DIF 'กสิกรไทย' ชี้ DPU แนวโน้มขาลงถึง Q4/67
บล.กสิกรไทย ส่องหุ้น DIF ไตรมาส 2/2566 มีกำไรสุทธิ 2.77 พันลบ. หากไม่รวมผลขาดทุนจากการปรับมูลค่าสินทรัพย์ 229.4 ลบ. กำไรปกติอยู่ที่ 3.0 พันลบ. หรือ core EPU ที่ 0.282 บาท ลดลง 2.6% YoY 1.2% QoQ จากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น core EPU ไตรมาส 2/2566 ต่ำกว่าที่ฝ่ายวิจัยคาด 0.5% core EPU ในครึ่งแรกของปี 2566 คิดเป็น 54.7% ของการคาดการณ์ core EPU ในปี 2566 ของฝ่ายวิจัย เมื่อวันที่ 3 ส.ค. DIF ประกาศ DPU ในไตรมาส 2/2566 ที่ 0.237 บาท คิดเป็นอัตราการจ่ายเงินปันผลที่ 83.9% และอัตราตอบแทนเงินปันผลต่อปีที่ 9.5% DIF มีกาหนดขึ้นเครื่องหมาย XD ในวันที่ 15 ส.ค.นี้ และจ่ายเงินปันผลในวันที่ 7 ก.ย.
การดำเนินงาน รายได้ไตรมาส 2/2566 อยู่ที่ 3.59 พันลบ. ลดลง 0.3% YoY และ 0.6% QoQ จากการรับรู้รายได้ค่าเช่าจาก DTAC ที่ลดลง ค่าใช้จ่ายดำเนินงานในไตรมาส 2/2566 อยู่ที่ 76.0 ลบ. ลดลง 1.5% YoY แต่เพิ่มขึ้น 0.2% QoQ สอดคล้องกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของ DIF ดอกเบี้ยจ่ายในไตรมาส 2/2566 เพิ่มขึ้น 17.5% YoY และ 2.6% QoQ เป็น 509.4 ลบ. จากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น DIF มีหนี้คงค้าง 2.65 หมื่นลบ. ชำระหนี้ไตรมาส 2/2566 จำนวน 545.1 ลบ. ส่งผลให้กำไรที่เป็นเงินสดหลังชำระหนี้อยู่ที่ 2.5 พันลบ. หรือ 0.231 บาท/หน่วย DIF จะจ่ายเงินปันผลต่อหน่วยลงทุน (DPU) จำนวน 0.237 บาท จากการดำเนินงานไตรมาส 2/2566 คิดเป็น 102% ของเงินสดสุทธิ
เงินปันผล นับเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกันที่ DPU ของ DIF ลดลง ซึ่งส่งสัญญาณเชิงลบต่อตลาดค่อนข้างมาก ฝ่ายวิจัยคาดว่า DPU ของ DIF สำหรับไตรมาส 3/2566 - 4/2566 จะอยู่ที่ 0.237 บาท/0.237 บาท ซึ่งรวมการชำระหนี้จำนวน 545.1 ลบ.ในไตรมาส 4/2566 โดยในปี 2567 คาดว่า DPU ของ DIF จะลดลง 3.1% เนื่องจาก DTAC มีแนวโน้มที่จะยกเลิกสัญญาเช่า ซึ่งคิดเป็น 7.9% ของความจุ Tower slot ของ DIF และคิดเป็น 3% ของรายได้ของ DIF เราคาดว่า DPU ปี 2568 จะทรงตัวที่ 0.91-0.97 บาทจนถึงปี 2576
ความเคลื่อนไหวของราคาหน่วยลงทุน ในเชิง YTD ราคาหน่วยลงทุนของ DIF ลดลง 24.6% (-5% เมื่อปีก่อน) ขณะที่ของ JASIF ลดลง 14.9% (-21.8% เมื่อปีก่อน) เทียบกับ SET ที่ลดลง 8.0%, SETPREIT ที่ลดลง 10.3% YTD และ KSIFF ที่ลดลง 16.7% อิงจากราคาหน่วยลงทุนขณะนี้ คาดว่า DIF จะมี market IRR ที่ 9.6%
แนะนำ “ซื้อ” คงประมาณการ core EPU ปี 2566-68 ราคาเป้าหมายสิ้นปี 2567 อิงด้วยวิธีกระแสเงินสดส่วนลด (DCF) ที่ 14.7 บาท และคำแนะนำ “ซื้อ” สำหรับ DIF ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการปรับคำแนะนำ ได้แก่ 1) ไม่มีสัญญาณจาก TRUE ที่จะขายหุ้นเพิ่มเติม และ 2) การรักษาเสถียรภาพ DPU ของ DIF
ปัจจัยฉุดหลัก ฝ่ายวิจัยเชื่อว่าสาเหตุหลักสองประการที่ทำให้ราคาหน่วยลงทุนของ DIF อ่อนแอลง ได้แก่ 1) สัญญาเช่าที่เหลืออยู่ซึ่งมีระยะเวลาสั้นกว่า 10 ปี และ 2) DPU ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในปี 2566-2567 การหดตัวของ DPU น่าจะมาจาก 1) การยกเว้นภาษีเงินปันผลที่หมดอายุ 2) สิ้นสุดสัญญาเช่า Last Mile กับ TRUE ณ สิ้นปี 2564 (คิดเป็น -2.1% ของรายได้) 3) ยอดชำระหนี้เพิ่มขึ้น 1.09 พันลบ.ในปี 2566, 1.25 พันลบ. ในปี 2567 และ 1.25 พันลบ. ในปี 2568 เทียบกับ 556.6 ลบ./652.5 ลบ./749.3 ลบ. ภายใต้ระยะเวลาชำระหนี้เดิม และ 4) การยกเลิกสัญญาเช่าของ DTAC ในเดือนมี.ค. 2567 ที่มีแนวโน้ทจะเกิดขึ้น (3% ของรายได้)
ปัจจัยเสี่ยงหลัก คาดจะมาจาก 1) อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและการชำระคืนเงินกู้ที่มากขึ้นภายในสิ้นปี 2566 2) THOR ที่สูงขึ้นและ 3) ไม่มีการต่อสัญญาเช่าหรืออัดฉีดทรัพย์สินใหม่