รีเซต

รวมมุก "แก๊งคอลเซนเตอร์" มักนำมาใช้ เจอแบบนี้รู้ไว้เลย อย่าโอน!

รวมมุก "แก๊งคอลเซนเตอร์" มักนำมาใช้ เจอแบบนี้รู้ไว้เลย อย่าโอน!
NewsReporter
14 มิถุนายน 2565 ( 15:55 )
5.3K
รวมมุก "แก๊งคอลเซนเตอร์" มักนำมาใช้ เจอแบบนี้รู้ไว้เลย อย่าโอน!

แก๊งคอลเซ็นเตอร์ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง สร้างความเสียหายจนบางรายสูญเงินไปเป็นล้าน มีหลากหลายมุกมาสร้างสถานการณ์ให้เราต้องกังวล มาดูกันว่าที่ผ่านมา มุกยอดฮิตที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้หลอกเหยื่อ มีวิธีไหนบ้าง⁉️ TrueID รวบรวมมาให้แล้ว

 

รวมมุกที่ แก๊งคอลเซนเตอร์ มักนำมาใช้

  • ทวงหนี้นอกระบบ
แก๊งคอลเซ็นเตอร์จะสุ่มโทร. หาเหยื่อ แล้วอ้างว่า มีคนกู้เงินจำนวนเท่านั้น เท่านี้ (ส่วนใหญ่หลักพัน) โดยให้ชื่อเหยื่อกับเบอร์โทรศัพท์ไว้ หรืออ้างว่าญาติของเหยื่อไปกู้เงินมา แล้วให้ชื่อเหยื่อเป็นคนจ่ายหนี้แทน
 
  • โอนเงินผิดบัญชี หลอกให้โอนกลับ
หลอกโอนเงินเข้าบัญชีของเหยื่อ ในช่วงเวลากลางคืนที่คาดว่าเหยื่อน่าจะหลับไปแล้ว แต่ต้องงัวเงียมารับโทรศัพท์ที่โทรมากลางดึกด้วยเสียงร้อนใจหรือส่งข้อความ sms มาปลุกกลางดึก ว่ามีการโอนเงินเข้า prompt pay ผิดบัญชี ขอให้โอนเงินกลับมา โดยอาจจะให้เลขบัญชีมิจฉาชีพต่ออีกที เพื่อให้เหยื่อโอนเงินต่อ วิธีการของมิจฉาชีพอาจซับซ้อนหรือแยบยลกว่านั้น เพราะบัญชีที่คุณกำลังจะโอนกลับไปนั้น อาจกลายเป็น บัญชีที่ซื้อของผิดกฎหมาย และสุดท้ายความเจตนาที่โอนคืนไวของเรานี่แหล่ะ จะกลายเป็นภัยที่สร้างความเดือดร้อนให้ตัวคุณเอง
 
  • ให้ไปจ่ายภาษีจากสรรพากร
ปลอมเป็น Call Center โดยจะโทรศัพท์ไปถึงผู้เสียภาษี อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากกรมสรรพากร ขอตรวจสอบเรื่องเงินภาษี การขอคืนภาษี รวมทั้งหลอกสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เสียภาษีเปิดเผยข้อมูลด้านการเงินและให้ไปทำธุรกรรมที่ตู้ ATM ซึ่งมีผู้เสียภาษีหลายรายหลงเชื่อสูญเสียเงินไปจำนวนมาก
 
  • บอกว่ามียอดค้างชำระบัตรเครดิต
แก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่มักแอบอ้างเป็นธนาคารคือ โทรแจ้งว่าลูกค้าติดหนี้บัตรเครดิต และขอให้ลูกค้ารีบชำระเงินโดยด่วนด้วยการโอนเงินเข้ามายังบัญชีที่หลอกลวง
 
  • ชวนสมัครงาน จากชอปปี้ ลาซาด้า
อ้างเป็น Call Center อ้างมาจาก shopee Lazada บอกว่า คุณมีเงือนไข คุณสมบัติตรงกับทางบริษัทเรา ตอนนี้เราต้องการผู้ช่วยทำงานออนไลน์รายได้วันละ 300 ถึง 500 บาท สนใจกดที่ลิงก์ หรือ ค้นหาที่ Google จุด จุด จุด พอเราวางสายก็มีsmsที่มีลิงค์ส่งมา อาจจะถูกฝั่งโปรแกรมแฮกข้อมูลมือถือเรา เช่นรหัสเข้า appธนาคาร รหัสเข้าเฟส เข้าไลน์ อีเมล์ของเรา
 
  • พัสดุมียาเสพติด
แก๊งคอลเซ็นเตอร์ตีเนียนโทรหาเหยื่อ อ้างพัสดุที่ส่งไปต่างประเทศมีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด จะต้องคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งที่เหยื่อไม่เคยส่งอะไรไปเลย ซึ่งถ้าหากเหยื่อหลงกล ก็จะมีการหลอกให้โอนเงินหลักหมื่นหลักแสนมาให้เพื่อไปตรวจสอบ กว่าจะรู้ตัวว่าโดนหลอกก็สายไปแล้ว
 
  • หลอกว่าเกี่ยวข้องกับคดีฟอกเงิน
แก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกว่าเกี่ยวข้องกับคดีฟอกเงิน แสดงตัวเองว่าเป็นเจ้าหน้าที่ ปปง. อ้างว่าเหยื่อเกี่ยวพันกับคดีฟอกเงิน ให้โอนเงินเพื่อมาตรวจสอบ สุดท้ายถูกหลอก สูญเงินไป...
 
  • หลอกว่าเป็นบริษัทประกัน
แก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรศัพท์มาอ้างเป็นเจ้าหน้าที่บริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง มีการพูดคุยเรื่องรับสินไหม ต่อมาโอนสายให้คุยกับบุคคลที่อ้างว่าเป็นตำรวจ หลอกมีผู้นำบัญชีไปใช้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ต้องอายัดบัญชีแต่ถ้าหากใช้เงิน ต้องโอนเงินกลับไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสุดท้ายถูกหลอก
 
  • บอกว่ามีพัสดุตีกลับจาก ปณ.ไทย หรือได้รับรางวัล/มีของผิดกฏหมาย
แอบอ้างใช้ช่องทางไปรษณีย์ไทยหาผลประโยชน์ โดยมีรูปแบบและพฤติกรรมที่ต้องพึงระวัง ได้แก่ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไทย ติดต่อผู้ใช้บริการผ่านช่องทาง โทรศัพท์ SMS ไลน์ อีเมลล์ หลอกล่อให้ผู้ใช้บริการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ซื้อสินค้าในราคาต่ำกว่าปกติ หลอกว่าผู้ใช้บริการได้ส่งสิ่งของผิดกฎหมาย สร้างอีเมลปลอมหลอกให้คลิกลิงค์  แอบอ้างประกาศรับสมัครงานผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ปลอมแอบอ้างชื่อไปรษณีย์ไทยแจกรางวัล หลอกให้ลงลายมือชื่อรับพัสดุที่ไม่ได้สั่ง
 
  • บอกว่ามีพัสดุตีกลับจาก DHL
  1. โทรมาแจ้งว่ามีพัสดุจัดส่ง โดยให้กดหมายเลขเพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 
  2. โทรมาแจ้งว่าพัสดุจากต่างประเทศติดศุลกากร และไม่สามารถจัดส่งได้ ต้องแอดไลน์ หรือโอนเงินเข้าบัญชีส่วนตัวเพื่อเคลียร์ของ
  3. โทรมาแจ้งว่าคุณได้รับรางวัลและของอยู่ในระหว่างจัดส่ง แต่ต้องแจ้งข้อมูลส่วนบุคคล หรือชำระค่าภาษีนำเข้า โดยที่คุณเองไม่ได้มีประวัติการร่วมกิจกรรมในลักษณะดังกล่าวแต่อย่างใด
  4. โทรเข้ามากล่าวหาว่าส่งของผิดกฎหมาย และหลอกให้โอนเงินเพื่อเคลียร์คดี หรือโอนสายให้เคลียร์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจทางโทรศัพท์
  5. อ้างว่าคุณเป็นผู้ต้องหาคดีฟอกเงิน มีประวัติส่งพาสปอร์ต บัตร ATM ไปประเทศจีน ฯลฯ
  6. ส่งข้อความ SMS อ้างว่าเป็น DHL ชวนให้คลิกลิงค์ดาวน์โหลดและติดตั้งแอพบนมือถือ
 

แนวทางรับมือเบื้องต้น

1. "ไม่เชื่อ" ไม่หลงเชื่อข้อมูลทางโทรศัพท์ทางเดียว ให้ติดต่อกลับ หน่วยงานราชการที่ได้รับอ้างถึง หรือ โทร 191 พื่อยืนยันอีกครั้ง

2. "ไม่บอก" ข้อมูลทางการเงินเป็นความลับ ต้องไม่ให้ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลการทำธุรกรรม Online , รหัส OTP ที่ได้รับผ่าน SMS แก่ผู้อื่น

3. "ไม่โดนหลอก" ห้ามโอนเงินตามคำบอกเด็ดขาด

 

คำแนะนำ และข้อควรปฏิบัติ

- เมื่อมิจฉาชีพติดต่อเข้ามาในลักษณะข้างต้น ลูกค้าควรติดต่อหน่วยงานราชการด้วยตนเองอีกครั้ง หรือ ปรึกษาหารือกับคนในครอบครัว ไม่ควรเชื่อข้อมูลจากบุคคลในโทรศัพท์

- แนะนำให้ติดตั้ง Application ไว้ใช้แจ้งเตือนก่อนรับสายโทรศัพท์ เช่น Who's call

- ไม่เปิดบัญชีให้บุคคลอื่นใช้ หรือ รับจ้างขายบัญชี

 

ข้อมูล : PCT Police , บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

 ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง