin หรือ Ethereum 

ตรงที่หยวนดิจิทัลไม่ได้ใช้เทคโนโลยีแบบกระจายศูนย์ (Decentralized) แต่ถูกควบคุมโดยภาครัฐ


หยวนดิจิทัล เกิดขึ้นมาเพื่อลดการพึ่งพาเงินสด 

สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมไร้เงินสดและลดต้นทุนในการจัดการเงินสด

ทำธุรกรรมทางการเงินรวดเร็วและปลอดภัยยิ่งขึ้น

ควบคุมและป้องกันการฟอกเงิน

 ลดกิจกรรมทางการเงินที่ผิดกฎหมาย

เสริมสร้างอธิปไตยทางการเงิน

ลดการพึ่งพาระบบการชำระเงินของภาคเอกชน

เสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินของประเทศ


ล่าสุดท่ามกลางสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนที่กำลังระอุ

สื่อต่างประเทศได้พากันพูดถึงหยวนดิจิทัลอีกครั้ง

กับทางการจีนได้ประกาศเปิดใช้งานระบบธุรกรรมการเงินเวอร์ชั่นใหม่ CIPS 2.0

ที่สามารถโอนเงินข้ามโลกได้ในเวลาไม่ถึง 7 วินาที 

เร็วและเหนือกว่าระบบเดิมของโลกที่เรียกว่า SWIFT

หยวนดิจิทัล กำลังเปลี่ยนระบบการเงินโลก

เมื่อธนาคารกลางจีนประกาศระบบการชำระเงินข้ามพรมแดนด้วย “หยวนดิจิทัล”

เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดเรียกกันว่า  “CIPS 2.0”

ที่เชื่อมต่อกับ 10 ประเทศอาเซียน และอีก 6 ประเทศในตะวันออกกลาง

สามารถชำระเงินในเวลา 7 วินาที โดยมีค่าธรรมเนียมลดลงถึง 98% 

ในขณะที่ระบบเดิมที่เรียกว่า SWIFT 

หรือ Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication 

ใช้เวลาทำธุรกรรมนาน 3-5 วัน และยังมีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า 

เทคโนโลยีที่เหนือกว่า และความปลอดภัยที่เหนือกว่าภายใต้ระบบบล็อกเชน 

จนเริ่มเกิดการตั้งคำถามต่อสถานะของเงินดอลลาร์สหรัฐ

เพราะจากการที่เริ่มใช้แล้วใน 16 ประเทศเอเชีย-ตะวันออกกลาง

ซึ่งหมายความว่าประมาณ 38% ของการค้าทั่วโลกตอนนี้สามารถข้ามเครือข่าย SWIFT 

ที่ใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นหลักได้แล้ว


รายงานของ Eric Yeung นักวิเคราะห์การเงิน ระบุว่า 

ระบบชำระเงินระหว่างธนาคารข้ามพรมแดนของจีนเวอร์ชันใหม่ (CIPS 2.0) 

ซึ่งขับเคลื่อนด้วยเงินหยวนดิจิทัล ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วใน 16 ประเทศ

ทั่วเอเชียและตะวันออกกลาง เรียกได้ว่า นี่คือ “กระสุนลูกแรก” 

ในช่วงเวลาของสงครามระหว่างสกุลเงินหรือ  “bloodless currency war” 

ที่มาสั่นคลอนบัลลังก์ ท้าทายความเป็นเจ้าโลกของเงินดอลลาร์สหรัฐอย่างรุนแรง


โดยเฉพาะการลองใช้งานจริง ธุรกรรมแรก หรือการโอนเงินครั้งแรกของระบบนี้

ที่รวดเร็วราวกับกระพริบตา ด้วยเวลาเพียงแค่ 7 วินาที  

นั่นคือ การชำระเงินมูลค่า 120 ล้านหยวน หรือราว 16.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

เป็นค่าชิ้นส่วนยานยนต์ จากเมืองเซินเจิ้นไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ 

ซึ่งใช้เวลาเพียง 7.2 วินาทีในการชำระเสร็จสมบูรณ์ 

แตกต่างจากระบบ SWIFT ที่อ้างอิงเงินดอลลาร์แบบดั้งเดิม

ที่ต้องใช้เวลาถึง 3 วันในการประมวลผล


ระบบการใช้จ่ายด้วยเงินหยวนดิจิทัล

เกิดมาเพื่อฆ่าดอลลาร์สหรัฐ หรือไม่ อย่างไร 

เรามาหาคำตอบกัน 


ที่ผ่านมาระบบการเงินโลกพึ่งพาระบบ SWIFT 

ระบบเก่าแก่ที่ก่อตั้งแต่ปี 1973 ที่ประเทศเบลเยียม 

เชื่อมโยงสถาบันการเงินกว่า 11,000 แห่งในกว่า 200 ประเทศและเขตแดนทั่วโลก 

ระบบ SWIFT ไม่ได้ดำเนินการโอนเงินหรือจัดการบัญชี แต่ทำหน้าที่เป็น “ผู้ส่งข้อความ”

ส่งคำสั่งการชำระเงินระหว่างธนาคาร เช่น การโอนเงินระหว่างประเทศ 

ธนาคารที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการโอนเงินจริงผ่านระบบการชำระเงินอื่น ๆ

