เปิดคลังอาวุธกัมพูชา มีอะไรบ้าง ? จำนวนเท่าไหร่ ? และอาวุธแบบใดที่ใช้โจมตีไทยในช่วงที่ผ่านมา

กองทัพกัมพูชามีการเพิ่มกำลังโดยนำอาวุธหนักและระบบยิงทางไกลเข้าประจำการหลายรุ่น ซึ่งมีรายงานว่าได้นำมาใช้ในปฏิบัติการตามแนวชายแดนกับประเทศไทย ทั้งนี้จากข้อมูลที่รวบรวมจากแหล่งข่าวทหารและสื่อต่างประเทศ พบว่ากัมพูชามีระบบจรวดหลายลำกล้องและรถถังหลักประจำการจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาวุธยุคสงครามเย็นจากโซเวียต จีน และยุโรปตะวันออก ที่ยังสามารถปฏิบัติการได้จริงในการสู้รบยุคปัจจุบัน
อาวุธที่กัมพูชาใช้โจมตีไทย
ตามข้อมูลจากเพจเฟซบุ๊ก “กองทัพภาคที่ 2” และสื่อต่างประเทศได้กล่าวถึงอาวุธที่กัมพูชาใช้ในการโจมตีต่อไทย ดังนี้
ระบบจรวดหลายลำกล้อง BM-21
ระบบจรวดหลายลำกล้องยุคโซเวียตในปี 1963
ฐานยิงเป็นรถบรรทุกล้อยาง
มีประจำการในกัมพูชา (ก่อนการปะทะ) 200 ชุด
ระยะการยิง 20 - 52 กิโลเมตร (อยู่ที่ประเภทหัวรบ)
จรวดขนาด 122 มิลลิเมตร
ยิงได้ครั้งละ 2 นัด
ความเร็วปากลำกล้อง 690 เมตรต่อวินาที
ระบบจรวดหลายลำกล้อง PHL-81
ระบบของจีนที่มีพื้นฐานจาก BM-21
มีประจำการในกัมพูชา (ก่อนการปะทะ) 100 ชุด
ระยะการยิง 40 กิโลเมตร (ตามที่กองทัพภาคที่ 2 ระบุ)
ตัวฐานล้อยางมีระยะเดินทาง 450 กิโลเมตร
ความเร็วตัวรถบรรทุกฐานยิง 55 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ระบบจรวดหลายลำกล้อง Type-90B
หนึ่งในรุ่นย่อย (Variant) ของ PHL-81
มีประจำการในกัมพูชา (ก่อนการปะทะ) 25 ชุด
ระยะการยิง 40 กิโลเมตร (ตามที่กองทัพภาคที่ 2 ระบุ)
จรวดขนาด 122 มิลลิเมตร
ปรับปรุงฐานยิงเป็นรถบรรทุกล้อยาง Beifang Benchi 2629
ระบบจรวดหลายลำกล้อง RM-70
ระบบของเชโกสโลวาเกียที่มีพื้นฐานจาก BM-21
มีประจำการในกัมพูชา (ก่อนการปะทะ) 50 ชุด
1 ชุด มี 40 ท่อยิง
ระยะการยิง 40 กิโลเมตร
ตัวฐานล้อยางมีระยะเดินทาง 400 กิโลเมตร
ความเร็วตัวรถบรรทุกฐานยิง 85 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ระบบจรวดหลายลำกล้องของกัมพูชา ภาพ Reuters
รถถังหลัก (MBT) T-54/55 จากโซเวียต หรือ Type-59 จากจีน
ทั้งหมดเป็นรถถังแบบเดียวกัน
เปิดตัวครั้งแรกในปี 1948
กัมพูชาทยอยสั่งซื้อ T-54/55 มือ 2 จากประเทศต่าง ๆ ระหว่าง 1983 - 2010
จำนวนรวม 300 คัน (ก่อนการปะทะ)
ส่วน Type-59 เปิดตัวในปี 1985
กัมพูชาจัดหารวม 50 คัน (ก่อนการปะทะ)
ปืนหลักขนาด 100 มม.
ความเร็วสูงสุด 51 กิโลเมตร/ชั่วโมง (50 กม./ชม. สำหรับ Type-59)
ภาพรถถัง Type-59 จากจีน, Wikicommons
อาวุธที่กัมพูชาที่ยังไม่ได้ใช้โจมตีไทยโดยตรง
ระบบจรวดหลายลำกล้อง PHL-03
ระบบยิงจรวดหลายลำกล้องขนาด 300 มิลลิเมตร
ฐานเคลื่อนที่บนรถบรรทุกขนาดใหญ่
เปิดตัวในปี 2004 ที่จีน
เข้าประจำการกัมพูชาในปี 2023 จำนวน 6 ระบบ
รองรับการควบคุมการยิงด้วยคอมพิวเตอร์
นำวิถีด้วยสัญญาณตำแหน่งแบบ GPS/GLONASS/BeiDou
บรรจุจรวดได้ทั้งหมดครั้งละ 12 ลูก
ทำลายเป้าหมายบุคคล รถถัง และอาคาร
รองรับจรวดทั้งหมด 4 รูปแบบ ได้แก่
BRC3 จรวดไม่นำวิถี (Unguided rockect) ระยะยิง 70 กิโลเมตร
BRC4 จรวดไม่นำวิถี ระยะยิง 130 กิโลเมตร
BRE2 จรวดไม่นำวิถีต่อต้านรถถัง ระยะยิง 130 กิโลเมตร
Fire Dragon 140A จรวดนำวิถีต่อต้านรถถัง ระยะยิง 130 กิโลเมตร
ระบบจรวดต่อต้านอากาศยาน PHL-03, Wikicommons
ระบบจรวดต่อต้านอากาศยาน KS-1C
รับมอบจากจีนในปี 2023 จำนวน 4 ระบบ
น้ำหนัก 900 กิโลกรัม
1 ชุด มีท่อยิงจรวด 2 ท่อ
น้ำหนักหัวรบ 100 กิโลกรัม
ความเร็ว 1,200 เมตรต่อวินาที
ระยะการยิง 50 กิโลเมตร
เพดานการยิงสูงสุด 25 กิโลเมตร
เรดาร์ HT-233 รัศมีค้นหา 70 กิโลเมตร
ภาพทหารกัมพูชาทำการรับมอบ KS-1C จาก MilitaryLeak.com
เฮลิคอปเตอร์ Z-9
เฮลิคอปเตอร์แบบพหุภารกิจของจีน
กัมพูชามีทั้งหมด 9 ลำ
ใช้นักบิน 1 คน รองรับผู้โดยสาร 10 คน
ความเร็วการบิน 260 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ระยะการบิน (Ferry Range) 1,000 กิโลเมตร
จุดติดตั้งอาวุธ (Hardpoint) 2 จุด
รองรับปืนใหญ่ 23 มิลลิเมตร
รองรับจรวดต่อต้านรถถังแบบ Wire-Guided HJ-8/HJ-8E ได้
สำหรับ HJ-8/HJ-8E 1 ชุด ยิงได้สูงสุด 8 นัด ระยะการยิง 3 - 4 กิโลเมตร
ภาพเฮลิคอปเตอร์แบบ Z-9, Wikicommons
Tag
ยอดนิยมในตอนนี้
