รีเซต

สรุปการประชุมผู้นำ APEC 2022

สรุปการประชุมผู้นำ APEC 2022
TNN ช่อง16
20 พฤศจิกายน 2565 ( 17:37 )
133

จบไปอย่างสวยงามสำหรับการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปค 2022

ถือว่าการประชุมครั้งนี้เป็นที่ประจักษ์ต่อทั่วโลกที่ไทยได้แสดงศักยภาพว่ามีความพร้อมในการจัดงานระดับโลก

รองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก


การประชุมครั้งนี้นอกจาก  21 เขตเศรษฐกิจที่มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ยังมีแขกพิเศษที่เข้าร่วมการประชุมคือ

ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครงของฝรั่งเศส

ที่ไม่ได้มาเป็นแขกพิเศษเพียงยังเดียว

แต่ยังสวมบทบาทนักท่องเที่ยวอย่างเป็นกันเอง 

จนทำให้เป็นสนใจกับคนไทยที่พบเจอ

และเจ้าชายมูฮฮัมมัด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ด้วย


โดยนาย “สี จิ้นผิง” ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ต้องถือว่าเป็นที่จับตามากที่สุดในการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค

จากการที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ และประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย ไม่ได้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้


จากวิสัยทัศน์ของเขาในแถลงการณ์เป็นลายลักษณ์อักษร ได้ประกาศต่อต้าน

“ทัศนคติเรื่องสงครามเย็น ความเป็นเจ้าโลก การตัดสินใจแบบฝ่ายเดียว

และการกีดกันทางการค้าเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง” 


“เอเชียแปซิฟิกไม่ใช่สนามหลังบ้านของใคร และไม่ควรเป็นเวทีแข่งขันของมหาอำนาจ เราจะไม่ยอมให้มีความพยายามก่อสงครามเย็นในยุคสมัยของเรา”


“ความพยายามแทรกแซงหรือบั่นทอนซัพพลายเชนอุตสาหกรรม... รังแต่จะทำให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก เดินหน้าไปสู่ทางตัน”


และได้โชว์วิสัยทัศน์ที่ทันสมัยอีกหลายเรื่องที่น่าสนใจ


นายกรัฐมนตรีของไทย และผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคได้รับรองปฏิญญาผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ค.ศ. 2022

ซึ่งการทำงานของเอเปค 2022 ตลอดทั้งปี

ที่มีแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว

หรือแนวคิดเศรษฐกิจ BCG เป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อน

ภายใต้หัวข้อหลัก “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล”


1. “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์” เอเปคได้เดินหน้าสานต่อการหารือเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก

ผลงานที่เป็นรูปธรรม คือ จัดทำแผนงานต่อเนื่องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของสมาชิก

และเตรียมความพร้อมในการรับมือกับประเด็นการค้าการลงทุนใหม่ ๆ


2. “เชื่อมโยงกัน” เอเปคได้ฟื้นฟูการเดินทางข้ามแดนระหว่างกันอย่างปลอดภัย

และไร้รอยต่อ เพื่อสร้างความพร้อมรับมือวิกฤติใหม่ในอนาคต 


3. “สู่สมดุล” ผู้นำเอเปคทุกคนได้ร่วมกันรับรอง “เป้าหมายกรุงเทพฯ

ว่าด้วยเศรษฐกิจบีซีจี” วางรากฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

อย่างครอบคลุม ยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ


โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า การเป็นเจ้าภาพเอเปคปี 2565 ของไทยได้เสร็จสิ้นลงแล้ว

ผมได้ส่งมอบหน้าที่นี้แก่สหรัฐอเมริกาที่จะเป็นเจ้าภาพเอเปคในปี 2566

เชื่อมั่นว่าสหรัฐฯ จะสานต่อการส่งเสริม การเติบโตอย่างครอบคลุมและยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก.


หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ได้มอบ “ชะลอม” เป็นสัญลักษณ์ ส่งไม้ต่อให้กับสหรัฐอเมริกาทำหน้าที่เป็นประธานเอเปค ในปี 2023

โดย “ชะลอม” สะท้อนการทำงานของเอเปคได้เป็นอย่างดี

ทั้งการผสานความเข้มแข็งที่หลากหลายและความพยายามของเขตเศรษฐกิจสมาชิกเข้าด้วยกัน

เพื่อสร้างภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกที่เข้มแข็ง ยืดหยุ่น ครอบคลุม และยั่งยืน

สำหรับชนรุ่นหลังของเรา โดยไทยพร้อมให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ

เพื่อขับเคลื่อนงานของ APEC ต่อไปอย่างไร้รอยต่อ และแสดงความมั่นใจว่าประเด็นด้านความยั่งยืนและครอบคลุม

ซึ่งระบุในเป้าหมายกรุงเทพฯ ที่ได้ร่วมกันวางรากฐานไว้เป็นอย่างดีนั้นจะได้รับการสานต่อในปีหน้า

ภายใต้หัวข้อหลักในการเป็นเจ้าภาพ APEC ของสหรัฐฯ และเชื่อมั่นว่าภายใต้การนำของสหรัฐฯ APEC จะได้รับการส่งเสริมเป็นอย่างดี


นอกจากนี้ เอเปคยังไม่ได้เป็นเวทีหารือผู้นำจาก 21 เขตเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว การประชุมครั้งนี้ยังเป็นพื้นที่สำหรับการหารือระดับทวิภาคีของไทยและประเทศต่างๆ ไปด้วย



ข่าวที่เกี่ยวข้อง