ซึ่งมีการอ้างอิงผ่านระบบเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นหลัก 


เงินหยวนดิจิทัล กับ ระบบ CIPS 2.0 ต่างจาก SWITFT

เป็นการโอนเงินโดยตรง ใช้ระบบบล็อกเชน

ซึ่งบังคับใช้โปรโตคอลต่อต้านการฟอกเงินโดยอัตโนมัติ 

ช่วยลดความเสี่ยงจากการฉ้อโกง ในขณะเดียวกันก็ยังติดตามเงินได้ 

และที่สำคัญยังสามารถโอนเงินได้โดยไม่ต้องใช้อินเตอร์เน็ต 

ทั้งนี้นักวิเคราะห์การเงิน Eric Yeung

มองว่าการใช้เงินหยวนดิจิทัลถูกกล่าวว่าช่วยแก้ไขปัญหาหลัก 3 ประการ

ของระบบชำระเงินที่อิงกับเงินดอลลาร์ในปัจจุบัน ได้แก่

1. ลดต้นทุนการค้าระหว่างประเทศ

เช่น  การโอนเงินข้ามประเทศจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ 

ผ่านระบบ SWIFT ที่มีค่าธรรมเนียมถึง 4,950 ดอลลาร์ (4.95%) และต้องใช้เวลา 3 วัน 

แต่หากทำผ่าน CIPS 2.0 จะมีค่าใช้จ่ายเพียง 0.12 ดอลลาร์ 

และดำเนินการได้ทันที ซึ่งลดต้นทุนได้ถึง 90% ในการค้าระหว่างประเทศ


2. เทคโนโลยีที่เหนือกว่า

นอกจากความเร็วแล้ว ระบบยังมีคุณสมบัติใหม่ เช่น 

ฟีเจอร์การชำระเงินแบบออฟไลน์สองทาง (Dual Offline Payment) 

ที่ได้รับการทดสอบโดยธนาคาร DBS ในสิงคโปร์ 

ซึ่งสามารถทำธุรกรรมได้แม้ไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 

อีกทั้งยังมีการใช้เทคโนโลยีสมาร์ทคอนแทรกต์ (Smart Contract) 

ที่สามารถชำระเงินอัตโนมัติเมื่อสินค้าไปถึงท่าเรือ


3. เสริมความปลอดภัยทางการเงิน

เช่น กรณีของธนาคารกลางสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE Central Bank) 

ที่ระบบ CIPS 2.0 สามารถตรวจจับความพยายามฟอกเงินผ่าน 16 บัญชีได้ภายในเวลาเพียง 0.3 วินาที 

โดยใช้ AI ช่วยควบคุม แตกต่างจากระบบ SWIFT 

ซึ่งต้องใช้การตรวจสอบด้วยคนถึง 85% ในการคัดกรองธุรกรรมต้องสงสัย


นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังเปิดเผยอีกว่า ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN)

 ได้จัดทำแผนการเพื่อให้การค้าระหว่างกัน 90% 

ใช้เงินหยวนดิจิทัลภายในปี 2568 

ขณะที่อินโดนีเซียได้บรรจุเงินหยวนดิจิทัลไว้ในรายชื่อเงินสำรองระหว่างประเทศแล้ว 

นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า Saudi Aramco ได้เสนอขายสัญญาน้ำมันดิบให้กับ Sinopec 

โดยใช้เงินหยวนดิจิทัลถึง 65% ของมูลค่าสัญญา


พร้อมกันยังได้สรุปว่าการพัฒนานี้ไม่ใช่แค่การแข่งขันระหว่างสกุลเงิน 

แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงอารยธรรมทางการเงิน 

โดยอ้างอิงนักเศรษฐศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบลอย่าง Joseph Stiglitz 

ที่กล่าวว่าเงินหยวนดิจิทัลไม่ได้แค่แทนที่เงินดอลลาร์ 

แต่กำลังนิยามมิติใหม่ของอารยธรรมทางการเงิน 

ด้วยการเปลี่ยนระบบชำระเงินข้ามพรมแดนจากการส่งสารเฉพาะชนชั้นนำ 

ให้กลายเป็นการส่งข้อความทันทีสำหรับทุกคน


ในขณะที่สหรัฐฯ ใช้ SWIFT เป็นเครื่องมือคว่ำบาตรรัสเซีย อิหร่าน และประเทศอื่นๆ 

จีนได้สร้างระบบการชำระเงินและการชำระเงินทางเลือกสำหรับการค้าโลกขึ้นมาแทน

ทั้งนี้ธนาคารกลางจีน เปิดตัว ระบบโอน CIPS ครั้งแรกปี 2015 ปี 2023 

CIPS มีการโอนเงินกว่า 6.6 ล้านครั้ง มูลค่ากว่า 17 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  

ปี 2024 CIPS มีลูกค้า 168 ราย และทางอ้อมอีก 1,461 ราย 

จากเอเชีย ยุโรป แอฟริกา อเมริกาเหนือ 

กระทั่งล่าสุดที่ตอนนี้ปีนี้จีนได้เปิดตัวระบบโอนเงินรุ่นใหม่ CIPS 2.0 

ซึ่งเร็วกว่าเดิม ปลอดภัยกว่าเดิม 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง