รีเซต

ผู้ประกอบการสมุทรสงคราม วอนรัฐเยียวยานายจ้าง หลัง ศบค. สั่งห้ามนั่งที่ร้าน กระทบค้าขาย

ผู้ประกอบการสมุทรสงคราม วอนรัฐเยียวยานายจ้าง หลัง ศบค. สั่งห้ามนั่งที่ร้าน กระทบค้าขาย
มติชน
2 มกราคม 2564 ( 16:42 )
232
ผู้ประกอบการสมุทรสงคราม วอนรัฐเยียวยานายจ้าง หลัง ศบค. สั่งห้ามนั่งที่ร้าน กระทบค้าขาย

ผู้ประกอบการสมุทรสงคราม วอนรัฐเยียวยานายจ้าง หลัง ศบค. สั่งห้ามนั่งที่ร้าน กระทบค้าขาย หมดหวังลืมตาอ้าปากหลังปีใหม่

 

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเหตุการณ์โรคโควิด-19 ระบาดรอบ 2 ซึ่งมีผลกระทบกับบรรดาร้านอาหารและแผงลอยในจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งทางจังหวัดโดยนายชรัส บุญณสะ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ได้มีคำสั่งให้ร้านอาหารและแผงลอยค้าขายได้เฉพาะใส่ถุงกลับบ้านห้ามนั่งทานที่ร้าน ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม2563 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2564 ไปแล้วในรอบแรก และต่อมาได้มีการแพร่ระบาดมากขึ้น ซึ่งสมุทรสงครามเอง ก็มีเขตติดต่อกับสมุทรสาคร ทำให้มีอัตราการเสี่ยงติดโรคสูง และเมื่อวันที่ 2 มค.ทาง ศบค. ได้ประกาศล็อคดาวน์ 9 จังหวัด ห้ามนั่งทานอาหารในร้าน ขายได้เฉพาะใส่กล่องกลับบ้านเท่านั้น จนถึงวันที่ 15 มกราคม 2564 นั้น

 

นายภาณุมาศ รวมสุข ประธานชมรมผู้ประกอบการค้าอาหารสมุทรสงคราม กล่าวว่า ตนพร้อมกับสมาชิกชมรมทุกร้าน ก็พร้อมและยินดีที่จะปฏิบัติตามคำสั่งของจังหวัด และศบค.และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือทุกๆ ด้าน เพื่อหยุดเชื้อและความปลอดภัยของผู้บริโภค และเจ้าของร้านรวมถึงพนักงานทุกคน

 

“แม้ที่ผ่านมาสมุทรสงครามจะเป็นจังหวัดแรกที่มีคำสั่งจังหวัด ออกมาให้ขายเฉพาะกลับบ้านเท่านั้น ห้ามนั่งทานที่ร้าน ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา ทีแรกตนก็คิดและหวังว่าวันที่ 4 มกราคม 2564 คงจะเปิดร้านได้ ให้ลูกค้ามานั่งทานที่ร้านได้ เพราะจังหวัดแจ้งมาว่าคุมสถานการณ์ได้แล้ว ไม่มีการแพร่เชื้อเพิ่มขึ้นมาแล้ว 3 วัน มีผู้ติดเชื้อ 19 คนรักษาหายแล้ว 7 คน คงเหลือ 12 คน ท่านผู้ว่าฯแจ้งว่าคงจะเปิดได้เร็วๆ นี้ แต่พอ ศบค.ประกาศออกมา ว่าสมุทรสงครามเป็น 1 ใน 9 จังหวัด ที่ถูกคำสั่ง ห้ามไม่ให้นั่งทานในร้านอาหาร เป็นอันจบสิ้นความหวังกันต่อไปอีก แทนที่จะค้าขายกันได้ ต้องรอไปอีกนาน”

 

นายภาณุมาศ กล่าวอีกว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นได้รับความเดือดร้อนกันทุกภาคส่วนในจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม รีสอร์ท โฮมสเตย์และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ร้านค้าทั่วไป ทำให้ตอนนี้บรรดาร้านอาหารหมดหวังหมดกำลังใจแทนที่จะมีรายได้เข้ามาตอนเทศกาลปีใหม่ ซึ่งคราวที่แล้วเราก็ระบาดในช่วงสงกรานต์พอดี ทำให้ไม่มีรายรับ กลับมีแต่รายจ่ายให้กับลูกน้อง พนักงานที่ต้องเลี้ยงดูกันทุกวัน

 

“ทางผู้ประกอบการเองก็ไม่รู้ทางภาครัฐจะมาช่วยเยียวยากับเจ้าของกิจการอย่างไร เพราะที่ผ่านมาเยียวยาแต่ลูกจ้างพนักงาน ส่วนนายจ้างและเจ้าของกิจการต้องมารับภาระต่างๆ มากมายทั้งในเรื่องของภาษีต่างๆ ประกันสังคม และรายจ่ายอื่นๆที่ตามมาอีก จึงวอนทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านค้าร้านอาหารและแผงลอยต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบครั้งนี้ด้วยทุกช่องทางที่จะช่วยเหลือได้”

 

บทความน่าสนใจอื่นๆ

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง