รีวิว "ชิป M1" ของ Apple
TNN ช่อง16
19 พฤศจิกายน 2563 ( 14:24 )
583
ขอแจ้งก่อนนะครับ ว่ารีวิวนี้เป็นข้อมูลจากสื่อเมืองนอก ที่ได้หยิบเอา MacBook Pro, MacBook Air และ Mac Mini ที่รันด้วยชิป Apple M1 มาทดสอบเปรียบเทียบ และทดลองใช้ โดยชิป Apple M1 เป็นชิป 8 คอร์ มีหน่วยประมวลผล (EUs) 128 รองรับ 25,000 เทรด พลังประมวลผล 2.6 TFLOPS (คาดว่าวัดจากประสิทธิภาพ single-precision FP32) ซึ่งใกล้เคียงกับชิป Radeon RX 560 ที่ 2.6 TFLOPS และ GeForce GTX 1650 ที่ 2.9 TFLOPS
- จากการทดสอบตัวชิปด้วย GFXBench 5.0 พบว่า GPU ของ M1 สามารถทำงานได้ตามที่ Apple ระบุเอาไว้จริง ๆ โดยมีค่า fps สูงกว่าการ์ดจอ Radeon RX 560 และ GeForce GTX 1650
- ชิป M1 ยังสามารถทำประสิทธิภาพได้สูสีกับการ์ดจอแยกที่ใช้พลังงานระดับ 75W ภายใต้ค่า TDP ที่ต่ำกว่ามากได้อีกด้วย
- แอปที่สามารถรันบน ARM แบบเนทีฟของ M1 ยังมีน้อยอยู่ แต่แอปของ Apple เอง สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิม
- แอป Adobe ที่ยังเป็น x86 เมื่อรันผ่าน Rosetta 2 กลับพบว่ามีประสิทธิภาพดีกว่าเดิม
- ผลเบนช์มาร์ค : ชิป M1 อยู่ในระดับท็อปของแทบทุกผลการทดสอบ โดย M1 ส่วนใหญ่มีผลคะแนนเบนช์มาร์คที่เหนือกว่าโปรเซสเซอร์แบบประหยัดพลังงานที่ใช้บนแล็บท็อปแบบคอร์เดียว แต่แพ้ให้กับโปรเซสเซอร์ระดับเดสก์ท็อปในบางการทดสอบ ไปจนถึงการเบนช์มาร์กแบบหลายคอร์
- ทดสอบบีบอัดด้วยไฟล์ gzip เพื่อวัดพลัง CPU จากการใช้งานจริง : ในการทดสอบแบบคอนฟิกให้รันโพรเซสเท่าจำนวนคอร์ ตัวชิป M1 ทำได้ใกล้เคียง Ryzen 7 4700U ที่เป็น 8 คอร์แบบ high-performance (M1 มี high-performance และ high-efficiency อย่างละ 4) ขณะที่เมื่อคอนฟิกให้บีบอัดไฟล์เฉพาะ 4 คอร์ high-performance ชิป M1 ทำความเร็วออกมาให้ใกล้เคียง Ryzen 9 5950X และเมื่อบีบอัดแบบคอร์เดียว M1 ทำความเร็วได้มากกว่า 5950X เล็กน้อย สรุปสั้น ๆ ว่า Apple M1 เป็นชิปที่มีพลังประมวลผลแบบเธรดเดียวแรงที่สุดในโลก
- การทดสอบใช้งานจริง ผลออกมาไม่ได้แตกต่างจากผลเบนช์มาร์คมากนัก
- การคอมไพล์โค้ดบน XCode ที่ Dave Lee ใช้เวลาไปแค่ราว 41-45 วินาทีและ 16 วินาทีตามลำดับซึ่งเร็วที่สุด เทียบเท่าเครื่อง Hackintosh ที่ใช้ Ryzen 9 3950X 16 คอร์ แรม 64GB และใกล้เคียงกับ MacBook Pro 16 (2019) ที่ใช้ Core i9
- Final Cut Pro เรนเดอร์ความละเอียด 5K จากกล้อง Red Scarlet-W ความยาว 10 นาที ชิป M1 ทำเวลาไปราว ๆ 6 นาทีครึ่ง ใกล้เคียงกับ MacBook Pro 16 (2019) Core i9
- เวลากดเปิดแอป แอปจะถูกเปิดขึ้นมาแทบจะทันที แม้จะเปิดติด ๆ กัน 6-7 แอปก็ตาม
- การทดสอบใช้งานจริงกับแอป x86 ต้องรันผ่าน Rosetta 2 พบว่าได้ผลการทดสอบค่อนข้างน่าประทับใจกว่าที่คาด
- ผลการทดสอบประสิทธิภาพ GPU ของ M1 ถ้าเทียบกับชิป ARM บนสมาร์ทโฟนหรือ GPU Intel ที่มี GPU ในตัว ประสิทธิภาพของ M1 กินขาด แต่ยังสู้เครื่องที่รันด้วยการ์ดจอแยกไม่ได้
- ความแตกต่างของ MacBook Air และ MacBook Pro : ความสว่างหน้าจอ, คุณภาพไมโครโฟน, TouchBar, ลำโพง, แบตเตอรี่และระบบระบายความร้อนชิปเซ็ตที่มีพัดลมและไม่มีพัดลม ซึ่งส่วนที่ถูกพูดถึงเยอะคือ 2 ประเด็นหลังสุด
- สเปคภายในของ MacBook Air และ Pro เหมือนกันทุกประการ ผลทดสอบแทบจะเหมือนกันหมด ถ้าจะตัดสินใจซื้อ อาจต้องตัดสินใจตรงเรื่อง พฤติกรรมการใช้งาน CPU เป็นหลัก ว่าจำเป็นจะต้องเค้นประสิทธิภาพ CPU อย่างต่อเนื่องเกิน 10 นาทีมากน้อยแค่ไหน (MacBook Air เริ่มมีปัญหาตอน 8 - 9 นาที) โดยทั้ง 2 รุ่นมีราคาต่างกัน 10,000 บาท
- แบตเตอรี่ : ใช้งานได้นานขึ้นและใกล้เคียงกับที่โฆษณา Pro ดูวิดีโอต่อเนื่องได้เกือบ 20 ชม.และ Air ที่ 18 ชม. ส่วนการใช้งานจริง (บนแอป x86) สามารถใช้งานได้ราว ๆ 8 - 12 ชม.
- กล้อง : กล้องเว็บแคมยังคงความละเอียด 720p
website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE
แหล่งที่มา theverge.com