รีเซต

นิคมฯสมาร์ท ปาร์ค ประกาศเจตนารมณ์มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ปี 2593

นิคมฯสมาร์ท ปาร์ค ประกาศเจตนารมณ์มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ปี 2593
มติชน
10 พฤษภาคม 2565 ( 13:40 )
60
นิคมฯสมาร์ท ปาร์ค ประกาศเจตนารมณ์มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ปี 2593

นายนรินทร์ กัลยาณมิตร ประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(บอร์ด กนอ.) กล่าวว่า รัฐบาลได้กำหนดให้ต้องบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2593 ผ่านการดำเนินกิจกรรมด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Economy การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ในฐานะรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาและบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรม มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนเป้าหมายดังกล่าว ด้วยการยกระดับมาตรฐานการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม โดยเป็นผู้นำในการลดก๊าซเรือนกระจก สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในหลายมิติ เช่น การส่งเสริมการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการจัดทำมาตรการหรือสิทธิประโยชน์เพื่อสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ประกอบการ

 

“การพัฒนานิคมอุตสาหกรรม Smart Park ในพื้นที่มาบตาพุด ซึ่งถือเป็นนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ จะก้าวข้ามการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในพื้นฐานเดิม เพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง หรือ New S-Curve เสริมสร้างความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่ทันสมัย ปลอดภัย ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ ภายใต้แนวคิด “นิคมอุตสาหกรรมที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน” มุ่งเน้นความเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลจากการเผาเพื่อผลิตความร้อน และไม่อนุญาตให้มีปล่องระบายมลพิษทางอากาศ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการ Carrying Capacity ที่ไม่อนุญาตให้มีการระบายมลพิษทางอากาศเพิ่มเติมในพื้นที่มาบตาพุด รวมทั้งลดการปล่อยมลพิษทางการจราจรและขนส่ง” นายนรินทร์ กล่าว

 

ด้านนายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวเสริมว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้แสดงเจตจํานงต่อภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในการลดก๊าซเรือนกระจกของภาคอุตสาหกรรม ให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2593 กนอ. ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ที่มีภารกิจหลักด้านการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม และจัดให้มีบริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่จำเป็นต่อการประกอบอุตสาหกรรม รวมทั้งระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม จึงกำหนดนโยบายเพื่อมุ่งมั่นสู่การเป็นผู้นำในการลดก๊าซเรือนกระจก และสนับสนุนให้กับผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรม/ท่าเรืออุตสาหกรรม ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพกนอ.ทำสัญญาจ้างก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม Smart Park กับ บริษัท เทิดไท แอนด์ โค จำกัด เริ่มต้นงานก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2564 โดยกำหนดแล้วเสร็จพร้อมเปิดดำเนินกาได้ภายในปี 2567 ทั้งนี้ กนอ.ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย ส่งเสริมการใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกในการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม Smart Park ซึ่งปูนชนิดนี้มี

 

วิธีการผลิตเช่นเดียวกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา แต่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ และได้รับการรับรองตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก (มอก. 2594-2556) การก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม Smart Park จำเป็นต้องใช้คอนกรีตผสมเสร็จประมาณ 120,000 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นปริมาณปูนซีเมนต์ประมาณ 40,000 ตัน บริษัท เทิดไท แอนด์ โค จำกัด ผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการ ได้ตอบรับนโยบายของ กนอ. ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ ไฮดรอลิก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์การก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทดแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดาทั้งหมด ทำให้สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระยะก่อสร้างได้ถึงประมาณ 2,000,000 กิโลกรัม หรือเท่ากับปลูกต้นไม้ประมาณ 200,000 ต้น

 

เพื่อให้เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของนิคมอุตสาหกรรม Smart Park สัมฤทธิ์ผล กนอ. จะส่งเสริมการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการพลังงานภายในนิคมอุตสาหกรรม Smart Park ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ส่งเสริมการใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดทดแทนการพึ่งพาเชื้อเพลิงจากฟอสซิล เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานไฮโดรเจน และพลังงานชีวภาพ เป็นต้น รวมถึงส่งเสริมระบบการขนส่งภายในโครงการที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาดและปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ คาดว่าจะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระยะดำเนินการได้ถึงร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับนิคมอุตสาหกรรมที่พัฒนาบนพื้นฐานเดิม
“กนอ. จะปลูกต้นไม้ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม Smart Park เพื่อเป็นแนวกันชนเชิงนิเวศ และทำหน้าที่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ โดยคาดว่าจะลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศได้มากกว่า 500 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง