รีเซต

สถานการณ์ "ฝีดาษลิงในไทย" ลิงไทยเสี่ยงเป็น "โรคฝีดาษลิง" ไหม หากติดฝีดาษลิง มีอาการอย่างไร เช็กเลย!

สถานการณ์ "ฝีดาษลิงในไทย" ลิงไทยเสี่ยงเป็น "โรคฝีดาษลิง" ไหม หากติดฝีดาษลิง มีอาการอย่างไร เช็กเลย!
Ingonn
27 พฤษภาคม 2565 ( 08:45 )
3.3K
สถานการณ์ "ฝีดาษลิงในไทย" ลิงไทยเสี่ยงเป็น "โรคฝีดาษลิง" ไหม หากติดฝีดาษลิง มีอาการอย่างไร เช็กเลย!

ฝีดาษลิงในไทย ต้องเฝ้าระวัง หลัง สธ.ประกาศให้ "ฝีดาษลิง" เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง แม้ประเทศไทยยังไม่พบ "โรคฝีดาษลิง" ส่วนลิงในไทย เช่น ลิงในพื้นที่ท่องเที่ยว ไม่มีความเสี่ยงติดโรคฝีดาษลิง ยกเว้นลิงที่ลักลอบเข้าไทยผิดกฎหมาย วันนี้ TrueID จึงจะพามาติดตามสถานการณ์  "ฝีดาษลิงในไทย"  พร้อมเช็กความเสี่ยงลิงในไทย ตามพื้นที่ท่องเที่ยว มีความเสี่ยงฝีดาษลิงมากน้อยแค่ไหน

 

นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์โรคผีดาษวานร (Monkeypox) ว่า แพร่ระบาดในประเทศแถบแอฟริกามาหลายปี แต่ช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา เริ่มพบผู้ป่วยในประเทศแถบยุโรป  มีความเชื่อมโยงกับการเดินทางไปแอฟริกา ประเทศที่มีรายงานผู้ติดเชื้อใหม่ คือ เดนมาร์ก โมรอกโก และอาร์เจนตินา โดยการติดเชื้อ "ฝีดาษลิง" จากสัตว์ป่าไม่ใช่ประเทศไทย แต่มาจากทวีปแอฟริกาโดยเฉพาะ ลิง สัตว์ฟันแทะ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเล็กๆ และการนำเข้าต้องผ่านกระบวนการตรวจโรคจากกรมอุทยานฯ ซึ่งการระบาดที่ยุโรปจากคนสู่คนพบมาจากการร่วมงาน Pride Festival ประเทศสเปน  ใครมีประวัติร่วมขอให้สังเกตอาการ  

 

สถานการณ์ "ฝีดาษลิงในไทย"

ด้านประเทศไทย เตรียมความพร้อมเฝ้าระวัง โดยศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ภายใต้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติเห็นชอบจัดโรคฝีดาษวานร หรือฝีดาษลิง เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากยังไม่มีผู้ป่วยในประเทศ นอกจากนี้ ยังเฝ้าระวังผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาล คลินิกโรคผิวหนัง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พร้อมเตรียมการในการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ทีมสอบสวนโรค รวมถึงเวชภัณฑ์และอุปกรณ์การแพทย์ไว้แล้ว

 

โดยจะเฝ้าระวังผู้เดินทางเข้าประเทศที่มีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียส ร่วมกับอาการป่วยอย่างน้อยหนึ่งอย่าง คือ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต หรือมีผื่นตุ่มนูน ร่วมกับประวัติเดินทางหรืออาศัยในประเทศที่มีรายงานการระบาด มีประวัติร่วมกิจกรรมที่มีรายงานพบผู้ป่วยเข้าข่ายหรือยืนยัน และมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดสัตว์ป่าประเภทสัตว์ฟันแทะ ลิง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนำเข้าจากแอฟริกา

 

โรคฝีดาษลิง มีกี่สายพันธุ์

โรคฝีดาษวานรมี 2 สายพันธุ์ คือ

  • สายพันธุ์ West African clade ซึ่งมีอาการไม่รุนแรง อัตราป่วยตายอยู่ที่ร้อยละ 1 
  • สายพันธุ์ Central African clade ซึ่งมีอาการรุนแรงกว่า อัตราป่วยตายอยู่ที่ร้อยละ 10  ส่วนสัตว์รังโรค ยังไม่มีความรู้ที่แน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก โดยเฉพาะสัตว์กัดแทะและลิง

 

โรคฝีดาษลิง ติดต่อยังไง

  • การติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยการสัมผัสกับสารคัดหลั่งหรือแผลของสัตว์ป่วย หรือการกินสัตว์ที่ปรุงไม่สุก

  • การติดต่อจากคนสู่คน โดยการสัมผัสสารคัดหลั่งทางเดินหายใจ (Droplet respiratory particle) ของผู้ป่วยหรือสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งหรือแผลของผู้ป่วย เช่น เสื้อผ้า

 

นอกจากนี้ ยังมีการตั้งสมมติฐานว่า โรคฝีดาษลิงอาจสามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ แต่ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนเพียงพอ ซึ่งการแพร่ระบาดของฝีดาษลิงยากกว่าโควิดเพราะต้องใกล้ชิดกันมากๆ สัมผัสสารคัดหลั่ง แผล ไม่ใช่เพียงไอจามเหมือนโควิด

 

อาการโรคฝีดาษลิง

  • ระยะฟักตัวอยู่ที่ 5 - 21 วัน อาการป่วยส่วนใหญ่ไม่ค่อยรุนแรง 

  • วันที่ 0-5 จะมีไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อและหมดแรง ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่อาการแรกที่มี มักจะเป็นอาการไข้ แต่ระยะออกผื่นมักจะเป็นช่วงที่สามารถแพร่เชื้อได้มาก

  • ช่วงออกผื่น ภายใน 1-3 วันหลังมีไข้ จะมีลักษณะการกระจายเริ่มจากบริเวณหน้า และกระจายไปส่วนต่างๆของร่างกาย ส่วนใหญ่ 95% ของผู้ป่วยจะมีผื่นที่หน้า และ 75% มีผื่นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า แต่ยังสามารถพบผื่นได้ที่บริเวณอื่นของร่างกาย เช่น ช่องปาก 70%  และอวัยวะเพศ 30%  ซึ่งลักษณะของผื่นจะพัมนาไปตามระยะดังต่อไปนี้ ผื่นนูนแดง(Maculopapular) ตุ่มน้ำใส (Vesicles)  ตุ่มหนอง(Pustules) และสะเก็ต(Crust)  โดยพบว่าหากผู้ป่วยมีผื่นลักษณะสะเก็ดขึ้นจนแห้งและร่วงหลุดไป จะไม่มีการแพร่เชื้อได้

 

 

 

กลุ่มเสี่ยงโรคฝีดาษลิง

โรคฝีดาษลิง ส่วนใหญ่หายเองได้ แต่สามารถพบผู้ป่วยมีอาการรุนแรงได้ อย่างเด็กที่มีปัญหาด้านสุขภาพส่วนบุคคล เช่น มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือกลุ่มมีอาการแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อซ้ำซ้อน ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อเข้ากระแสเลือด และการติดเชื้อที่กระจกตา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น

 

ลิงไทยเสี่ยงเป็น "โรคฝีดาษลิง" ไหม

นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า หากสัตว์จะติดจากสัตว์ด้วยกัน ยังมีวงจำกัดในทวีปแอฟฟริกา ดังนั้นความเสี่ยง "โรคฝีดาษลิง" ของสัตว์ในไทยจึงน้อย แต่ความเสี่ยงจะไปอยู่ที่การนำเข้ามาแบบลักลอบ โดยโรคฝีดาษลิงเป็นโรคจากสัตว์สู่คน เคยเจอครั้งแรกในลิง แต่จริงๆ สัตว์นำโรคไม่ได้มีแค่ลิง ยังมีสัตว์ฟันแทะ สัตว์ป่า ซึ่งทวีปแอฟฟริกาที่มีการติดเชื้อส่วนใหญ่อยู่พื้นที่ชนบบท จากการใกล้ชิด 

 

“แต่ช่วงนี้ที่มีการระบาดเพราะเมื่อต้นเดือนพ.ค. มีการติดเชื้อนอกประเทศ คือทางยุโรป แพร่ระบาดคนสู่คน จากกรณีที่มีคนร่วมงาน Pride Festival ประเทศสเปน มีคนจำนวนมาก คนร่วมงานมีความใกล้ชิดกันมากๆ จึงพบการติดเชื้อเกิดขึ้นในหลายประเทศ ดังนั้นเราต้องกลับมาให้ความสนใจ เฝ้าระวังติดตาม ตรวจจับแต่เนิ่นๆ หากผู้ที่มีประวัติเข้าร่วมงานดังกล่าวเข้ามา เราจะได้ตรวจรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้ระบาดวงกว้าง ”

 

โดยสัตว์ในประเทศไทยต่อความเสี่ยงโรคฝีดาษวานร หรือฝีดาษลิง (Monkeypox)  เช่น ลิงเขาสามมุก จ.ชลบุรี หรือลิงในพื้นที่ท่องเที่ยว  ยังไม่เคยพบการรายงานโรคฝีดาษลิงในสัตว์ป่าของไทยมาก่อน สัตว์ป่าที่พูดถึงคือจากทางทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะ ลิง สัตว์ฟันแทะ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเล็กๆ ซึ่งการนำเข้ามาอย่างถูกต้องจะต้องผ่านกระบวนการตรวจโรคจากกรมอุทยานแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฉะนั้น ความเสี่ยงจะอยู่ที่สัตว์ป่านำเข้ามา

 


ข้อมูลจาก : www.hfocus.org

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง