รีเซต

วันศิลปินแห่งชาติ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ประวัติวันศิลปินแห่งชาติ

วันศิลปินแห่งชาติ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ประวัติวันศิลปินแห่งชาติ
TrueID
7 กุมภาพันธ์ 2566 ( 10:36 )
207

วันศิลปินแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของศิลปิน เพราะเป็นวันศิลปินแห่งชาติ วันศิลปินแห่งชาติตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ซึ่งเป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถมากมายไม่ว่าจะเป็น ด้านกวีนิพนธ์ ด้านดนตรี และด้านประติมากรรม ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ให้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันศิลปินแห่งชาติ 

วันศิลปินแห่งชาติ

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยถือเป็นเอกอัครศิลปินที่ยิ่งใหญ่เอกอัครศิลปินที่ยิ่งใหญ่ ผู้มีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขาทั้งทางด้านประติมากรรม ได้ทรงร่วมกับช่างประติมากรรมฝีมือเยี่ยมในสมัยนั้นแกะสลักบานประตูไม้พระวิหารวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นลายเครือเถารูปป่าหิมพานต์นับเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยม ด้านวรรณกรรม ถือว่าทรงเป็นกวีเอกแห่งแผ่นดินพระองค์หนึ่ง ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมไว้จำนวนมากมายหลายเรื่อง เช่น อิเหนา นอกจากนี้ ยังทรงพระราชนิพนธ์บทละครนอกไว้ถึง 5 เรื่อง ได้แก่ ไกรทอง พระไชยเชษฐ์ คาวี สังข์ทอง และมณีพิชัย และยังทรงได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกสาขาวรรณกรรม

 

ศิลปินแห่งชาติสำคัญอย่างไร

ศิลปินแห่งชาติ ถือเป็นบุคคลสำคัญทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่ได้สืบสานและเชื่อมโยงอดีตกับปัจจุบัน ผู้ซึ่งถ่ายทอดความเป็นมาและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษให้คนรุ่นหลังได้สืบทอดและรุ่งเรืองต่อไป ซึ่งผู้ที่ได้เป็นศิลปินแห่งชาติจะได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 20000 บาท และสามารถเบิกเงินสวัสดิการเพื่อรักษาพยาบาล รวมถึงรับค่าช่วยเหลือในกรณีประสบเหตุต่าง ๆ 

 

เกณฑ์การคัดเลือกศิลปินแห่งชาติมีอะไรบ้าง

สำหรับหลักเกณฑ์การคัดเลือกศิลปินแห่งชาตินั้น  ประกอบด้วย 3 หลักเกณฑ์ด้วยกัน  คือ

            เกณฑ์ที่ 1.  คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ ซึ่งมี 6 ประการ  ได้แก่ เป็นผู้มีสัญชาติไทยและยังมีชีวิตอยู่ในวันตัดสิน / เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับของวงการศิลปะแขนงนั้น / เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะแขนงนั้นๆ / เป็นผู้ผดุง ถ่ายทอดหรือเป็นต้นแบบศิลปะแขนงนั้น / เป็นผู้มีคุณธรรม และมีความรักในงานศิลปะของตน / และเป็นผู้มีผลงานที่ยังประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ

           เกณฑ์ที่ 2. คุณค่ามาตรฐานผลงานศิลปะของศิลปินแห่งชาติ เช่น  ผลงานต้องสื่อให้เห็นถึงคุณค่าในความดี  ความงาม  คุณค่าทางอารมณ์  สะท้อนความเป็นธรรมชาติ  หรือสถานภาพทางสังคม และวัฒนธรรมแห่งยุคสมัย  ค่านิยม จริยธรรม เอกลักษณ์ของท้องถิ่นและเอกลักษณ์ของชาติ/ผลงานสร้างสรรค์มีเอกลักษณ์เฉพาะตนไม่ลอกเลียนแบบจากผู้อื่นหรือมีกลวิธีเชิงสร้างสรรค์  เป็นต้น

           เกณฑ์ที่ 3. การเผยแพร่และยอมรับคุณค่าผลงานของศิลปินแห่งชาติ ประกอบด้วย ผลงานที่ได้รับการจัดแสดงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง มีหลักฐานอ้างอิง โดยเป็นผลงานที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิด พัฒนาการทางงานศิลปะอย่างเด่นชัด / ผลงานได้รับรางวัลหรือเกียรติคุณระดับท้องถิ่น ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ ซึ่งมีกระบวนการพิจารณาเป็นมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ การคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ  จะคัดเลือกใน 3 สาขา  ได้แก่

           1. สาขาทัศนศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่มองเห็นได้ด้วยตา  แบ่งเป็น วิจิตรศิลป์  และประยุกต์ศิลป์ ส่วนที่เป็น วิจิตรศิลป์ ได้แก่  จิตรกรรม  ประติมากรรม  ภาพพิมพ์  สื่อผสม และภาพถ่าย ส่วนประยุกต์ศิลป์ ได้แก่ สถาปัตยกรรมแบบประเพณีและร่วมสมัย / มัณฑศิลป์ / การออกแบบผังเมือง / การออกแบบอุตสาหกรรม และประณีตศิลป์ เป็นต้น

           2. สาขาวรรณศิลป์  หมายถึง บทประพันธ์ที่แต่งอย่างมีศิลปะทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง  มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ความรู้สึกสะเทือนใจ ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการและกลวิธีเสนอเรื่องที่น่าสนใจ

           3. สาขาศิลปะการแสดง หมายถึง ศิลปะที่มีการแสดง  ซึ่งเป็นได้ทั้งวิจิตรศิลป์  ประยุกต์ศิลป์ รวมทั้งศิลปะพื้นบ้าน ได้แก่ การแสดง ดนตรี และการแสดงพื้นบ้าน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. ดนตรีไทยและนาฏศิลป์ไทย 2. ดนตรีสากลและนาฏศิลป์สากล 3. ภาพยนตร์และละคร

            เมื่อทำการคัดเลือกและได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว ศิลปินแห่งชาติที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจะเข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ผู้แทนพระองค์) ซึ่งเข็มเชิดชูเกียรติดังกล่าวมีความหมายว่า "ความเป็นปราชญ์ในความรู้ความสามารถของศิลปินที่ได้อุตสาหะอุทิศตนสร้างสรรค์ผลงานในด้านศิลปะไว้มากมายจนเป็นมรดกอันล้ำค่าทางวัฒนธรรมของชาติทั้งในสาขาวรรณศิลป์ ทัศนศิลป์และศิลปะการแสดง”

 

ศิลปินแห่งชาติ มีคุณสมบัติอย่างไร

  • เป็นผู้มีสัญชาติไทยและยังคงมีชีวิตอยู่
  • เป็นบุคคลที่มีความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับและนับถือ
  • เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะแขนงนั้นตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
  • เป็นผู้ถ่ายทอดและบอกกล่าวเรื่องราวของศิลปะแขนงนั้น
  • เป็นผู้ปฏิบัติงานศิลปะแขนงนั้นในปัจจุบัน
  • เป็นคนมีคุณธรรมและรักในวิชาชีพของตนเอง
  • เป็นผู้มีผลงานและทำประโยชน์ต่อมนุษย์และประเทศชาติ

 

ผู้ที่ได้รับการประกาศยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติจะได้รับอะไรบ้าง?

  1. รับเงินรายเดือน ตลอดระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่ จำนวน 25,000 บาทต่อเดือน
  2. ค่ารักษาพยาบาลว่าด้วยเงินสวัสดิการ เว้นแต่มีสิทธิ์เบิกจากหน่วยงานอื่น โดยให้เบิกจากหน่วยงานนั้นก่อน ถ้าเบิกจากหน่วยงานนั้นได้ต่ำกว่าสิทธิตามพระราชกฤษฎีกา ให้มีสิทธิเบิกในส่วนที่ยังขาดอยู่ได้อีก (ภายในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาทต่อปีงบประมาณ)
  3. ค่าช่วยเหลือเมื่อประสบสาธารณภัย เท่าที่เสียหายจริง ไม่เกิน 50,000 บาทต่อครั้ง
  4. ค่าของเยี่ยมในยามเจ็บป่วยหรือโอกาสสำคัญเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 3,000 บาทต่อครั้ง 5.เงินช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิต เพื่อร่วมบำเพ็ญกุศลศพ 20,000 บาท
  5. เงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิต เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 150,000 บาท

 

ที่มาข้อมูล : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง