รีเซต

นักวิจัยจีนผุดกลยุทธ์ใหม่ 'ลดเสียมวลกระดูก' ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง

นักวิจัยจีนผุดกลยุทธ์ใหม่ 'ลดเสียมวลกระดูก' ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
Xinhua
26 สิงหาคม 2565 ( 17:56 )
78
นักวิจัยจีนผุดกลยุทธ์ใหม่ 'ลดเสียมวลกระดูก' ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง

ปักกิ่ง, 26 ส.ค. (ซินหัว) -- คณะนักวิทยาศาสตร์จีนพัฒนาเทคนิคการรักษาแบบไม่รุกล้ำร่างกายที่อาศัยพลังงานแม่เหล็ก ซึ่งมีศักยภาพป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องเข้ารับการฉายรังสีวารสารไซแอนซ์ แอดวานซ์ (Science Advances) เผยผลการศึกษาที่ระบุว่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ปล่อยสัญญาณแบบพัลส์-เบิรสต์ (pulsed-burst) สามารถกระตุ้นการตอบสนองแบบส่งสัญญาณอันมีประสิทธิภาพภายในเซลล์สร้างกระดูกของหนู เมื่อสัมผัสกับกัมมันตภาพรังสีอนึ่ง การฉายรังสีหรือรังสีบำบัดถูกนำมาใช้รักษามะเร็งอย่างแพร่หลาย ช่วยเพิ่มการรักษาเนื้องอกและอัตราการรอดชีวิต แต่ส่งผลข้างเคียงอย่างการสร้างความเสียหายแก่กระดูกแนวทางการรักษาใหม่ช่วยลดการสูญเสียมวลกระดูกในหนูที่ถูกฉายรังสีให้อยู่ในระดับใกล้เคียงหนูที่ไม่เคยได้รับรังสีภายใน 45 วัน ทั้งสามารถกระตุ้นการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์สร้างกระดูกที่มีชื่อว่าออสติโอบลาสต์ (osteoblast)กลุ่มนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแพทย์ทหารลำดับที่ 4 ในจีน ได้ตรวจสอบการส่งสัญญาณแคลเซียมไอออนแบบเรียลไทม์ในเซลล์กระดูกที่ผ่านการฉายรังสี เพื่อตอบสนองการกระตุ้นด้วยคลื่นหลายแบบจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งมีรายงานก่อนหน้านี้ว่ามีแนวโน้มส่งผลทางชีวภาพ และพบสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ปล่อยสัญญาณแบบพัลส์-เบิรสต์ กระตุ้นการตอบสนองแบบส่งสัญญาณแคลเซียมไอออนมากที่สุด เมื่อปล่อยสัญญาณที่ค่าความหนาแน่น 2 มิลลิเทสลา (mT) และย่านความถี่ 15 เฮิรตซ์การค้นพบนี้มอบทางเลือกใหม่ในการลดความเสียหายของมวลกระดูกที่เกิดจากการฉายรังสี โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัดหรือใส่เครื่องมือแพทย์เข้าไปในร่างกาย และมีค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง