รีเซต

รู้จัก! สะพานเทพสุดา ประตูสู่อินโดจีน ยกระดับคมนาคมไทย

รู้จัก! สะพานเทพสุดา ประตูสู่อินโดจีน ยกระดับคมนาคมไทย
TeaC
20 สิงหาคม 2564 ( 14:25 )
546

สะพานเทพสุดา สะพานข้ามเขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ หลายคนคงรู้จักในรูปแบบเป็นแหล่งท่องเที่ยว แต่สะพานเทพสุดา ยังได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประตูสู่อินโดจีน หรือเรียกว่า อีสท์เวสอีโคโนมิค คอริดอร์ หรือเส้นทาง กาฬสินธุ์ - มุกดาหาร - สปป.ลาว และประเทศเวียดนาม เชื่อมโยงระบบคมนาคมที่ช่วยย่นระยะการเดินการคมนาคมของประชาชนได้กว่า 100 กิโลเมตร และเกษตรกรในการขนถ่ายสินค้าการเกษตรส่งเข้าตัวจังหวัด รวมทั้ง ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นสะพานข้ามน้ำจืดที่ยาวที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย

 

สำหรับประวัติ สะพานเทพสุดา เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด 2 ช่องจราจร ทางเดินเท้ากว่าง 1.50 เมตร ความยาว 2,040 เมตร เริ่มก่อสร้างขึ้นด้วยงบประมาณการก่อสร้าง 498 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2549 โดยจุดเริ่มการก่อสร้างอยู่ที่บริเวณแหลมโนนวิเศษ ต.โนนบุรี อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ และสิ้นสุดโครงการที่ ต.หนองบัว อ.หนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์  

 

นอกจากนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงได้พระราชทานชื่อสะพานว่าสะพานเทพสุดา เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2553 ซึ่งสร้างความปลาบปลื้มปิติแก่ประชาชนชาว จ.กาฬสินธุ์ เป็นอย่างมาก 

 

 

East-West Economic Corridor: EWEC คืออะไร?

 

East-West Economic Corridor: EWEC คือ เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจสายตะวันออก-ตะวันตก หรือเส้นทางหมายเลข 9 (R9) เป็นโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) ได้แก่ ไทย เมียนมา ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน เป็นการยกระดับคมนาคมเชื่อมโยงให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม การเกษตร และบริการ

 

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง