รีเซต

เช็กลิสต์กลุ่มเสี่ยงโอไมครอน พร้อมแนะวิธีปฏิบัติตัวป้องกันการติดเชื้อ

เช็กลิสต์กลุ่มเสี่ยงโอไมครอน พร้อมแนะวิธีปฏิบัติตัวป้องกันการติดเชื้อ
TNN ช่อง16
8 ธันวาคม 2564 ( 18:21 )
43
เช็กลิสต์กลุ่มเสี่ยงโอไมครอน พร้อมแนะวิธีปฏิบัติตัวป้องกันการติดเชื้อ

วันนี้ ( 8 ธ.ค. 64 )นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากกรณีองค์การอนามัยโลก หรือ WHO   ประกาศให้ “โอไมครอน” หรือ สายพันธุ์ B.1.1.529 เป็นเชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ อยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ที่น่ากังวล ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา แม้ขณะนี้จะยังไม่พบการติดเชื้อและแพร่เชื้อในประเทศไทย แต่ควรตระหนักในเรื่องการป้องกันตนเองขั้นสูงสุดตลอดเวลา ด้วยการปฏิบัติตามมาตรการ UP-DMHTA โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ได้แก่

1. เด็กเล็ก 

2.ผู้สูงอายุ 

3.หญิงตั้งครรภ์ 

4.ผู้ที่มีโรคประจำตัว

วิธีการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันเชื้อโควิดโอไมครอนทำอย่างไร

ควรสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา และสวมให้ถูกวิธี โดยให้ปิดจมูกและคลุมใต้คาง แนบกระชับกับใบหน้า ควรเปลี่ยนหน้ากากทุก 6-8 ชั่วโมง หรือเมื่อเปียกชื้น สกปรก 

รวมถึงเมื่อออกจาก  สถานที่แออัด ทั้งนี้ หากต้องอยู่ในสถานที่แออัด มีการระบายอากาศไม่ดีเป็นเวลานาน หรือต้องสัมผัสใกล้ชิดกับผู้มีความเสี่ยงสูง ควรสวมหน้ากาก 2 ชั้น โดยสวมหน้ากากอนามัยก่อนแล้วสวมทับด้วยหน้ากากผ้ามีการเว้นระยะห่างระหว่างกัน ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์

นายแพทย์สุวรรณชัย ยังให้คำแนะนำการเลือกสวมหน้ากากป้องกันให้กับเด็กที่เหมาะสมตามช่วงอายุ เมื่อจำเป็นต้องออกนอกบ้าน ขอให้พ่อแม่ปฏิบัติดังนี้ 

1.เด็กทารกแรกเกิดถึง 1 ปี พ่อแม่ไม่ควรสวมหน้ากากให้    เพราะเด็กเล็กระบบการหายใจยังไม่แข็งแรงพอ เสี่ยงภาวะคาร์บอนไดออกไซด์คั่งได้ 

2. เด็กอายุ 1-2 ปี เด็กบางคนสามารถถอดหน้ากากเองได้เมื่อรู้สึกอึดอัด หากจำเป็นต้องสวมหน้ากาก ควรใช้ด้วยความระมัดระวังสวมเพียงระยะเวลาสั้นที่สุด โดยขณะสวมควรมีผู้ใหญ่อยู่ด้วยเพื่อคอยสังเกต หากเด็กมีการหายใจลำบาก และต้องถอดออกขณะนอนหลับด้วย 

 3. เด็กอายุมากกว่า 2 ปี สวมหน้ากากได้ เพราะสามารถถอดหน้ากากออกได้เมื่อรู้สึกอึดอัด ยกเว้นเด็กที่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเด็กที่มีความบกพร่องทางสมอง พ่อแม่ ควรให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ

สำหรับการเดินทางโดยขนส่งสาธารณะที่ไม่สามารถดำเนินมาตรการเว้นระยะห่าง หรือมีการระบายอากาศที่ไม่ดี ขณะใช้บริการควรสวมหน้ากากตลอดเวลา ลดการพูดคุย งดกินอาหารและเครื่องดื่มขณะเดินทาง   ให้ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ หลังมีการสัมผัสจุดเสี่ยงร่วมกัน เมื่อกลับถึงบ้านควรอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกัน และประเมินตนเองผ่าน “ไทยเซฟไทย” เพื่อช่วยคัดกรองลดความเสี่ยง

ข้อมูลจาก :  กรมอนามัย

ภาพจาก :  รอยเตอร์

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง