รีเซต

ลูกจ้าง มาตรา 33 มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาหรือไม่ หาก นายจ้างผิดนัดจ่าย

ลูกจ้าง มาตรา 33 มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาหรือไม่ หาก นายจ้างผิดนัดจ่าย
TrueID
23 กรกฎาคม 2564 ( 14:37 )
191
ลูกจ้าง มาตรา 33 มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาหรือไม่ หาก นายจ้างผิดนัดจ่าย

ช่วงนี้ประกันสังคมกับนายจ้าง และลูกจ้าง มักมีข้อสงสัยถามเข้ามากันหลายเรื่อง และอีกหนึ่งเรื่องที่มีคนสงสัยก็คือนายจ้างหักเงินนำส่งประกันสังคมของลูกจ้าง กรณีล่าสุด ใน 13 จังหวัด 9 ประเภทกิจการ แต่ไม่ได้ส่งเงินสมทบฯให้ เราจะมีสิทธิ์ได้รับการเยียวยา หรือไม่? วันนี้ trueID มีคำตอบมาให้ลูกจ้างทุกคนได้รู้กันแล้ว

 

ว่าตามกฏหมาย

กฎหมายประกันสังคมให้อำนาจนายจ้าง ทำหน้าที่เป็นผู้แจ้งว่าได้รับลูกจ้างเข้ามาทำงานกี่คน ชื่ออะไรบ้าง และให้ทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง นายจ้างมีอำนาจหักค่าจ้างของลูกจ้าง เพื่อนำส่งเป็นเงินสมทบกองทุนประกันสังคมให้ลูกจ้างตามมาตรา 33 (ตามที่ ครม. วันที่ 18 พ.ค. 2564 พิจารณาเห็นชอบลดอัตราเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ให้อยู่ที่ 2.5% ของเงินเดือน ซึ่งเดิมทีถูกหัก 5%)

 

กรณีนายจ้างไม่ได้นำส่งเงินสมทบกองทุนฯ

แต่หากนายจ้างไม่นำเงินที่หักส่งเข้ากองทุนประกันสังคม ไม่ใช่ความผิดของลูกจ้าง ดังนั้น ลูกจ้างใน 13 จังหวัด 9 ประเภทกิจการ ยังมีสิทธิ์ได้เงินเยียวยา เพราะเรื่องเงินช่วยเหลือเยียวยาและเรื่องของหนี้เป็นคนละส่วนกัน โดยสิ่งที่นายจ้างกระทำผิดเงื่อนไขของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เป็นหน้าที่ของ สปส. ที่จะติดตามทวงถามเงินที่ค้างชำระเข้ากองทุน พร้อมกับมีค่าปรับตามกฎหมาย

 

หากเกิดเหตุสุดวิสัยนายจ้างไม่สามารถจ่ายค่าจ้างได้

ประกันสังคมจะจ่ายทดแทนการขาดรายได้กรณีสุดวิสัยให้ลูกจ้างรายละ 50% ของเงินเดือน จ่ายสูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท (ทั้งคนไทยและต่างชาติที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33) ส่วนนายจ้างมาตรา 33 ได้รับ 3,000 บาทต่อจำนวนลูกจ้าง 1 คน (ลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 200 คน) ส่วนเงินเยียวยาจากเงินกู้การคลังของภาครัฐ จะจ่ายให้ผู้ประกันตน “สัญชาติไทย” มาตรา 33 อีก 2,500 บาทต่อคน

 

ข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง