รีเซต

มะเร็ง คืออะไร? รู้ทัน รับมือได้! มาทำความรู้จัก 4 กุมภาพันธ์ ประวัติ วันมะเร็งโลก

มะเร็ง คืออะไร? รู้ทัน รับมือได้! มาทำความรู้จัก 4 กุมภาพันธ์ ประวัติ วันมะเร็งโลก
TeaC
4 กุมภาพันธ์ 2565 ( 11:54 )
485
มะเร็ง คืออะไร? รู้ทัน รับมือได้! มาทำความรู้จัก 4 กุมภาพันธ์ ประวัติ วันมะเร็งโลก

ข่าววันนี้ วันนี้วันอะไร? 4 กุมภาพันธ์ของทุกปี "วันมะเร็งโลก" (World Cancer Day) วันที่ก่อตั้งโดย สมาพันธ์ควบคุมโรคมะเร็งสากล (Union for International Cancer Control : UICC) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อให้คนทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของโรคมะเร็ง 

 

มะเร็ง คืออะไร?

ทั้งนี้ มะเร็ง เกิดจากเซลล์ที่เจริญเติบโตผิดปกติ อาจมีรูปร่างผิดแปลก และเซลล์ผิดจำนวน หรืออยู่ผิดที่ ซึ่งเซลล์บางเซลล์เป็นเซลล์ที่ทำร้ายเซลล์อื่น ๆ จนทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายจนเราเรียกกันว่า เซลล์มะเร็ง

 

โดย "มะเร็ง" ถือเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้คนมากมาย เรามักจะเห็นข่าวคราวของคนดัง แวดวงต่าง ๆ เสียชีวิตจาก "มะเร็ง " อาทิ

  • สุดเศร้า อ๊อด คีรีบูน เสียชีวิต มะเร็งสมองคร่าในวัย 57 ปี
  • สุดยอดนักสู้ “โค้ก - สมชาย เปรมประภาพงษ์” หรือ “เสนาโค้ก  เสียชีวิตลง หลังต่อสู้กับโรคมะเร็งตับ
  • ช็อก!!ดาราดัง“เจมส์ ไมเคิล ไทเลอร์”เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ฯลฯ

มะเร็งตับ พบในไทยมากที่สุด!

ทั้งนี้ ประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็ง ทั้งหมดประมาณ120,000 ราย จากข้อมูลทะเบียนมะเร็งประเทศไทยรายงานผู้ป่วยมะเร็งตับและท่อน้ำดีรายใหม่ 20,671 ราย ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 15,912 ราย ซึ่งมะเร็งตับที่พบมากในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ

  • มะเร็งของเซลล์ตับ สาเหตุของมะเร็งเซลล์ตับเกิดจากภาวะตับแข็ง การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี และการดื่มสุรา
  • มะเร็งท่อน้ำดีตับ สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับจากการรับประทานปลาน้ำจืดดิบ รวมถึงการมีภาวะท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง 

 

มะเร็งเต้านม ปัญหาสาธารณสุขของทั่วโลก

ขณะที่ มะเร็งเต้านม ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขของหลายประเทศทั่วโลก ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก รายงานว่า ปัจจุบันพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ทั่วโลกประมาณ 2.2 ล้านคน เสียชีวิตราว 680,000 คน

 

มะเร็งในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทย แต่ละปีจะมีผู้หญิงไทยป่วยด้วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ราว 17,043 คน หรือคิดเป็น 47 คนต่อวัน และมีผู้เสียชีวิตถึง 13 คนต่อวัน ซึ่งมีแนวโน้มอัตราการเกิดโรคและอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่า มีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น

  1. อายุที่มากขึ้นโดยเฉพาะโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
  2. มีประวัติตรวจพบก้อนที่เต้านมมาก่อนหรือมีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม
  3. พฤติกรรมการรับประทานอาหารไขมันสูงทำให้เป็นโรคอ้วน
  4. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงของโรค

 

โรคมะเร็ง รู้ทัน รับมือได้!

จะเห็นได้ว่า ตัวเลขผู้ป่วยและการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นั่นแสดงให้เห็นว่า เราทุกคนต้องใส่ใจและให้ความสำคัญเพื่อห่างไกลโรคมะเร็ง แม้ว่าโรคมะเร็งเกิดจากปัจจัยหลายอย่างทั้งทางพันธุกรรม แต่สิ่งที่สำคัยไม่แพ้กันคือ พฤติกรรมในการใช้ชีวิต เช่น

 

  • ไม่กินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ 
  • ไม่ทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไป
  • ไม่สูบบุหรี่ เลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีผู้สูบบุหรี่
  • ไม่กินอาหารขึ้นรา หรือเน่าเสีย
  • ไม่รับแสงแดดมากจนเกินไป
  • ไม่กินอาหารหมักดอง อาหารไหม้เกรียม
  • ไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิดทั้งชนิดฉีดและชนิดทานติดต่อกันนานกว่า 5 ปี
  • ฯลฯ

 

โรคมะเร็ง การป้องกัน

การป้องกันให้ห่างไกลมะเร็งง่าย ๆ เริ่มต้นที่ตัวเราได้เลย คือ การหมั่นสังเกตร่างกายหากพบความผิดปกติ ควรพบแพทย์ เพื่อจะได้รับมือได้ทัน รวมทั้ง เราทุกคนสามารถห่างไกลโรคมะเร็งได้ ด้วยหารรู้จักเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ก็ช่วยลดโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งได้

 

ประวัติ วันมะเร็งโลก 

สำหรับ ประวัติ วันมะเร็งโลก สืบเนื่องจากองค์การอนามัยโลก(WHO) และองค์การสหภาพต่อต้านมะเร็งระหว่างประเทศ(UICC) ได้กำหนดให้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันมะเร็งโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนทั่วโลก มีความรู้ มีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับโรคมะเร็ง และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งได้แก่“มะเร็งสามารถป้องกันได้”  

 

ทั้งนี้ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ระบุว่าโ รคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่งของคนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพบในกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางถึงร้อยละ 70 ของคนทั่วโลก และมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่า ใน ปี 2573 ทั่วโลก จะมีคนตายจากโรคมะเร็ง ถึง 13 ล้านคนต่อ หากทุกประเทศยังไม่มีมาตรการการป้องกันโรคและควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพอย่างจริงจัง

 

สัญลักษณ์ โรคมะเร็ง

ทั้งนี้ สัญลัษณ์ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสื่อในการรณรงค์ให้คนรู้จัก และได้ตระหนักถึงโรคนี้ ตั้งแต่การป้องกัน การตรวจคัดกรอง การรีบรักษา, และการช่วยเหลือสนับสนุนจากองค์กรต่าง ๆ และวันโรคมะเร็งโลก นิยมที่จะใช้สัญลักษณ์เป็นรูปโบว์ไขว้ (Awareness ribbon) ซึ่งเป็นการสื่อให้ทุกคนหันมาสนใจ และที่เรามักเห็นกันบ่อยในวันมะเร็ง คือ โบว์สีชมพู ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของโรคมะเร็งเต้านม

 

โบว์สัญลักษณ์โรคมะเร็ง

แต่รู้หรือไม่? โรคมะเร็งที่พบได้บ่อย ๆ ก็มีสัญลักษณ์เป็นรูปโบว์สีต่าง ๆ เช่นกัน ยกตัวอย่าง เช่น

  1. โบว์สีขาวลาเวนเดอร์ (Lavender) หมายถึง โรคมะเร็งทุกชนิด
  2. โบว์สีเทา (Gray) หมายถึง โรคมะเร็งสมอง
  3. โบว์สีขาว (White or Pearl) หมายถึง โรคมะเร็งปอด
  4. โบว์สีชมพู (Pink) หมายถึง โรคมะเร็งเต้านม
  5. โบว์สีน้ำเงิน (Blue) หมายถึง โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง