รีเซต

โควิด BA.4 และ BA.5 คาดไม่นานจะครองประเทศ สุ่มตรวจพบมากสุดในกทม.

โควิด BA.4 และ BA.5 คาดไม่นานจะครองประเทศ สุ่มตรวจพบมากสุดในกทม.
TNN ช่อง16
4 กรกฎาคม 2565 ( 13:26 )
103
โควิด BA.4 และ BA.5 คาดไม่นานจะครองประเทศ สุ่มตรวจพบมากสุดในกทม.

วันนี้ (4 ก.ค.65) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุถึง การเฝ้าระวังโควิด-19 สายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 ขณะนี้แนวโน้มสายพันธุ์ดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน คาดว่า อีกไม่นานสายพันธุ์ดังกล่าว จะครองกันแพร่ระบาดในประเทศโดยได้มีการตรวจหาเชื้อทุกสัปดาห์ รอบที่ผ่านมา  พบ. BA.1 จำนวน 10 ราย  BA. 2 BA.4 และ BA.5 อย่างละครึ่ง 

สำหรับการตรวจขั้นต้น ได้มีการสุ่มตรวจ 948 ราย  แบ่งเป็นกลุ่มผู้เดินทางจากต่างประเทศจำนวน 46 ตัวอย่าง กลุ่มอื่นๆ ภายในประเทศ 902 ตัวอย่าง 

ทั้งนี้ ในกลุ่มที่เดินทางจากต่างประเทศพบเป็นสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 กว่าร้อยละ 78.3  และ BA.2 ร้อยละ 21.7  ส่วนกลุ่มอื่นๆในประเทศ พบสายพันธุ์โอมิครอน BA.4 และ BA .5 ร้อยละ 50.3 และ BA.2 ร้อยละ 48.6 

สำหรับสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 ในไทย จากการสุ่มตรวจพบเกือบทุกเขตสุขภาพแล้ว พบมากสุดในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ 

จากจำนวนตัวอย่างที่มีการสุ่มตรวจในเบื้องต้นแล้วได้นำมาตรวจอย่างละเอียดด้วยวิธีการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว ซึ่งจะใช้ระยะเวลา 1 สัปดาห์ถึงจะรู้ผล เบื้องต้นมีสายพันธุ์ BA.4 และ BA .5 ในไทย ประมาณกว่าพันราย 

ส่วนความรุนแรงของผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 ยังมีข้อมูลไม่มากพอ เบื้องต้นยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นยังคงมีความสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันให้สูงมากพอ  โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงกลุ่ม 608

สำหรับข้อมูลสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างภายในประเทศ ที่ได้มีการสุ่มตรวจหาสายพันธุ์และแยกสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน ระหว่างวันที่ 25 มิถุนายน- 1 กรกฎาคม  แบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างภายในประเทศที่จะสะท้อนภาพรวมโดยพบว่าร้อยละ 64.2 ยังคงเป็น BA.2 และร้อยละ 35.8 เป็นสายพันธุ์ BA.4และ BA.5 5

ส่วนกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ยังคงพบสายพันธุ์ BA.2มากที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 65.9  ส่วนBA.4 และ BA .5 อยู่ที่ร้อยละ 29.5

ส่วนสัดส่วนกลุ่มที่อาการรุนแรง ใส่ท่อช่วยหายใจ ปอดอักเสบ และเสียชีวิต เบื้องต้นยังคงเป็นสายพันธุ์ BA. 2 อยู่ที่ร้อยละ 63.6   ส่วนสายพันธุ์ BA.4 และ BA. 5 อยู่ที่ร้อยละ 36.4

ส่วนการพบโอมิครอน BA.2.75 อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า ในไทยยังไม่สบสายพันธุ์ดังกล่าว  ซึ่งก่อนหน้านี้ มีโอมิครอน สายพันธุ์ย่อย ของBA.2 อีกหลายสายพันธุ์ ประมาณ6 ตัว ที่มีปัญหา พบในประเทศอเมริกา 

หากสถานการณ์ของสายพันธุ์ BA.2.75 ดูทีท่าว่าจะเป็นปัญหาทางองค์การอนามัยโลกก็จะมีการจัดให้อยู่ในระบบของการเฝ้าระวังสายพันธุ์ ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้มีการจัดแต่อย่างใด 

เบื้องต้นมีการรายงานข้อมูลสายพันธุ์ BA.2.75  เข้าระบบจีเซต ประมาณ60 กว่าตัวอย่าง ซึ่งมองว่าอย่างน้อยเกินไป  โดยขอให้ประชาชนอย่ากังวลมากเกินไป เนื่องจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกในการเฝ้าระวังสายพันธุ์ต่างๆ อยู่แล้ว รวมถึงในประเทศไทยเอง ก็ได้มีการเฝ้าระวังสายพันธุ์ มีการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว สัปดาห์ละ400-500 ตัวอย่าง

ทั้งนี้ ได้มีการเฝ้าระวังและขอติดตามอาการผู้ป่วยติดเชื้ออาการหนักในโรงพยาบาล หากพบว่าผู้ป่วยติดเชื้อในกลุ่มนี้มีอาการหนักเพิ่มขึ้นจากเดิม อาจจะต้องมีการวางแผนในการยกระดับมาตรการต่างๆ เพิ่มขึ้น 


ภาพจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง