22 กันยายน ประวัติ วันคาร์ฟรีเดย์ (Car Free Day) : ลดใช้รถยนต์ เพิ่มการปั่น
ข่าววันนี้ ใครไม่ขับรถต้อนรับวันคาร์ฟรีเดย์ (Car Free Day) ยกมือขึ้น! ขอปรบมือให้เลยเพราะคุณได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดการปล่อยก๊าซคอร์บอนไดออกไซด์ราว 150-200 กรัมต่อกิโลเมตรขณะที่รถวิ่งเลยนะ วันนี้จะพาทุกคนไปรู้จักประวัติวันคาร์ฟรีเดย์ หรือวันปลอดรถโลก วันสำคัญที่เหล่าสายกรีนหรือสายไหน ๆ ต้องทำความรู้จักเพื่อจะได้ช่วยโลกกันนะ
ประวัติ วันคาร์ฟรีเดย์ (Car Free Day)
วันปลอดรถโลก เป็นวันสำคัญตรงกับวันที่ 22 กันยายน ของทุกปี วันที่ทั่วโลกต่างร่วมกันรณรงค์ ส่งเสริมให้ประชาชนทั่วโลกหันมาลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ด้วยการเพิ่มการใช้รถขนส่งสาธารณะ ปั่นจักรยาน หรือเพิ่มวิธีการเดินมากขึ้น นอกจากช่วยเพิ่มการออกกำลังกายให้แข็งแรง ยังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดการสร้างมลพิษได้อีกด้วย
เมืองแรกที่งดใช้รถ?
เมื่อปี ค.ศ. 1958 ที่เมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ถือเป็นเมืองแรกที่รณรงค์แนวคิดการงดใช้รถยนต์ส่วนตัว จากนั้นประเทศอื่น ๆ ก็เริ่มใช้นโยบายนี้เช่นกัน เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศฝรั่งเศสและเมืองทางแถบยุโรป เป็นต้น
Car Free Day กับประเทศไทย
วันที่ 21-22 กันยายน ค.ศ. 2000 กำหนดให้เป็น วันปลอดรถสากล (World Car Free Day) มีการรณรงค์ทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีในขณนั้น ได้ร่วมรณรงค์ด้วยการขี่รถจักรยานจากบ้านพิษณุโลกไปยังทำเนียบรัฐบาล และถัดจากนั้นในปี 2551 มีการจัดงาน Bangkok Car Free Day ในประเทศไทย โดยมีความร่วมมือทั้งทาง กทม. ร่วมกับองค์กรภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ รวมทั้งองค์กรพัฒนาเอกชน เช่น สสส. Greenpeace จัดให้มีกิจกรรมในช่วงวันสุดสัปดาห์ช่วงที่ใกล้กับวันที่ 22 กันยายน เรียกว่า วัน Bangkok Car Free Day โดยในปี พ.ศ. 2550, 2551 นั้นมีกิจกรรมรวมคนขี่จักรยานและจัดรูปขบวนเป็นแผนที่ประเทศไทย และกระแสการปั่นจักรยานก็กลายเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น ทั้งใช้ปั่นจักรยานเดินทางไปทำงาน อย่างกรณีข่าวผู้ว่าปทุมฯ ใช้จักรยานเป็นพาหนะ หรือการปั่นจักรยานกลายเป็นการส่งเสริมให้ทุกคนหันมาใส่ใจในการออกกำลังกายมากขึ้นด้วย
คาร์ฟรีเดย์กับมลภาวะในประเทศไทย
สิ่งที่น่าสนใจและสะท้อนให้เห็นว่าการลดใช้รถยนต์ส่วนตัวนั้นมีประโยชน์หลายด้านมาก ๆ ซึ่งข้อมูลสถิติเกี่ยวกับมลภาวะในประเทศไทย บ่งชี้ผลลัพทธ์จากการลดใช้รถยนต์ส่วนตัว มีดังนี้
- รถยนต์ 1 คัน ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณ 150-200 กรัม ต่อกิโลเมตร ที่รถวิ่ง
- มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 6,000 ตัน ต่อวัน หรือ 2.2 ล้านตัน ต่อปี
- ข้อมูลจากกระทรวงพลังงานปริมาณการใช้น้ำมันในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562 ในกลุ่มน้ำมันดีเซลเฉลี่ย 68.99 ล้านลิตร และกลุ่มเบนซินเฉลี่ย 32.12 ล้านลิตร
- โดยเฉลี่ยแล้วรถทั้งหมดปล่อยก๊าซเรือนกระจกปีละ 66,968,781 ล้านตัน
- หากมีคน 1 คน ใช้ระบบขนส่งมวลชนตลอด 1 ปี จะสามารถลดการปล่อยก๊าซไฮโดรคาร์บอน 4.2 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ 64.5 กิโลกรัม และไนโตรเจนออกไซด์ 2.3 กิโลกรัม
เอาล่ะมาลดใช้รถยนต์ส่วนตัวด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการเดินทางที่เราทุกคนสามารถช่วยโลกลดมลพิษได้ลง ว่าแต่เพื่อน ๆ ใช้วิธีการเดินทางอย่างไรบ้าง ที่ช่วยโลกใบนี้ มาโหวตกันเลย เผื่อเพื่อน ๆ คนอื่น ๆ จะได้หยิบวิธีไปปรับใช้กัน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่จะกลายเป็นส่วนร่วมในการช่วยลดมลพิษและมีพลังงานใช้อย่างยั่งยืนได้อีกด้วยนะ มาม่ะ มาโหวตกันเถอะ!!!
ใครที่ใช้วิธีเดินทางแบบไหนอย่าลืมใส่หน้ากาก 2 ชั้น พกเจลแอลกอฮอล์ ยืน นั่ง เดิน เว้นระยะห่างกันด้วยนะ เพื่อลดเสี่ยงโคววิด-19
รู้ไว้นะเป็นห่วง :)
ข้อมูล : วิกิพีเดีย
ข่าวเกี่ยวข้อง :
- 3 มิถุนายน วันจักรยานโลก ( World Bicycle Day) : ปั่นจักรยานให้เหนื่อยไปทำไม?
- 8 เมืองไร้รถยนต์ ต้อนรับ วัน Car Free Day อากาศดี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม